Author : ประมวล ทรายทอง และธํารงศักดิ์ แก้วประดิษฐ์.
Source : อาหาร 50, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2563) 5-13
Abstract : โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) เกิดจากเชื้อสายพันธุ์ใหม่ของโคโรน่าไวรัส SARS-CoV-2 เป็นโรคที่ติดต่อได้ง่ายซึ่งแพร่กระจายจากคนสู่คนได้โดยการไอจาม การบริโภคอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สามารถช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันเพื่อช่วยต่อสู้กับเชื้อไวรัส เช่น วิตามินซี ที่ช่วยสนับสนุนการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน และจำเป็นต่อการพัฒนาและซ่อมแซมเนื้อเยื่อของร่างกาย รับประทานอาหารที่เสริมวิตามินดีและวิตามินอี มีส่วนช่วยในการลดอัตราเสี่ยงต่อการติดเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 ได้ จากการแพร่ระบาดของเชื้อโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ 2019 ส่งผลให้ประชากร 1 ใน 3 ของโลกอยู่ในช่วงปิดประเทศ ทำให้เกิดการวิตกเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้ความสำคัญกับระบบอาหาร ตั้งแต่การแปรรูป การเตรียม การบริโภค กระทั่งการจัดจำหน่าย ปัจจุบันนักวิจัยกำลังค้นหาแหล่งโปรตีนทางเลือกแหล่งใหม่ๆ ซึ่งโปรตีนเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร แหล่งโปรตีนบางชนิดถูกนำมาใช้ทดแทนโปรตีนจากสัตว์เพื่อลดการบริโภคเนื้อสัตว์ เนื้อไก่ และเนื้อหมู ทำให้แหล่งโปรตีนทางเลือกใหม่ๆได้ถูกนำมาใช้ เช่น คิวนัว แมลง สาหร่ายขนาดเล็ก และเนื้อเทียมที่ปลูกในห้องปฏิบัติการภายใต้สภาวะปลอดเชื้อ ทั้งนี้แหล่งโปรตีนทางเลือกเหล่านี้ยังเป็นแหล่งของส่วนผสมทางชีวภาพที่มีสารออกฤทธิ์ซึ่งผลดีต่อผู้บริโภค เช่น โพลีฟีนอล ฟลาโวนอยด์ กรดไขมัน และวิตามิน ที่สามารถนำมาใช้ในเชิงอาหารเพื่อสุขภาพได้ และนอกจากโปรตีนที่มาจากพืชแล้ว ยังมีโปรตีนจากแหล่งอื่นๆ ที่นำมาใช้ทดแทนโปรตีนจากเนื้อสัตว์ คือ โปรตีนจากแมลง เช่น จิ้งหรีด หนอนนก.

Subject : โคโรนา -- ไวรัส. อาหาร.

Banana_Flour_-_152422.jpg - 157.88 kB

Author : สุนทรณ์ ฟักเฟื่อง.
Source : วารสารวิจัย 13, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2563) 1-8
Abstract : งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้แป้งกล้วยไข่เพื่อเพิ่มปริมาณเส้นใยในผลิตภัณฑ์ขนมปังหวาน โดยแปรปริมาณแป้งกล้วยไข่ทดแทนแป้งสาลีบางส่วน ที่ระดับร้อยละ 0 (ชุดควบคุม), 25, 50 และ 75 (โดยน้ำหนักแป้ง) ผลการทดลอง พบว่า ระดับการทดแทนที่เหมาะสมที่สุดในผลิตภัณฑ์ขนมปังหวาน คือ การทดแทนด้วยแป้งกล้วยไข่ในปริมาณร้อยละ 25 โดยการทดแทนที่ระดับนี้ทำให้คุณภาพทางประสาทสัมผัสด้านกลิ่น รสชาติ และความชอบโดยรวมมากที่สุด และมากกว่าการทดแทนที่ระดับร้อยละ 50 และ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤ 0.05) แต่ไม่แตกต่างจากชุดควบคุม (P > 0.05) นอกจากนี้ยังมีคะแนนความชอบด้านเนื้อสัมผัสมากที่สุดและมากกว่าการทดแทนที่ระดับอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P≤ 0.05) แต่อย่างไรก็ตาม การทดแทนด้วยแป้งกล้วยไข่ในปริมาณร้อยละ 25 นี้มีค่าคะแนนความชอบด้านสีไม่แตกต่างกับชุดการทดลองอื่น ๆ (P > 0.05) จากการตรวจสอบคุณสมบัติทางกายภาพของผลิตภัณฑ์ขนมปัง พบว่า เมื่อปริมาณแป้งกล้วยไข่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่าความสว่างและการขึ้นฟูของขนมปังลดลง แต่ทำให้ค่าสีแดงและค่าแรงตัดเพิ่มขึ้น ส่วนผลการตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมี พบว่า ขนมปังหวานที่ทดแทนด้วยแป้งกล้วยไข่ทุกระดับมีปริมาณความชื้น ไขมัน โปรตีน เถ้า และคาร์โบไฮเดรตไม่แตกต่างกัน (P > 0.05) แต่ปริมาณเส้นใยเพิ่มขึ้นตามปริมาณแป้งกล้วยไข่ที่เพิ่มขึ้น และเมื่อนำขนมปังหวานที่ทดแทนแป้งสาลีด้วยแป้งกล้วยไข่ร้อยละ 25 ไปทดสอบกับผู้บริโภคจำนวน 30 คน พบว่าผู้บริโภคส่วนใหญ่ (ร้อยละ75) ยอมรับ โดยมีคะแนนความชอบด้านสี กลิ่น รส และความชอบโดยรวมอยู่ในระดับชอบปานกลางถึงชอบมาก.


Subject : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเกษตร – วิจัย. ผลิตภัณฑ์อาหาร. ผลิตภัณฑ์สุขภาพ. การแปรรูปผลิตผลเกษตร. กล้วย -- การใช้ปรุงอาหาร. อาหาร -- วิเคราะห์. เส้นใยพืช. ขนมปัง. อาหาร – การประเมินลักษณะทางประสาทสัมผัส.
แหล่งที่มาของภาพ : www.pixabay.com

Grapefruit_-_152426.jpg - 65.50 kB

Author : นวลศรี โชตินันทน์.
Source : กสิกร 93, 3 (ก.พ.-มี.ค. 2563) 24-29
Abstract : ส้มโอพันธุ์ทับทิมสยาม มีลักษณะเนื้อผลสีชมพูถึงแดงเหมือนสีทับทิม ผิวผลส้มโอมีผลอ่อนนุ่มปกคลุมคล้ายกำมะหยี่ ปลูกมากในพื้นที่อำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งได้ขอขึ้นทะเบียนสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) เป็น “ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง” ลักษณะทางกายภาพ ผลส่วนบนมีจุก ก้นผลป้านเว้าเล็กน้อย เปลือกมีผิวเรียบ สีเขียวนวลอมเหลือง เนื้อสีชมพูเข้มคล้ายสีทับทิม เนื้อผลแน่น ไม่แตกง่าย รสชาติหวานหอม ไม่มีกลิ่นเหม็นเขียวและขมติดลิ้น ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง ตัดปลูกในพื้นที่อำเภอปากพนัง กระบวนการผลิตต้องผ่านการควบคุมตรวจสอบ มีการขึ้นทะเบียนสมาชิกผู้ปลูกส้มโอทับทิมสยามปากพนังและมีเอกสารเพื่อตรวจสอบย้อนกลับได้.


Subject : ส้มโอ. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์. ส้มโอ -- สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ -- นครศรีธรรมราช. ส้มโอทับทิมสยามปากพนัง. ส้มโอทับทิมสยาม.
แหล่งที่มาของภาพ : www.sentangsedtee.com

pepper_-_152427.jpg - 109.20 kB

Author : กองบรรณาธิการกสิกร.
Source : กสิกร 93, 3 (ก.พ.-มี.ค. 2563) 30-34
Abstract : ซอสพริก เป็นผลิตภัณฑ์พริก ที่มีปริมาณการจำหน่ายและส่งออกมากที่สุดในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งพริกใหญ่เป็นพริกที่นำมาแปรรูปเป็นซอสพริกมากที่สุด สถาบันวิจัยพืชสวนจึงได้ทำการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้พริกใหญ่สำหรับผลิตซอสพริกโดยเฉพาะ ซึ่งต้องมีผลสุกสีแดงเข้ม เนื้อหนา ขนาดใหญ่ ยาว มีความเผ็ดน้อย พริกใหญ่สายพันธุ์ พจ.27-1-2-1 หรือพริกใหญ่พันธุ์พิจิตร 2 เป็นพริกใหญ่เพื่อการแปรรูปซอสพริกได้จากการปรับปรุงพันธุ์โดยวิธีผสมข้ามพันธุ์ ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์พื้นเมือง 23 เปอร์เซ็นต์ มีลำต้นสูงสะดวกต่อการเก็บเกี่ยว ผลมีขนาดใหญ่ เนื้อหนา สีแดงเข้มและเผ็ดน้อย ตรงกับความต้องการของตลาด พริกใหญ่พันธุ์พิจิตร 2 เป็นพันธุ์ผสมเปิด เกษตรกรสามารถเก็บเมล็ดพันธุ์เพื่อใช้ปลูกในรุ่นต่อไปได้ ควรปลูกในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี นครสวรรค์ พิจิตร สุโขทัย แพร่ น่าน และเลย โดยปลูกในฤดูหนาว จะทำให้พริกมีคุณภาพดี ผลมีขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมากขึ้น สีแดงสด และมีแมลงศัตรูพริกน้อยกว่าฤดูอื่นๆ.


Subject : พริก. พริก – การแปรรูป. ซอส. อาหารแปรรูป. อาหาร. ผลิตภัณฑ์อาหาร. พริกใหญ่. การปรับปรุงพันธุ์พืช. เมล็ดพันธุ์.
แหล่งที่มาของภาพ : www.technologychaoban.com