การเดินทางด้วยความเร็วเหนือแสง เหมือนในหนังไซไฟ อาจไม่ไกลเหนือความคาดหมายแล้ว เมื่อการวิจัยชิ้นใหม่ โดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ได้ค้นพบทฤษฎีการเดินทางด้วยความเร็วเหนือเสียง และคาดว่าอาจได้เห็นโฉมหน้าของการเดินทางรูปแบบใหม่นี้ในอีก 10 ปีข้างหน้า

การวิจัยที่นำโดยนักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เอริค เลนท์ซ (Erik Lentz) จากมหาวิทยาลัย University of Goettingen พบว่า การเดินทางไปยังดวงดาวหรือดาวเคราะห์ที่ห่างไกลอาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต แต่จำเป็นต้องให้พาหนะสามารถเดินทางได้เร็วกว่าแสงเสียก่อน

.

แสงเดินทางด้วยความเร็ว 300,000 กิโลเมตรต่อวินาที และนักฟิสิกส์ชื่อดังระดับโลก อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เคยกล่าวไว้ว่า “เป็นไปไม่ได้” ที่เราจะเดินทางด้วยความเร็วกว่าแสงได้ เพราะขัดกับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป

.

แต่ในการวิจัยล่าสุด ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Classical and Quantum Gravity อธิบายแผนการเดินทางด้วยความเร็วเหนือแสง ผ่านการสร้างคลื่นโซลิตอน (soliton) หรือ คลื่นเดี่ยวทรงสภาพ ในทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ เพื่อสร้างระบบขับเคลื่อนที่ทรงพลัง และไม่สูญเสียรูปร่าง ความเร็ว และพลังงานระหว่างการเดินทาง

.

นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน เอริค เลนท์ซ (Erik Lentz) เปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า เทคโนโลยี "วาร์ปไดรฟ์" (warp drive) จะสามารถลดเวลาเดินทางข้ามจักรวางที่ห่างไกลได้

.

เขายกตัวอย่างดวงดาวที่ใกล้กับระบบสุริยะที่สุด คือ ดาว Proxima Centauri ซึ่งอยู่ห่างออกไปราว 4.25 ปีแสง หากใช้การเดินทางด้วยยานอวกาศทั่วไป จะใช้เวลาประมาณ 50,000-70,000 ปีกว่าจะไปถึง และหากใช้เทคโนโลยีจรวดที่ขับเคลื่อนด้วยพลังงานนิวเคลียร์ จะใช้เวลาประมาณ 100 ปี แต่ด้วยเทคโนโลยีความเร็วเหนือแสงนี้ จะใช้เวลาประมาณ 4 ปี กับอีก 3 เดือนเพื่อไปถึงที่นั่นได้

.

เลนซ์ เชื่อมั่นว่า การเดินทางด้วยความเร็วเหนือแสง จะเกิดขึ้นได้ในช่วงชีวิตของเรา ซึ่งอาจเริ่มจากการพัฒนาระบบเดินทางอวกาศที่ใช้พลังงานนิวเคลียร์ไม่สูงมาก รวมทั้งเร่งการพัฒนาการเดินทางผ่านการสร้างคลื่นโซลิตอน แม้จะเป็นขั้นตอนที่ยากแต่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะเขาคาดว่าจะเกิดขึ้นได้ในระยะ 2-3 ปีต่อจากนี้ และระบบการเดินทางด้วยระบบคลื่นเดี่ยวทรงสภาพเต็มรูปแบบจะเกิดขึ้นได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า

.

ที่มา : VOA thai voathai.com/a/physicist-found-the-way-to-travel-at-light-speed-03182021/5819874.html