ชื่อเรื่อง : การเปลี่ยนร่างตาข่ายในยางแปรใช้ใหม่

ผู้แต่ง : Onyshchenko, E. and Bartlett, P.

แหล่งข้อมูล : Rubber World  233 (6)  2006 : 45-50

บทคัดย่อ (อังกฤษ) : The recycling process used in this work is the Sekhar-Kormer-Sotnikova reaction known as the De-Link process. The result shows that some mechanical properties such as tensile strength, elongation at break and tearing energy slightly decreased with the number of recycles. However, the results still meet the property specifications for tire compounds, even after the third recycle. These properties are very dependent on the size of the crumb and can be further improved by using very fine crumb. Hardness increased marginally after the first recycle, but remained stable for the subsequent recycled compounds. Modulus at 100% 200% 300% and 400% elongation was not significantly affected by repeated recycling. Scorch time was seen to reduce after the first recycle, but there was no further decrease and it remained stable for subsequent recycles. Compression set and rebound resilience improved after the first recycle and maintained their values with further recycles. Swelling measurements showed correlation between increase in sol fraction (with the number of recycles) and reduction in strength properties. The value of effective crosslink density that characterizes a gel portion of the rubber network was not affected by recycling and, therefore, some properties were similar before and after recycling,

บทคัดย่อ (ไทย) : การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของยางที่ถูกนำมาแปรใช้ใหม่หรือรีไซเคิลด้วยกระบวนการ De-Link หรือปฏิกิริยา Sekhar-Kormer-Sotnikova สมบัติทางกลบางอย่าง เช่น ความต้านแรงดึง (tensile strength) ความยืดเมื่อขาด (elongation at break) และพลังงานในการฉีก (tearing energy) จะลดลงเรื่อยๆ ทีละน้อย เมื่อจำนวนครั้งการรีไซเคิล (recycle) เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ดี ถึงแม้ว่าจะเป็นการรีไซเคิลเป็นครั้งที่สามแล้วก็ตาม สมบัติเฉพาะที่ได้ก็ยังเป็นไปตามข้อกำหนดของยางล้อ สมบัติเหล่านี้จะขึ้นอยู่กับขนาดของเศษยาง (crumb rubber) เป็นส่วนใหญ่ และสมบัติเหล่านี้สามารถปรับปรุงได้โดยการใช้เศษยางที่มีขนาดเล็กและละเอียดมากขึ้น ค่าความแข็งของยาง (hardness) เพิ่มสูงขึ้นหลังจากการรีไซเคิลครั้งที่หนึ่งแต่ยังเสถียรเพียงพอที่จะนำไปรีไซเคิลในครั้งต่อไป แต่การรีไซเคิลซ้ำ(repeated recycling) ไม่ส่งผลอย่างมีนัยต่อค่ามอดูลัส (modulus) ที่ความยืด (elongation) 100% 200% 300% และ400% ส่วนค่าเวลาการเผา (scorch time) จะลดลงหลังจากการรีไซเคิลครั้งแรก แต่จะไม่ลดลงมากไปกว่านั้นในการรีไซเคิลครั้งต่อไป ค่าการยุบอยู่ตัว (compression set) และสมบัติการเด้งกลับ (rebound resilience) ดีขึ้นหลังจากแปรใช้ครั้งแรกและคงที่ในการแปรใช้ครั้งต่อๆ ไป การวัดการพองตัว (swelling measurement) แสดงให้เห็นถึง

ความสัมพันธ์ระหว่างการเพิ่มขึ้นของอัตราส่วนซอล (sol fraction) กับค่าความแข็งแรงที่ลดลง นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการรีไซเคิลอื่น เช่น Surface-treated crumb (Surcrum) และ Mechanochemical devulcanization พบว่า De-Link ทำให้คุณสมบัติต่างๆ ของยางที่ได้ดีกว่า ผลการศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นว่ายางที่นำมารีไซเคิลโดยวิธี De-Link Process สามารถนำมาเป็นส่วนผสมมากถึง 30 เปอร์เซ็นต์เพื่อผลิตยางใหม่ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

ชนิดวัสดุเหลือใช้ : Rubber

ประเภทเอกสาร : Journal

หมายเหตุ : ขอสำเนาเอกสารฉบับเต็มได้ที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. โทร. 0-2201-7252