Title : ผึ้งชันโรง แมลงผู้ช่วยเกษตรกรปลูกกาแฟอาราบิก้าให้มีรสชาติกลิ่นหอม เป็นเอกลักษณ์

         ชันโรง หรือ ผึ้งจิ๋ว (Stingless Bees) เป็นแมลงในกลุ่มเดียวกับผึ้ง แต่ไม่มีเหล็กใน พบได้ในทุกภูมิภาคของไทย กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เผยผลวิจัยและพัฒนากาแฟอาราบิก้าครบวงจร ภายใต้การดำเนินงานตามนโยบาย BCG ประสบผลสำเร็จ พบว่า ผึ้งชันโรง ซึ่งเป็นแมลงผสมเกสรในกลุ่มผึ้ง ต่อ แตน มีบทบาทและประสิทธิภาพสูงสุดในการผสมเกสรดอกกาแฟให้มีรสชาติกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวพร้อมส่งเสริมการเพาะเลี้ยงและพัฒนาน้ำผึ้งเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ มุ่งรองรับสังคมผู้สูงอายุ

       โดยคณะวิจัย วว. ได้ดำเนินโครงการฯ ณ หมู่บ้านขุนลาว ตำบลแม่เจดีย์ อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งการที่ผึ้งชันโรงออกมาเก็บน้ำหวานนั้น เป็นการผสมเกสรให้ดอกกาแฟไปในคราวเดียวกัน  ทำให้ละอองเรณูจากเกสรตัวผู้ของดอกกาแฟถูกนำไปฝากไว้ยังเกสรตัวเมียเป็นจำนวนมาก จนเกิดการปฏิสนธิและติดผลทันที แม้ว่ากาแฟจะสามารถผสมตัวเอง (self pollination) หรือรังไข่สามารถเจริญไปเป็นผลอัตโนมัติ (autogamy) ได้อยู่แล้ว โดยไม่ต้องพึ่งการผสมข้าม (cross pollination) นักวิจัยยัง พบว่า เมื่อมีแมลงผสมเกสรโดยเฉพาะผึ้งชันโรงทำให้ผลเชอรี่กาแฟสุกแก่สม่ำเสมอมากขึ้น โดยชาวบ้านไม่ต้องเสียเวลาขึ้นเขาไปหลายครั้งเพื่อเก็บผลผลิตและไม่เสียเวลาในการคัดเลือกเฉพาะเชอรี่กาแฟที่สุกเท่านั้น จึงช่วยลดการปะปนของกาแฟที่ยังไม่สุกเต็มที่ ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อรสชาติและกลิ่นของกาแฟ ทั้งนี้เมื่อได้เชอรี่กาแฟที่มีคุณภาพจากการดูแลของเกษตรกร พร้อมผู้ช่วยตัวจิ๋วอย่างผึ้งชันโรงแล้ว ทำให้ได้ผลผลิตกาแฟที่มีรสชาติและกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะเมื่อนำกาแฟมาคั่วแบบอ่อน light roasted จะทำให้ได้รสชาติ และกลิ่นของกาแฟมากที่สุด ดังนั้นกาแฟของหมู่บ้านขุนลาวป่าต้นน้้ำแห่งนี้จึงมีกลิ่นหอมคล้ายดอกไม้ป่า ผสมกลมกลืน กับความรู้สึกของผลไม้ป่าที่หอมหวาน อ่านเพิ่มเติม

Source : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แห่งประเทศไทย (วว.)

แหล่งที่มาของภาพ : freepik.com