คาดว่าจำนวนเด็กที่ติดเชื้อโรคโควิด-19 ในอินเดีย มีสัดส่วนไม่เกิน 1-2% ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดในประเทศ

ในเดือน มิ.ย. มีเด็ก 4 คน ถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในรัฐมหาราษฏระ ทางภาคกลางของอินเดีย ด้วยอาการหายใจลำบาก และความดันโลหิตต่ำ
.
ก่อนหน้านี้ราวเดือนเศษ แม่ของเด็กเหล่านี้ติดโควิด-19 แต่เด็ก ๆ ไม่ได้แสดงอาการของโรค ทว่าผลการตรวจภายหลังพบว่าพวกเขามีสารภูมิต้านทาน หรือ แอนติบอดีต่อเชื้อโรคโควิด ซึ่งบ่งชี้ว่าเคยติดเชื้อมาแล้ว
.
แต่ตอนนี้ เด็กเหล่านี้กำลังเผชิญอาการที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต นั่นคือ "กลุ่มอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบในเด็ก" (multi-system inflammatory syndrome หรือ MIS-C) ซึ่งมักเกิดขึ้น 4-6 สัปดาห์หลังจากเด็กและวัยรุ่นหายป่วยจากโควิด-19
.
สุติก พิศวาส ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำอินเดีย ได้พูดคุยกับ นพ. เอสพี กลันตรี ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ โรงพยาบาลกสตุรพา ที่เด็กเหล่านี้เข้ารักษา ซึ่งระบุว่า ปัจจุบันเด็ก 2 คนหลายป่วยแล้ว ส่วนอีก 2 คนยังคงรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยอาการวิกฤต
.
"...เรายังไม่รู้แน่ชัดว่าปัญหานี้รุนแรงแค่ไหน มันน่ากังวล เพราะเรายังไม่มีข้อมูลว่าโรคนี้จะสร้างความยุ่งยากให้อินเดียมากน้อยเพียงใด"
.
ในขณะที่การระบาดระลอกที่ 2 ของโควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง แต่กุมารแพทย์ในอินเดียกลับรายงานการพบอาการป่วยที่พบได้ยากแต่รุนแรงเช่นนี้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่ชัดเจนว่ามีเด็กในอินเดียกี่คนที่ได้รับผลกระทบ
.
แต่ในสหรัฐฯ รายงาน ของทางการจนถึง 3 พ.ค. พบผู้ป่วยกลุ่มอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบในเด็ก 3,742 ราย และเสียชีวิตแล้ว 35 ราย
.

สุติก พิศวาส ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำอินเดีย ได้พูดคุยกับ นพ. เอสพี กลันตรี ผู้อำนวยการฝ่ายแพทย์ โรงพยาบาลกสตุรพา ที่เด็กเหล่านี้เข้ารักษา ซึ่งระบุว่า ปัจจุบันเด็ก 2 คนหลายป่วยแล้ว ส่วนอีก 2 คนยังคงรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยอาการวิกฤต
.
"...เรายังไม่รู้แน่ชัดว่าปัญหานี้รุนแรงแค่ไหน มันน่ากังวล เพราะเรายังไม่มีข้อมูลว่าโรคนี้จะสร้างความยุ่งยากให้อินเดียมากน้อยเพียงใด"
.
ในขณะที่การระบาดระลอกที่ 2 ของโควิด-19 เริ่มคลี่คลายลง แต่กุมารแพทย์ในอินเดียกลับรายงานการพบอาการป่วยที่พบได้ยากแต่รุนแรงเช่นนี้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังไม่ชัดเจนว่ามีเด็กในอินเดียกี่คนที่ได้รับผลกระทบ
.
แต่ในสหรัฐฯ รายงาน ของทางการจนถึง 3 พ.ค. พบผู้ป่วยกลุ่มอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบในเด็ก 3,742 ราย และเสียชีวิตแล้ว 35 ราย
.

"กลุ่มอาการอักเสบของอวัยวะหลายระบบในเด็ก" (MIS-C) ซึ่งมักเกิดขึ้น 4 - 6 สัปดาห์หลังจากเด็กและวัยรุ่นหายป่วยจากโควิด-19

.

