pea-crab-152523.jpg - 128.30 kB

Author : กมลชนก วงศ์อิสรกุล.
Source : วารสาร อพวช. 218, 19 (ส.ค. 2563) 78-80
Abstract : ปูถั่ว หรือ pea crab หรือที่เรียกว่า oyster crab มักถูกพบในหอยนางรม เป็นปูที่มีกระดองค่อนข้างกลม ลำตัวนิ่ม มีสีขาวออกเหลือง หรือครีม ปูถั่วพึ่งพาหอยนางรมในการใช้ชีวิต เป็นความสัมพันธ์แบบปรสิต (parasitism) ปูถั่วไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ในต่างประเทศที่มีการเพาะเลี้ยงหอยชายฝั่ง มักพบปูถั่วเป็นประจำ มีการนำมาทำปูถั่วชุบแป้งทอดกับซอสดิปหลากหลายสูตร.


Subject : ปู. หอยนางรม. อาหารทะเล. อาหาร.
แหล่งที่มาของภาพ : https://gardenandgun.com

Source : วารสารบรรจุภัณฑ์ไทย 30, 141 (พ.ค.-มิ.ย. 2563) 30-32
Abstract : ในยุคปัจจุบันที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมอาหารต้องพลิกโฉมเทคโนโลยีการผลิตและถนอมอาหารด้วยเทคโนโลยี MATS (Microwave Assist Thermal Sterilization) เพื่อรองรับวิถีชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่อยู่กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และการใช้ชีวิตที่เร่งรีบ ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะใช้คลื่นไมโครเวฟและความร้อนในการฆ่าเชื้อในผลิตภัณฑ์อาหาร ทำให้กระบวนการผลิตอาหารสั้นลงกว่าเดิมมาก จึงรักษาคุณค่าทางโภชนาการ รสชาติ สีสัน กลิ่น และรสสัมผัสของอาหารให้เหมือนปรุงสุกใหม่และเก็บรักษาอาหารไว้ได้นานยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ผลิตอาหารสามารถสร้างสรรค์อาหารพร้อมรับประทานที่เพียงแค่นำเข้าอุ่นไมโครเวฟหรือแช่น้ำร้อน ก็สามารถรับประทานได้ทันที.


Subject : อาหาร. เทคโนโลยีการผลิตอาหาร. นวัตกรรมทางเทคโนโลยี. การถนอมอาหาร. ไมโครเวฟ. ผลิตภัณฑ์อาหาร.

plastic-waste-152565.jpg - 197.00 kB

Author : สุมาลี ทั่งพิทยกุล.
Source : วารสารบรรจุภัณฑ์ไทย 30, 141 (พ.ค.-มิ.ย. 2563) 26-27
Abstract : การรีไซเคิลพลาสติก คือ กระบวนการแปรรูปขยะพลาสติกให้อยู่ในรูปแบบที่นำไปใช้งานต่อได้ แต่มีข้อระวังสารเคมีอันตรายในกระบวนการรีไซเคิล ซึ่งสหรัฐอเมริกาได้พัฒนากระบวนการรีไซเคิลพลาสติกที่เคยใช้บรรจุอาหารแล้วนำมาผลิตภาชนะบรรจุอาหารใหม่ ตามหลักที่ดีในการผลิต (Good Manufacturing Practice : GMP) โดยมรกระบวนการรีไซเคิลทางกายภาพ ประกอบด้วย การล้างด้วยสารละลายด่าง การทำให้แห้ง การนำมาหลอมใหม่ การขึ้นรูปใหม่ และกระบวนการทางเคมี สำหรับทำให้โพลิเมอร์ของพลาสติกแตกเป็นโมเลกุลเล็กๆ การทำให้วัสดุที่ใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นบริสุทธิ์และนำสารเริ่มต้นมาโพลิเมอไรซ์ใหม่ ซึ่งพลาสติกที่รีไซเคิลเรียบร้อยแล้ว ต้องมีสมบัติไม่ต่างจากพลาสติกใหม่ และเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดตามที่ได้อนุญาตแล้วแต่ละชนิดของพลาสติก ได้แก่ สารที่ระบุใน 21 CFR 174-179 สารที่ผ่านกระบวนการอนุญาตตาม Food Contact Substances Notification (FCN) Threshold of Regutation (TOR) Exemption (21 CFR 170.39).


Subject : พลาสติก. ภาชนะบรรจุอาหาร. ภาชนะพลาสติก. พลาสติก – การนำกลับมาใช้ใหม่.
แหล่งที่มาของภาพ : https://pixabay.com

Durian_-_152558.jpg - 287.32 kB

Author : ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต.
Source : วารสารบรรจุภัณฑ์ไทย 30, 142 (ก.ค.-ส.ค. 2563) 20-25
Abstract : ศูนย์การบรรจุหีบห่อไทยสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ได้พัฒนา 3 นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ผลไม้สดส่งเสริมการขายออนไลน์ ได้แก่ นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์กล่องเก็บทุเรียนล็อคกลิ่นได้ 100 เปอร์เซ็นต์ บรรจุภัณฑ์เพื่อการจำหน่ายมะม่วงออนไลน์ และบรรจุภัณฑ์อัจฉริยะบ่งชี้ความปลอดภัยปริมาณซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในลำไย เพื่อตอบสนองการตลาดออนไลน์ที่เกษตรกรหรือผู้ผลิตสามารถขายสินค้าด้วยตนเอง แต่ยังมีข้อจำกัด เช่น ไม่มีบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานในการป้องกันความเสียหาย ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการพัฒนานวัตกรรมดังกล่าวโดยใช้แนวคิดการออกแบบแบบองค์รวม หรือ Holistic design and development ได้แก่ ความสะดวกในการบรรจุและใช้งาน ความสวยงามเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังต้องมีความแข็งแรง ดูดซึมน้ำต่ำ รูปแบบและขนาดประหยัดพื้นที่และสอดคล้องกับระบบลำเลียงขนส่ง อีกทั้งมีการพัฒนารูปแบบฉลากเปลี่ยนสีได้เป็นต้นจึงถือได้ว่านวัตกรรมดังกล่าวเป็นคำตอบให้กับเกษตรกร ผู้ประกอบการและผู้บริโภคอย่างเป็นรูปธรรม.


Subject : ผลไม้. บรรจุภัณฑ์อาหาร. ผลไม้ -- การส่งออก. ผลไม้ -- การบรรจุหีบห่อ. การบรรจุเพื่อขนส่ง. บรรจุภัณฑ์.
แหล่งที่มาของภาพ : www.technologychaoban.com