กลุ่มสื่อต่างชาติ รายงาน (11 ต.ค.) องค์การบริหารอวกาศแห่งชาติจีน (Chinese National Space Administration-CNSA) ประกาศความสำเร็จในการเปลี่ยนวงโคจรในอวกาศห้วงลึกของยานสำรวจดาวอังคาร 'เทียนเวิ่น-1' (Tianwen-1)

รายงานระบุว่า เทียนเวิ่น-1 มุ่งเข้าเข้าใกล้วงโคจรดาวอังคารมากขึ้น โดยใช้เครื่องยนต์หลักปฏิบัติงานนานกว่า 480 วินาที ที่ระยะห่างจากพื้นผิวโลก 29.4 ล้านกิโลเมตร

.

เทียนเวิ่น-1ยังต้องใช้เวลาอีกราว 4 เดือน และต้องปรับวิถีวงโคจรกลางทางอีก 2 - 3 ครั้ง เพื่อเข้าสู่ระยะแรงดึงดูดของดาวอังคาร

.

จีนเปิดตัวยานสำรวจดาวอังคารลำนี้เมื่อวันที่ 23 ก.ค. โดยถูกออกแบบให้สามารถโคจร ลงจอด และวิ่งสำรวจในภารกิจเดียว โดยคาดว่ายานลำนี้จะเดินทางถึงดาวอังคารประมาณเดือนกุมภาพันธ์ 2021

.

ยานสำรวจลำนี้ประสบความสำเร็จในการบันทึกภาพโลกเคียงคู่กับดวงจันทร์ อีกทั้งเสร็จสิ้นการปรับวิถีวงโคจรกลางทาง 2 ครั้ง รวมถึงการตรวจสอบอุปกรณ์ติดตั้งต่าง ๆ บนยานโดยอัตโนมัติแล้ว

.

ในวันที่ 1 ต.ค. ซึ่งเป็นวันชาติจีน CNSA เผยแพร่ภาพเซลฟีของยานสำรวจดาวอังคารเทียนเวิ่น-1 โดยเซ็นเซอร์วัดระยะพร้อมเลนส์มุมกว้าง 2 ตัว ที่ติดอยู่ด้านนอกยานเทียนเวิ่น-1 แยกตัวออกจากยานตามคำสั่งการจากศูนย์ควบคุมภาคพื้นดิน และบันทึกภาพด้วยความเร็ว 1 ภาพต่อ 1 วินาที ซึ่งภาพที่ได้ถูกส่งให้ยานผ่านระบบไว-ไฟ ก่อนส่งกลับมายังผืนโลก

.

อนึ่ง เทียนเวิ่น-1 ประสบความสำเร็จในการถ่ายภาพโลกและดวงจันทร์ การปรับวิถีวงโคจร 2 ครั้ง และการตรวจสอบน้ำหนักบรรทุกหลายรายการด้วยตนเอง

.

ที่มา : https://mgronline.com/china/detail/9630000103717