ที่โรงพยาบาลคงคาราม ในกรุงนิวเดลี นพ.ธีเรน คุปตะ กุมารแพทย์ประจำหอผู้ป่วยอาการวิกฤตมีคนไข้อายุระหว่าง 4-15 ปี กว่า 75 คน ที่ป่วยด้วยอาการ MIS-C นับตั้งแต่เดือน มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นช่วงที่เริ่มเกิดการระบาดระลอกที่ 2
.
ปัญหาดังกล่าวส่งผลให้โรงพยาบาลของเขาต้องเปิดหอผู้ป่วย MIS-C ขนาด 18 เตียงขึ้นโดยเฉพาะ เขาคาดว่าน่าจะมีผู้ป่วยอาการนี้กว่า 500 คนในกรุงนิวเดลีและพื้นที่โดยรอบ
.
นอกจากนี้ยังพบปัญหาเดียวกันในหลายเมืองทั่วประเทศ โดยเมืองปูเน ทางภาคตะวันตกของอินเดียก็พบเด็กป่วยด้วยอาการนี้ 30 คนนับแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ในจำนวนนี้ 13 คน อายุระหว่าง 4-12 ปี ยังคงรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยส่วนใหญ่มีอาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (myocarditis) แพทย์ที่นั่นบอกว่าจำนวนเด็กที่ป่วยเป็น MIS-C เพิ่มขึ้นมากในการระบาดระลอกที่ 2 นี้
.
แพทย์บอกว่าอาการนี้เป็นผลมาจากการตอบสนองรุนแรงของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายต่อเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการอักเสบของอวัยวะที่สำคัญหลายส่วน
.
อาการที่เกิดขึ้นในช่วงแรกมักคล้ายกับโรคอื่น ๆ เช่น มีไข้สูงอย่างต่อเนื่อง มีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง ตาแดง ต่อมน้ำเหลืองบวมโต ปวดท้อง ความดันโลหิตต่ำ ปวดเมื่อยเนื้อตัว และง่วงซึม
.
โดยบางอาการคล้ายกับโรคคาวาซากิ (Kawasaki disease) ซึ่งแพทย์ชี้ว่า อาการของเด็กที่พบในอินเดียมีความหลากหลาย ตั้งแต่อาการคล้ายโรคคาวาซากิที่ไม่รุนแรง ไปจนถึงอาการอวัยวะหลายระบบล้มเหลว
.
หากอาการอักเสบรุนแรงขึ้นก็อาจทำให้เกิดภาวะช็อกจากการติดเชื้อ ระบบทางเดินหายใจล้มเหลว อีกทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่ออวัยวะอื่น ๆ เช่น หัวใจ ตับ และไต งานวิจัยชิ้นหนึ่งในสหรัฐฯ ยังพบว่าเด็กที่ป่วยเป็น MIS-C แสดงอาการของโรคระบบประสาทและสมองด้วย
.

"...พ่อแม่จำเป็นต้องคอยดูอาการ และพาบุตรหลานที่หายป่วยจากโควิดแล้วเริ่มแสดงอาการ (MIS-C) ไปพบกุมารแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ"

นพ. คุปตะ แห่งโรงพยาบาลคงคาราม บอกกับผู้สื่อข่าวบีบีซีว่า เด็กที่ป่วยเป็น MIS-C ส่วนใหญ่ที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลของเขามักต้องเข้ารักษาในหอผู้ป่วยอาการวิกฤต โดย 1 ใน 3 ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนานถึง 1 สัปดาห์
.
ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า การใช้ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาปฏิชีวนะ และการฉีดอิมมูโนโกลบูลิน ซึ่งเป็นการรักษาโดยใช้แอนติบอดีที่ดี และการให้ออกซิเจน อาจช่วยให้เด็กหายป่วยได้
.
อย่างไรก็ตาม เรื่องน่ากังวลที่ นพ. คุปตะพบก็คือ คนไข้เด็กราว 90% ติดโควิดโดยที่ไม่แสดงอาการป่วยใด ๆ แต่จะเริ่มล้มป่วยด้วยอาการ MIS-C ราว 2-6 สัปดาห์ หลังจากหายจากโควิดแล้ว
.
กุมารแพทย์ประจำโรงพยาบาลคงคารามผู้นี้ชี้ว่า สิ่งสำคัญคือการที่เด็กจะไม่ถูกนำตัวมารักษาเมื่อมีอาการป่วยรุนแรงแล้ว "...พ่อแม่จำเป็นต้องคอยดูอาการ และพาบุตรหลานที่หายป่วยจากโควิดแล้วเริ่มแสดงอาการ (MIS-C) ไปพบกุมารแพทย์ตั้งแต่เนิ่น ๆ"
.
"สิ่งที่ผมกังวลคือเราจะมีทรัพยากรและสถานที่เพียงพอในการรักษาผู้ป่วยเด็กเหล่านี้หรือไม่หากมียอดผู้ป่วยพุ่งสูงขึ้น"
.
อาการที่ควรพาลูกไปพบแพทย์
ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ (ซีดีซี) แนะนำให้ผู้ปกครองรีบพาบุตรหลานไปพบแพทย์ทันทีหากเด็กแสดงอาการที่เป็นสัญญาณเตือนดังต่อไปนี้
.
หายใจลำบากมาก
- มีอาการเจ็บ หรือบีบคั้นที่หน้าอกต่อเนื่องไม่หายไป
- มีอาการสับสน
- มีอาการตื่นยาก หรือไม่ยอมหลับ
- ริมฝีปาก หรือเนื้อใต้เล็บเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน หรือสีซีด แล้วแต่โทนสีผิว
- มีอาการปวดท้องรุนแรง