English TitleEffects of fat content and drying conditions on qualities of coconut flake

Authorวิชุดา วิศวสุขมงคล

Sourceวิทยานิพนธ์. (2003) 90 หน้า

AbstractThe objective of this study is to determine the effects of fat content and drying conditions on qualities of coconut flake which produced from ingredients, i.e., coconut milk and corn starch. The desirable qualities of the dried product, which contains 5 percent of moisture content of lower, are white and dried flake. The studied initial fat content of coconut milk before mixing with corn starch and heated was varied between 10 and 15 percent. The raw material was then dried using a drum rotation The drying temperature was varied between 110, 120, and 130 °C while the drum speed was varied between 1.0, 1.5, and 2.0 rpm. The appearance, moisture content, surface oil content , color, and fat content of coconut flake obtained by using different drying conditions were compared. The results showed that fat content and drying conditions have impact on product appearances. Chunky-like appearance was found at drying temperature of 110 °C while combination of flaky and chunky-like was detected at 120 °C and 130 °C. Moisture and surface oil content varied directly with the initial fat content and inversely with drying temperature (p≤ 0.05). The speed of drum rotation directly related to only the moisture content, however (p≤ 0.05). All flaky products with moisture content of 5 percent or lower were not significantly different in color. Final dried products contained low fat content, which was varied between 19 percent to 24 percent and varied directly with the initial fat content of coconut milk used. From the study , it can be concluded that the optimum condition for coconut flake production was the used of 15 percent initial fat white and dried coconut flake which contains 2.62 percent moisture content and 23 percent fat content.

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของปริมาณไขมันและสภาวะการอบแห้งที่มีต่อคุณภาพของมะพร้าวเกล็ดมะพร้าวเกล็ดที่มีคุณภาพดีควรมีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวและมีความชื้นไม่เกินร้อยละ 5 ส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับการผลิตได้แก่กะทิและแป้งข้าวโพด ในการศึกษานี้ได้ทำการปรับปริมาณไขมันเริ่มต้นในกะทิ ได้แก่ ร้อยละ 10 และ 15 ก่อนนำไปผสมกับแป้งข้าวโพดและให้ความร้อน สำหรับสภาวะการทำแห้งโดยเครื่องลูกกลิ้งเดี่ยวได้ทำการศึกษาที่อุณหภูมิ 110, 120 และ 130 °C และที่ความเร็วรอบ 1.0, 1.5, และ 2.0 rmp จากการศึกษาพบว่าปริมาณไขมันและสภาวะการทำแห้งส่งผลต่อลักษณะปรากฎของผลิตภัณฑ์ โดยที่ 120 °C และ 130 °C ให้ลักษณะเกล็ดซึ่งตรงกับความต้องการ สำหรับความชื้นและน้ำมันที่ผิวของผลิตภัณฑ์พบว่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณไขมันเริ่มต้นในกะทิและลดลงเมื่อทำการเพิ่มอุณหภูมิโดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤ 0.5) ความเร็วรอบมีผลต่อความชื้นเช่นกันโดยความชื้นเช่นกันโดยความชื้นของผลิตภัณฑ์ที่ได้จะเพิ่มขึ้นตามความเร็วรอบ (p≤ 0.5) ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นเกล็ดและความชื้นไม่เกินร้อยละ 5 ให้สีขาวที่ใกล้กันโดยไม่มีความแตกต่างทางสถิติ (p≥ 0.5) นอกจากนี้พบว่าปริมาณไขมันในผลิตภัณฑ์ที่ได้อยู่ในระหว่างร้อยละ 19-24 ซึ่งมีความสัมพันธ์ทางตรงกับปริมาณไขมันเริ่มต้น (p≥ 0.5) จากการศึกษาครั้งนี้สภาวะการผลิตมะพร้าวเกล็ดที่เหมาะสมได้แก่ร้อยละ 15 ไขมันเริ่มต้นในน้ำกะทิ และทำแห้งที่ 130 °C 1.0 rpm โดยให้เกล็ดที่มีสีขาว ความชื้นร้อยละ 2.62 และไขมันร้อยละ 23

SubjectCoconut -- Drying. Coconut -- Fat content. กะทิ. มะพร้าว -- การอบแห้ง. มะพร้าว -- ปริมาณไขมัน.