ในการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสมัยที่ 26 หรือ COP 26 ที่เมืองกลาสโกว์ สหราชอาณาจักร เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 มีวาระสำคัญคือ“การลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศของโลก” ซึ่งนานาประเทศทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยให้คำมั่นสัญญาว่าจะมุ่งดำเนินการ โดยทุกภาคส่วนทั้งรัฐ เอกชน และประชาสังคม ต้องร่วมมือกัน
ในเวทีดังกล่าว “เอสซีจี” ได้ประกาศกำหนดการเป็นองค์กรการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero GHG Emissions) ภายในปีพ.ศ.2593 และมีเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิลงอย่างน้อย 20% ภายในปีพ.ศ.2573 เมื่อเทียบกับปีฐานในพ.ศ.2563 โดยครอบคลุมทั้งธุรกิจในประเทศไทยและต่างประเทศ

ปริศนาเรื่องเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ซึ่งก่อโรคโควิด-19 สามารถเข้าสู่สมองได้อย่างไร ทั้งที่เซลล์สมองแทบจะไม่มีตัวรับ ACE2 ที่ไวรัสใช้ผ่านเข้าสู่เซลล์ร่างกายเลยนั้น ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์เริ่มได้เบาะแสที่ช่วยไขคำตอบแล้ว

พบผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย ในกานาจากการติดเชื้อไวรัสมาร์เบิร์ก และยังมีอีก 98 คนต้องอยู่ในสถานกักกันเพราะมีการสัมผัสเสี่ยงสูงกับผู้ติดเชื้อ การระบาดครั้งนี้ทำให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดต่อร้ายแรงนี้เป็นจำนวนมาก โดยไวรัสดังกล่าวก่อให้เกิดอาการไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง อาเจียน และในหลายกรณีอาจเสียชีวิตจากการสูญเสียเลือดอย่างรุนแรง

หากย้อนไทม์แมชชีนจากอดีตจนถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าภาคการเกษตรของไทยมีการเปลี่ยนแปลงมาหลายศตวรรษ แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงคือความไม่แน่นอน ทำให้วิถีชีวิตของเกษตรกรถูกแขวนไว้บนความเสี่ยง ทั้งเรื่องของสภาพดินฟ้าอากาศที่ยากจะควบคุม จนเกิดเป็นปัญหาโรคพืชหรือการปศุสัตว์ แรงงานภาคเกษตรมีแนวโน้มลดลง เกษตรกรมีอายุเฉลี่ยมากขึ้น บวกกับแนวทางการทำเกษตรในอดีตมักอาศัยความเชื่อและวิถีการทำไร่ไถนาที่สืบทอดต่อกันมา พึ่งพาสภาพดินฟ้าอากาศตามธรรมชาติจึงทำให้คุณภาพและปริมาณของผลผลิตไม่มีความแน่นอน ดังนั้น เมื่อโลกปัจจุบันหมุนเข้าสู่ยุคดิจิทัล เกษตรกรจึงจำเป็นต้องปรับตัวด้วยการนำเครื่องจักรกล เทคโนโลยี และนวัตกรรม เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมากขึ้น อีกทั้งยังต้องเรียนรู้ศาสตร์และวิธีการใหม่ ๆ เพื่อให้พร้อมรับมือกับภาวะทางธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลง