Authorอรนุช สีหามาลา, หนูเดือน สาระบุตร, พรประภา ชุนถนอม, ศุภชัย ภูลายดอก

Sourceวารสารเกษตรพระจอมเกล้า 36, 2 (พ.ค.-ส.ค. 2561) 98-105

Abstractการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการของแมลงที่บริโภคได้ในจังหวัดกาฬสินธุ์ คือ แมลงสะดิ้ง จิ้งหรีด แมลงกินูน แมลงตับเต่า แมลงกระชอน แม่เป้ง แมลงดานา มดแดง แมลงแคง และดักแด้ไหม พบว่าแมลงสะดิ้งมีปริมาณโปรตีนสูงที่สุด คือ มีค่าเท่ากับร้อยละ 59.7 โดยน้ำหนักแห้ง ส่วนดักแด้ไหมมีปริมาณโปรตีนต่ำที่สุดคือมีค่าเท่ากับร้อยละ 38.9 โดยน้ำหนักแห้ง (P<0.05) สำหรับปริมาณไขมันของแมลงพบว่ามีค่าอยู่ระหว่างร้อยละ 6.4-29.6 โดยน้ำหนักแห้ง แมลงทุกชนิดพบว่ามีกรดไขมันที่จำเป็น (linoleic acid และ α-linolenic acid) โดยกรดไขมัน linoleic acid และ α-linolenic acid มีค่าอยู่ระหว่าง 88.63-1970.29 และ 42.01-1537.99 มิลลิกรัม/ 100 กรัมของตัวอย่างตามลำดับ พบว่าแมลงตับเต่ามีปริมาณกรดไขมัน Linoleic acid สูงที่สุดคือมีค่าเท่ากับ 1970.29 มิลลิกรัม/ 100 กรัมของตัวอย่าง ส่วนจิ้งหรีดมีปริมาณกรดไขมัน α-linolenic acid สูงที่สุดคือมีค่าเท่ากับ 1537.99 มิลลิกรัม/ 100 กรัมของตัวอย่าง(P<0.05) จากผลการศึกษาแสดงว่าแมลงเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีนและกรดไขมันที่จำเป็น

Subjectแมลง. แมลง -- แง่โภชนาการ