3.1.1  สารเคมีที่ใช้ในการผลิตเยื่อกระดาษ

  

ชื่อสารเคมี

สูตรเคมี

ประเภทของสาร

ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ข้อมูล SDS (link)

หมายเหตุ

Sodium hydroxide NaOH 

ของเหลวไม่มีสี

ไม่มีกลิ่น 
 ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา

Link 1 Link 2 

ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบคราฟท์, ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบโซดา, สารฟอกเยื่อ 
Sodium sulfide Na2

ของแข็งสีขาวเหลือง
ไม่มีกลิ่น

ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา

Link 1 Link 2 

 ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบคราฟท์
Sulfurous acid H2SO3   ของเหลวไม่มีสี
กลิ่นฉุน
 ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา  Link ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบซัลไฟต์
Magnesium Bisulfite  Mg(HSO3)2  เป็นของเหลว เป็นพิษหากสูดดมหรือการกลืนกินและกัดกร่อน  Link ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบซัลไฟต์ 
Sodium bisulfite   NaHSO3

ของแข็งสีขาว
มีกลิ่นเล็กน้อย

 ระคายเคืองต่อดวงตาอย่างรุนแรง Link ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบซัลไฟต์ 
Sodium sulfite   Na2SO3  ของแข็งสีค่อนข้างขาว
ไม่มีกลิ่น
ทำให้เกิดการแพ้ที่ผิวหนัง  Link 1 Link 2 ใช้ในกระบวนการผลิตเยื่อกึ่งเคมี 
Sodium carbonate   Na2CO3  ของแข็งสีขาว
ไม่มีกลิ่น
ระคายเคืองต่อดวงตาอย่างรุนแรง   Link ใช้ในกระบวนการผลิตเยื่อกึ่งเคมี 
Sodium dithionite   NaOCl

ของแข็งสีขาว
มีซัลเฟอร์เล็กน้อย

 ระคายเคืองต่อดวงตาอย่างรุนแรง  Link สารฟอกเยื่อ
 Sodium peroxide  Na2O2

ของแข็งสีเหลืองอ่อน

ไม่มีกลิ่น 
ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา   Link สารฟอกเยื่อ
 Sodium Thiosulfate Na2S2O3   ของเหลวไม่มีสี
ไม่มีกลิ่น
ระคายเคือง แสบร้อนที่ผิวหนัง   Link  สารฟอกเยื่อ
 Calcium hypochlorite  Ca(ClO)2  ของแข็งสีขาวเทา
กลิ่นคล้ายคลอรีน
ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา  Link  สารฟอกเยื่อ
Chlorine dioxide ClO2

แก๊สไม่มีสี
กลิ่นเฉพาะตัวอ่อนๆ

- ระคายเคือง แสบร้อนที่ผิวหนัง
- สูดดม ทำให้เกิดแสบจมูกและลำคอ
- กลืน ทำให้เกิดการคลื่น ไส้ อาเจียน ปวดท้อง แต่มักไม่รุนแรง

Link สารฟอกเยื่อ
Hydrogen peroxide H2O2

ของเหลวไม่มีสี

ไม่มีกลิ่น
ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา  Link สารฟอกเยื่อ
Oxygen O2

แก๊สไม่มีสี

ไม่มีกลิ่น
-  Link สารฟอกเยื่อ
Ozone O3

แก๊สมีกลิ่นฉุน

มีสีฟ้าอ่อน
ระคายเคืองต่อดวงตาและทางเดินหายใจ Link  สารฟอกเยื่อ

3.1.2  เครื่องมือ/เครื่องจักร/วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษ

                   3.1.2.1 การผลิตเยื่อเชิงกลจากไม้

                               - เครื่องผลิตด้วยหินบด (Stone ground wood, SGW) หรือเครื่องผลิตเยื่อด้วยจานบด (Refiner mechanical pulp, RMP)

                   3.1.2.2 การผลิตเยื่อเชิงเคมีจากไม้

                              - หม้อต้มเยื่อชนิดเดี่ยว (Batch digester) หรือหม้อต้มเยื่อแบบต่อเนื่อง (Continuous digester)

                   3.1.2.3 การฟอกเยื่อกระดาษ

                              - หอฟอกเยื่อกระดาษ (Bleaching tower)

                   3.1.2.4 การผลิตกระดาษด้วยเยื่อเวียนทำใหม่ หรือเยื่อกระดาษ

                                      1. เครื่องตีเยื่อกระดาษให้แตกออกเป็นเส้นใย (Hydra pulper)

                                      2. เครื่องคัดแยกเส้นใยจากน้ำเยื่อที่มีสิ่งสกปรกสูง (Contaminex)

                                      3. ขั้นตอนการทำความสะอาดเยื่อแบบหยาบ (Coarse screen) ประกอบด้วย เครื่องคัดแยกเส้นใยแบบเขย่า (Vibration Screen) และเครื่องกำจัดสิ่งแปลกปลอมความหนาแน่นสูงด้วยแรงเวี่ยงหนีศูนย์กลาง (High-consistency centrifugal separators หรือ HD cleaner)

                                      4. ขั้นตอนการทำความสะอาดเยื่อแบบละเอียด (Fine screen) ประกอบด้วย เครื่องคัดแยกเส้นใยด้วยแรงดัน (Pressure Screen) และเครื่องกำจัดสิ่งแปลกปลอมความหนาแน่นต่ำด้วยแรงเวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Low-consistency centrifugal separators หรือ LC cleaner)

                                      5. เครื่องเพิ่มความเข้มข้นของน้ำเยื่อ (Thickener)

                                      6. เครื่องกำจัดหมึกพิมพ์และจุดสกปรก (Deinking หรือ Dispersing)

3.1.3 ขั้นตอนการผลิตเยื่อ

                   วัตถุประสงค์หลักของการผลิตเยื่อก็เพื่อต้องการแยกเส้นใยออกมาจากองค์ประกอบอื่นของไม้การผลิตเยื่อสามารถทำได้หลายวิธีทั้งโดยวิธีเคมีและเชิงกล เยื่อที่ได้จะนำไปผ่านการฟอกให้ขาว  ถ้าเป็นเยื่อที่ใช้สำหรับทำกระดาษที่ใช้เพื่อการสื่อสารต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นว่าในขั้นตอนนี้จะต้องประกอบด้วยกรรมวิธีการผลิตเยื่อและการฟอกเยื่อ

                   3.1.3.1 กระบวนการผลิตเยื่อ (Pulping process) เยื่อมีหลายชนิดการเรียกชื่อขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการผลิต ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบต่าง ๆ ของพลังงานที่ใช้ ได้แก่ พลังงานความร้อน พลังงานเคมี และพลังงานกล แบ่งออกได้ดังนี้    

                   (1) กระบวนการผลิตเยื่อเชิงกล (Mechanical pulping process) ดังแสดงดังภาพที่ 3 จะใช้พลังงานกลควบคู่ไปกับพลังงานความร้อนในการแยกเส้นใยออกมา โดยชิ้นไม้จะถูกส่งเข้าเครื่องบด ซึ่งจะทำหน้าที่บดและตัดจนชิ้นไม้แหลกละเอียดเป็นเยื่อไม้ เยื่อที่ได้เรียกเยื่อไม้บดหรือเยื่อเชิงกลให้ผลผลิตเยื่อในช่วงมากกว่าร้อยละ 85 เยื่อไม้บดจะมีเนื้อค่อนข้างหยาบกระด้าง เส้นใยที่ได้จากเยื่อไม้บดนี้ส่วนใหญ่ไม่สมบูรณ์จะมีการขาดและตัดเป็นท่อน ๆ นอกจากนี้ยังมีมัดของเส้นใย (Bundle of fiber) ปนอยู่ด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าในเยื่อไม้บดจะประกอบด้วย 1) Fines ซึ่งเกิดจากการฉีกขาดของเส้นใย 2) เส้นใย (Individual fiber) เส้นใยเดี่ยวไม่ค่อยสมบูรณ์ 3) มัดของเส้นใย ซึ่งประกอบด้วยเส้นใยหลายๆเส้นเกาะติดกันเป็นมัด ดังภาพที่ 4 และ 5

