Patents FAQ

A : การประดิษฐ์สิ่งใดสิ่งหนึ่งมักจะต้องใช้เทคโนโลยีหลายอย่างประกอบกัน ซึ่งรวมถึงเทคโนโลยีที่มีในเอกสารสิทธิบัตรเก่าด้วย เพราะการพัฒนาเทคโนโลยีแต่ละอย่างมีความก้าวหน้าไม่เท่ากัน มีเทคโนโลยีหลายอย่างในเอกสารสิทธิบัตรเก่าที่ยังไม่ได้นำมาใช้ ผลิตภัณฑ์ เพราะในขณะนั้นเทคโนโลยีที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกับเทคโนโลยีในเอกสารสิทธิบัตรเก่านั้นยังไม่พัฒนาให้ดีพอ เช่น โทรทัศน์สี มีการจดสิทธิบัตรไว้ก่อนที่จะนำมาผลิตขายเป็นเวลานานหลายสิบปี

กลับไปหน้า คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิทธิบัตร

A : ขอบเขตของเนื้อหาทางเทคโนโลยีในเอกสารสิทธิบัตรแต่ละฉบับ จะครอบคลุมเฉพาะจุดใดจุดหนึ่งเท่านั้น เช่น เอกสารสิทธิบัตรเรื่องเครื่องพิมพ์ดีด ในเอกสารสิทธิบัตรฉบับหนึ่งจะกล่าวถึงกลไกการป้อนกระดาษ อีกฉบับหนึ่งจะบรรยายเฉพาะกลไกการบังคับการหมุนของผ้าหมึก ดังนั้น ถ้าจะสร้างเครื่องพิมพ์ดีด ก็จะต้องศึกษาวิธีการทำเครื่องบังคับกลไกต่าง ๆ ของพิมพ์ดีดในเอกสารสิทธิบัตรหลายฉบับ

กลับไปหน้า คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิทธิบัตร

A : เจ้าของสิทธิบัตรจะต้องเปิดเผยวิธีทำหรือสูตรของผลิตภัณฑ์ของตนให้บุคคลทั่วไปทราบ เพื่อแลกกับการผูกขาดสิทธิที่จะหาผลประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด รายละเอียดของวิธีทำหรือสูตรนั้นพิมพ์เผยแพร่ในเอกสารสิทธิบัตร ซึ่งผู้สนใจสามารถค้นคว้าหาความรู้และนำมาวิจัยหรือพัฒนาต่อยอดได้โดยไม่ถือว่าละเมิดสิทธิ์ รวมทั้งสามารถนำความรู้ที่ต่อยอด เช่น สูตร หรือวิธีทำมาจดสิทธิบัตรได้ด้วย แต่ต้องเป็นของใหม่

กลับไปหน้า คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิทธิบัตร

A : ก่อนการผลิตสินค้าไปจำหน่ายที่ใดก็ตาม ผู้ผลิตต้องตรวจหาข้อมูลจากฐานข้อมูลสิทธิบัตรของสำนักสิทธิบัตรของประเทศนั้น ๆ ก่อน รวมทั้งตรวจสอบสถานภาพทางกฎหมายของสิทธิบัตรนั้นด้วย

กลับไปหน้า คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิทธิบัตร

A : สิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองสิทธิแก่เจ้าของความคิดสร้างสรรที่จะใช้ผลงานนั้นให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์แต่ผู้เดียวในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดเหมือนกัน แต่ต่างกันที่ สิทธิบัตรให้ความคุ้มครองด้านการประดิษฐ์และการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งคิดค้นขึ้นใหม่ในโลกและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางอุตสาหกรรมได้ ทั้งนี้เจ้าของการประดิษฐ์ต้องยื่นขอรับสิทธิบัตร แต่ลิขสิทธิ์จะเป็นของเจ้าของผลงานทันทีที่ทำงานนั้นปรากฎให้เห็น

กลับไปหน้า คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับสิทธิบัตร