English TitleEffect of multiple pass system on cassava starch separation efficiency

Authorพิพัฒน์ ปัทมราชวิเชียร

Sourceวิทยานิพนธ์. (2007) 185 หน้า

AbstractHydrocyclone is an alternative solid-liquid separator to replace centrifuge separator in cassava starch production process. An advantage of a hydrocyclone is that it has no moving part that may be abrased by solid particles resulting in a reduction of the separation efficiency. However, some misplaced particles flows out with water at the overflow of a hydrocyclone. This research thus aimed to reduce the starch loss in the separation process by using multiple pass system to recollect the starch loss in the separation process by using multiple pass system to recollect the misplaced particles in the overflowing fluid to increase the separation efficiency ; hence, decreasing the starch loss. A conventional hydrocyclone and multiple pass hydrocyclone with a diameter of 3.0 centimeter were designed base on Bradley's geometry, which is suitable for a starch-water separation application. Three operating parameters were varied in this study to compare the conventional and multiple pass systems. Experiments were performed at three levels of pressure drop (i.e., 2, 4, and 6 kg/cm²) ; two levels of starch slurry concentrations (i.e., 11 and 20 % w/w) ; five recycling ratios (i.e., 0, 0.25, 0.5, 0.75 and 1.00). Percent Recovery (%R), percent split (%Rv), cut size diameter (D50), and sharpness of separation (I) were determined to evaluate the separation efficiency. The experimental results showed that there was insignificant difference in the separation efficiency between the conventional hydrocyclone and the multiple pass system. In the case of process efficiency, multiple pass system can reduce % starch loss in concentration process. The highest separation efficiency of the multiple pass system was at high pressure drop, low feed concentration and high recycling ratio.

ในกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังจำเป็นต้องมีการเพิ่มความเข้มข้นของน้ำแป้งโดยการเหวี่ยงแยกอนุภาคแป้งออกจากน้ำ โดยส่วนใหญ่มักใช้เครื่องเหวี่ยงแยก (Centrifuge separator) ซึ่งส่วนที่เคลื่อนที่ของเครื่องเหวี่ยงแยกนั้นจะเสียดสีกับอนุภาคแป้งทำให้เกิดการสึกกร่อนและทำให้ประสิทธิภาพในการคัดแยกลดลง ดังนั้นไฮโดรไซโคลนจึงเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อทดแทนการใช้เครื่องเหวี่ยงแยก แต่จากงานวิจัยที่ผ่านมายังพบว่ามีอนุภาคแป้งที่ปนไปกัน้ำที่ได้จากกระบวนการเหวี่ยงแยก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณแป้งที่สูญเสียไปในกระบวนการคัดแยกของไฮโดไซฌคลนโดยใช้ระบบน้ำวนกลับเพื่อนำน้ำเสียจากกระวนการคัดแยกที่มีแป้งเจือปนอยู่กับมาผสมกับน้ำแป้งที่ป้อนเข้าเครื่องไฮโดรไซโคลนและทำการเปรียบเทียบผลของการใช้ไฮโดรไซโคลนแบบดั้งเดิมและใช้น้ำวนกลับจากกระบวนการคัดแยกแป้ง โดยงานวิจัยน้กำหนดตัวแปรที่ทำการศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิภาพของไฮโดรไซโคลนที่ความเข้มข้นของน้ำแป้งร้อยละ 11 และ 20 โดยน้ำหนัก ความดันลด 2, 4 และ 6 กิโลกรัมต่อตามรางเซนติเมตร และอัตราส่วนน้ำวนกลับ 0, 0.25, 0.5, 0.75 และ 1.0 โดยวัดประสิทธิภาพของไฮโดรไซโคลนจาก Percent Recovery (%R), percent split (%Rv), และจุดตัด (D50), จากการทดลองพบว่าประสิทธิ-ภาพขอไฮโดรไซโคลนแบบเดิมไม่แตกต่างกับของระบบน้ำวนกลับเมื่อกำหนดให้ความเข้มข้นป้อนเข้าเครื่องไฮโดรไซโคลนเท่ากัน แต่เมื่อมองภาพรวมของระบบพบว่าระบบน้ำวนกลับสามารถลดปริมาณแป้งที่สูญเสียไปกับน้ำเสีย โดยระะบน้ำวนกลับจะมีประสิทธิภาพสูงที่ความดันลดสูง ความเข้มข้นของน้ำแป้งป้อนเข้าต่ำและอัตราส่วนน้ำวนกลับสูง.

SubjectHydrocyclone. Tapioca starch. ไฮโดรไซโคลน. แป้งมันสำปะหลัง.