ภาพที่ 3 การผลิตเยื่อเชิงกล 

    

 ภาพที่ 4 แสดงส่วนละเอียด fine ของเยื่อไม้บด               ภาพที่ 5 แสดงเส้นใยของเยื่อไม้บด

         

                   เยื่อชนิดนี้เมื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการทำกระดาษจะให้สมบัติตามส่วนประกอบทั้ง 3 คือ เส้นใยฝอยจะเพิ่มสมบัติด้านทึบแสง เส้นใยไม่ค่อยสมบูรณ์ และยังคงมีลิกนินตกค้างอยู่มากทำให้พันธะระหว่างเส้นใยต่ำเยื่อชนิดนี้จึงไม่เหมาะที่จะนำไปทำกระดาษที่ต้องรับแรงสูง เยื่อชนิดนี้มีราคาถูก เหมาะสำหรับทำสิ่งพิมพ์ ราคาถูก เช่น หนังสือพิมพ์ หรือใช้เป็นเยื่อชั้นในกระดาษแข็ง

                   (2) กระบวนการผลิตเยื่อกึ่งเคมี (Semi-chemical pulping process) เป็นกระบวนการผลิตเยื่อที่ต้องอาศัยทั้งพลังงานกลเช่นเดียวกับการผลิตเยื่อเชิงกล และมีการใช้พลังงานเคมีเข้ามาช่วยให้เส้นใยแยกตัวเป็นอิสระง่ายขึ้น สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ โซเดียมซัลไฟต์ชนิดที่เป็นกลาง (Neutral sodium sulfite) โซเดียมคาร์บอเนต (Sodium carbonate) เยื่อที่ผลิตได้ ได้แก่ NSSC (Neutral sulfite semichemical) ซึ่งยังคงมีปริมาณลิกนินอยู่บ้างแต่น้อยกว่าปริมาณลิกนินในเยื่อเชิงกล เยื่อชนิดนี้นำไปผลิตกระดาษพิมพ์ดีดหรือกระดาษสมุดนักเรียน

                   (3) กระบวนการผลิตเยื่อเคมี (Chemical pulping process) การผลิตเยื่อตามกรรมวิธีนี้จะใช้ พลังงานเคมีและพลังงานความร้อนในการทำให้เส้นใยแยกจากกัน โดยชิ้นไม้จะถูกส่งเข้าหม้อต้มเยื่อ (Digester) ลิกนินออกไปเหลือส่วนที่ไม่ละลาย คือ เยื่อ เยื่อเคมีมีหลายชนิดเรียกชื่อตามสารเคมีที่ใช้ในการผลิต เช่น เยื่อซัลเฟต เยื่อซัลไฟท์และเยื่อโซดา เยื่อเคมีให้ผลผลิตเยื่อประมาณร้อยละ 40 เยื่อเคมีที่ได้จะมีลักษณะนุ่มมีสีค่อนข้างคล้ำ และเส้นใยที่ได้จะสมบูรณ์ ดังภาพที่ 8

                   เยื่อชนิดนี้มีปริมาณการใช้สูงมากเพราะสามารถพัฒนาศักยภาพของเส้นใยให้สามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวางเหมาะทั้งใช้ในงานรับแรงและเพื่อการสื่อสาร ถ้าใช้ในงานรับแรง เช่นนำไปทำกระดาษบรรจุภัณฑ์ไม่จำเป็นต้องฟอก แต่ถ้าใช้เพื่อการสื่อสารจะต้องนำไปฟอกให้ขาวก่อน  

            

ภาพที่ 6 หม้อต้มเยื่อแบบเดี่ยว          ภาพที่ 7 หม้อต้มเยื่อแบบต่อเนื่อง

ภาพที่ 8 แสดงเส้นใยของเยื่อเคมี

                   

                   นอกจากนี้ในการผลิตกระดาษจะมีการนำกระดาษที่ใช้แล้วประเภทกระดาษหนังสือพิมพ์ กล่องกระดาษ หนังสือทั่วไป เป็นต้น นำกลับไปใช้ในการผลิตเยื่อกระดาษใหม่ เยื่อที่ได้เรียกว่าเยื่อเวียนทำใหม่ ในปัจจุบันกระดาษที่ใช้แล้ว (Reclaimed และ Waste paper) นับได้ว่าเป็นแหล่งเส้นใยที่สำคัญแหล่งหนึ่ง ได้มีการนำเศษกระดาษที่ใช้แล้วทั้งภายในและภายนอกประเทศมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษเยื่อที่ได้จากเศษกระดาษที่ใช้แล้ว เส้นใยที่ได้จากเยื่อชนิดนี้เรียกว่า recycled fiber ดังภาพที่ 9

ภาพที่ 9 แสดงส่วนของเส้นใยของเยื่อเศษกระดาษที่ใช้แล้ว

                    เนื่องจากกระดาษที่ผ่านการใช้แล้วมีมากมายหลายประเภท เช่น  ถ้าเป็นกระดาษที่ผ่านการพิมพ์ต่าง ๆ มาแล้ว  ก่อนนำมาทำเป็นเยื่อต้องผ่านขบวนการเอาหมึกออก (Deinking) เสียก่อนแล้วจึงนำไปฟอกให้ขาวเยื่อจากกระดาษหรือเศษกระดาษที่ได้ส่วนมากจะนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษพิมพ์เขียน กระดาษชำระทำเป็นเยื่อชั้นในของกระดาษแข็ง เป็นต้น

 3.1.3.2 การฟอกเยื่อ (Bleaching) การฟอกเยื่อเป็นการทำให้เยื่อมีสีขาวเหมาะกับการใช้ทำกระดาษเพื่อการสื่อสารต่าง ๆ การฟอกเยื่อมี 2 วิธี คือ

                   (1) วิธีฟอกเยื่อเพิ่ื่อขจัดลิกนินออกไป (Removing lignin)

                   เยื่อเคมีจะฟอกโดยใช้วิธีกำจัดลิกนินออกไปโดยใช้สารเคมีทำปฏิกิริยากับลิกนินแล้วกำจัดลิกนินออกไป การฟอกแบบนี้มีหลายขั้นตอนการฟอก โดยทั่วไปจะมีตั้งแต่ 3-5 ขั้นตอน (CEH CEDEP CEOP) เยื่อที่ได้มีความขาวสว่างสูงประมาณร้อยละ 80-95 เมื่อวัดด้วยเครื่องวัดความขาวสว่างของกระดาษ ขั้นตอนในการฟอกจะมีชื่อเรียกตามสารเคมีที่ใช้ฟอก  และขั้นตอนการฟอกจะเรียงลำดับตามอักษรที่ใช้เรียก เช่น การฟอกแบบ CEDED เป็นต้น ดังภาพที่ 10

ภาพที่ 10 ขั้นตอนการฟอกเยื่อ แบบ CEDED

ตารางแสดงสัญญลักษณ์และเรียกชื่อขั้นตอนการฟอก
สารเคมี สัญลักษณ์ เรียกชื่อขั้นตอนการฟอก
chlorine  ขั้นคลอริเนชั่น (Chlorination stage)
sodium hydroxide E ขั้นแอ็กแทร็กชั่น (Extraction stage)
calcium hypochlorite H ขั้นไฮโปคลอไรท์ (Hypochlorite stage)
chlorine dioxide D ขั้นคลอรีนไดออกไซด์ (Chlorine dioxide stage)
hydrogen peroxide P ขั้นเปอร์ออกไซด์ (Peroxide stage)
oxygen O ขั้นออกซิเจน (Oxygen stage)
ozone Z ขั้นโอโซน (Ozone stage)
acid A ขั้นแอสิก (Acid stage)

