Source : นิตยสารสาระวิทย์ ฉบับที่ 95 (ก.พ. 2564) 14-15
Abstract : กาแฟสามารถผสมตัวเอง (Self pollination) ได้โดยไม่ต้องพึ่งการผสมข้าม (Cross pollination) แต่ก็มีงานวิจัยจำนวนมากในต่างประเทศที่แสดงให้เห็นว่าการผสมเกสรข้ามดอกโดยแมลง จะทำให้กาแฟมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งงานวิจัยและพัฒนากาแฟอะราบิกาแบบครบวงจร ภายใต้นโยบาย BCG (Bio-Circular Green Economy) พบว่า เมื่อผึ้งชันโรงมาช่วยผสมเกสร ทำให้ผลเชอรี่ของกาแฟสุกสม่ำเสมอมากขึ้น ส่งผลโดยตรงต่อรสชาติและกลิ่นของกาแฟ ทำให้ผลผลิตกาแฟมีรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยจะได้กลิ่นที่ดีมากที่สุดเมื่อนำเมล็ดกาแฟมาคั่วแบบอ่อน (light roasted) ซึ่งจะให้กลิ่นหอมแบบดอกไม้ป่า โดยผลงานวิจัยโครงการนี้ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ International journal of Science and Innovative Technology (IJSIT) Volume 3 Issue 1.


Subject : ผึ้ง. น้ำผึ้ง. กาแฟ. อาหารเพื่อสุขภาพ.

Source : วารสาร อพวช 19, 219 (ก.ย. 2563) 58-61
Abstract : โยเกิร์ตเป็นหนึ่งในของหมักดองประเภทหนึ่ง ซึ่งมีจุลินทรีย์ที่ดีต่อร่างกาย เกิดจากการเอาน้ำนมจากสัตว์หรือพืชมาหมักด้วยแบคทีเรียกลุ่มที่ผลิตกรดแลคติก ทำให้โยเกิร์ตมีรสเปรี้ยว รวมทั้งทำให้โปรตีนในน้ำนมเสียสภาพและจับตัวตกตะกอนจนกลายเป็นเนื้อโยเกิร์ตที่มีลักษณะข้นหนืด ซึ่งโยเกิร์ตสามารถแบ่งตามลักษณะได้ 3 แบบ ได้แก่ 1) แบบกวน (Stirred yogurt) เช่น โยเกิร์ตผลไม้ 2) แบบคงตัว (Set yogurt) เช่น โยเกิร์ตกรีก บัลแกเรีย และ 3) แบบพร้อมดื่ม (Drink yogurt) ซึ่งโยเกิร์ตที่นิยมรับประทานมากที่สุด คือ 1) โยเกิร์ตกรีกเ กิดจากการกรองและคั้นเอาหางโยเกิร์ต น้ำ และแลคโตสออกไปจนเกือบหมด จนกลายเป็นเนื้อโยเกิร์ตที่เข้มข้นและแข็งตัว มีรสชาติเปรี้ยวฝาด โปรตีนสูงคาร์โบไฮเดรตต่ำมาก แต่มีข้อควรระวังไขมันที่มีมากกว่าโยเกิร์ตทั่วไป 2) โยเกิร์ตบัลแกเรีย มีรสชาติเป็นเอกลักษณ์ เพราะมักทำจากน้ำนมแกะ และเกิดบ่มหมักโดยไม่ผ่านการกวน.


Subject : อาหาร. โยเกิร์ต. ผลิตภัณฑ์อาหาร. ผลิตภัณฑ์นม. น้ำนม -- การหมัก. แบคทีเรียกรดแลกติก. จุลินทร์ในอาหาร.

Source : วารสาร อพวช 19, 219 (ก.ย. 2563) 12-15
Abstract : วิตามินเป็นหนึ่งในสารอาหารจําเป็นสําหรับมนุษย์ ถึงแม้จะเป็นสารอาหารที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อยแต่ก็ขาดไม่ได้ เพราะถ้าร่างกายขาดวิตามินจะทำให้เกิดโรคต่างๆ จึงมีการค้นคว้าและค้นพบวิตามินมากมาย ในทศวรรษ 1900 กำเนิดวิตามินชนิดต่างๆ ค่อยๆ เริ่มต้นขึ้น และเริ่มเป็นที่รู้จักในปี ค.ศ. 1906 โดยวิตามินเอและวิตามินบี1 ถูกค้นพบเมื่อ ปี ค.ศ. 1913 ซึ่งพบมากในตับและข้าวกล้อง ตามลำดับในปี ค.ศ. 1922 มีการค้นพบวิตามินดี โดยทดลองให้หนูกินน้ำมันตับปลา พบว่า สามารถป้องกันโรคกระดูกอ่อนในเด็กได้ ในปี ค.ศ. 1926 มีการค้นพบวิตามินบี12 ซึ่งสามารถรักษาผู้ป่วยโรคโลหิตจางได้ ต่อมาในปี ค.ศ. 1934 ได้มีการค้นพบวิตามินเค และในทศวรรษ 1950 ได้มีการค้นพบวิตามินเอ ที่สามารถป้องกันโรคตาบอดกลางคืนได้ ซึ่งการค้นพบวิตามินชนิดต่างๆ ทำให้สามารถช่วยเหลือผู้คนที่เจ็บป่วยจากการขาดวิตามินได้อย่างมากมาย.


Subject : วิตามิน. วิตามินในโภชนาการมนุษย์. สารอาหาร. สารอาหารรองในโภชนาการ.

Author : กองพัฒนาระบบรับรองมาตรฐานสินค้าพืช.
Source : กสิกร 93, 6 (ส.ค.-ก.ย. 2563) 63-73
Abstract : โรงงานน้ำตาลทรายเป็นอุตสาหกรรมแปรรูปอ้อยเป็นผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายชนิดต่างๆ ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ชนิด ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม คือ น้ำตาลทรายสีรำ (Refined brown sugar) น้ำตาลทรายขาว (White sugar) และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ (Refined sugar) ระหว่างการผลิตในขั้นตอนต่างๆ ผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายอาจมีการปนเปื้อนอันตรายต่างๆ เช่น อันตรายทางกายภาพ (เศษแก้ว โลหะเ ข็มเย็บกระสอบ) อันตรายทางเคมี (สารตกค้างจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช) และอันตรายทางชีวภาพ (การปนเปื้อนของจุลินทรีย์) อันตรายเหล่านี้ล้วนมีผลต่อความปลอดภัยและการยอมรับของผู้บริโภค ปัจจุบันมาตรการด้านความปลอดภัยทางอาหารมีบทบาทสำคัญต่อการผลิตทั้งการจำหน่ายภายในประเทศและการส่งออก โดยการจัดทำระบบควบคุมการผลิตและขอการรับรองมาตรฐานต่างๆ เช่น GMP HACCP ISO เป็นต้น.


Subject : น้ำตาลทราย. โรงงานน้ำตาลทราย. อุตสาหกรรมน้ำตาลทราย. อาหาร – มาตรการความปลอดภัย.