Author : วัฒนณรงค์ มากพันธ์ และคนอื่นๆ.
Source : วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 22, 2 (พ.ค.- ส.ค. 2563) 116-122
Abstract : งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณก๊าซชีวภาพจากเศษอาหาร 3 ประเภท ได้แก่ โปรตีน (เนื้อสัตว์), วิตามิน (ผักผลไม้) และคาร์โบไฮเดรต (ข้าว) ในชุดถังหมักขนาด 02 ลิตร ดังนี้ ถังหมักโปรตีน ถังหมักวิตามินและถังหมักคาร์โบไฮเดรต ทำการศึกษาก๊าซชีวภาพจากเศษอาหารโดยกระบวนการหมักแบบไร้ออกซิเจน ระยะเวลาทดลอง 40 วัน ที่อุณหภูมิแวดล้อมปกติ ซึ่งก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นถูกเก็บไว้ในถังเก็บก๊าซ วัดปริมาตรก๊าซด้วยการแทนที่น้ำและนำไปวิเคราะห์หาองค์ประกอบก๊าซชีวภาพด้วยเครื่องก๊าซโครมาโตกราฟี (Gas Chromatography : GC) ผลการศึกษาพบว่าถังหมักที่ให้ปริมาณก๊าซชีวภาพที่ดีที่สุดคือ ถังหมักโปรตีน (เนื้อสัตว์: มูลสุกร : กากน้ำตาล : น้ำ) อัตราส่วนระหว่าง 3:1:1:12 โดยปริมาตร ซึ่งให้ปริมาณก๊าซชีวภาพมากที่สุด 8.8277×12-4 ลูกบาศก์เมตร และมีองค์ประกอบก๊าซมีเทนเฉลี่ย 13.70 เปอร์เซ็นต์ถือได้ว่าเศษอาหารเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถสร้างพลังงานในรูปของก๊าซมีเทน (CH4) ได้.


Subject : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี -- วิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี -- วิจัย. ก๊าซชีวภาพ. การหมัก. พลังงานทดแทน. อาหาร -- การเน่าเสีย. เศษเหลือจากพืช. ก๊าซมีเทน