                   (2) วิธีฟอกเพื่อเปลี่ยนสีของลิกนินให้อยู่ในรูปไม่มีสี (Bleaching lignin)

                   การฟอกเยื่อแบบนี้สารเคมีที่ใช้ฟอกเยื่อจะทำปฏิกิริยากับลิกนินและเปลี่ยนสีลิกนินให้อยู่ในรูปของสารที่ปราศจากสี การฟอกแบบนี้ไม่ทำให้ผลผลิตเยื่อลดลงและเป็นการฟอกแบบขั้นตอนดียว  เยื่อฟอกมีความขาวสว่างปานกลาง และไม่คงทน  เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดการการกลับสี  โดยความขาวสว่างจะลดลงและกระดาษมีสีเหลือง สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ โซเดียมเปอร์ออกไซด์ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

 3.1.3.3. การเตรียมน้ำเยื่อ (Stock preparation) 

                  ในขั้นการเตรียมน้ำเยื่อนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ (1) เพื่อพัฒนาศักยภาพของเส้นใย โดยการนำเยื่อไปบด และ (2) เพื่อปรับปรุงสมบัติกระดาษให้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานโดยการผสมหรือใส่สารเติมแต่งชนิดต่างๆ ตามอัตราส่วนที่กำหนด ส่วนผสมที่ได้นี้เรียกว่า “น้ำเยื่อ” หรือ “สต๊อค (Stock)” เยื่อที่นำมาทำกระดาษทุกชนิดจะต้องผ่านการบดแต่จะบดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับคุณภาพของเยื่อ เยื่อบางชนิดไม่จำเป็นต้องบด เช่น เยื่อไม้บดและเยื่อหมุนเวียนทำใหม่

                  ในขั้นตอนการเตรียมน้ำเยื่อประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการบดและผสม  โดยมีขั้นตอนการปฏิบัตการเรียงตามลำดับดังภาพที่ 11

ภาพที่ 11 ขั้นตอนการเตรียมน้ำเยื่อ

(1) การกระจายเส้นใย (Defibering)

- กระจายเยื่อเพื่อให้เส้นใยแยกออกจากกันเป็นอิสระในน้ำ โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าไฮดราพัลพ์เพอร์ (Hydra pulper) ดังภาพที่ 12

(2) การบดเยื่อ (Refining)

- บดเยื่อเพื่อให้เส้นใยแตกแขนงเป็นการเพิ่มศักยภาพของพันธะระหว่างเส้นใยให้สูงขึ้นอุปกรณ์ที่ใช้คือ เครื่องบดเยื่อ (Refiner)

(3) การผสมน้ำเยื่อ (Blending)

- เป็นการเติมสารเติมแต่งลงไปผสมกับเยื่อที่ผ่านการบดแล้วโดยผสมในถังใบพัดกวน  เยื่อจะถูกเก็บไว้ในถังที่เรียกว่าแมชชีนเชสท์ (Machine chest)

(4) การแยกสิ่งสกปรกออก (Screening and Cleaning)

- การแยกสิ่งสกปรกออกจากน้ำเยื่อโดยใช้ตะแกรงราบ (Flat screener) ดังภาพที่ 13 เพื่อคัดวัสดุที่มีขนาดใหญ่กว่าเส้นใยออก แล้วผ่านเข้าสู่เครื่องทำความสะอาด ที่เรียกว่า เซนตริคลีนเนอร์ (Centrifugal cleaner) ดังภาพที่ 14 จะคัดแยกวัสดุอื่นออกไป โดยใช้หลักความถ่วงจำเพาะที่ต่างกัน

(5.) การควบคุมความข้นของน้ำเยื่อ 

(Consistency regulator)

- เพื่อควบคุมให้น้ำเยื่อมีความเข้มข้นคงที่

        

ภาพที่ 12 แสดงเครื่องไฮดราพัลพ์เพอร์ (Hydra pulper)                            ภาพที่ 13 แสดงการคัดขนาดโดยตะแกรงราบ                                 ภาพที่ 14 แสดงการใช้ centrifugal cleaner