Title : 5 แนวโน้มผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มปี 2020-2021 (Top Five Food & Beverage Trends in 2020-2021)

        ปัจจุบันผู้บริโภคต่างหันมาให้ ความสำคัญกับการรักษาสุขภาพเพิ่มมากขึ้น และมีความหวังที่จะใช้อาหารเป็นส่วนหนึ่งของการเสริมสร้างร่างกาย ให้แข็งแรงเพียงพอกับการต่อสู้กับโรคภัยต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างไรก็ตาม ความต้องการอาหารของผู้บริโภคก็ยังคงมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับพฤติกรรมและวิถีการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอีกด้วย ดังนั้น แนวโน้มของผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มปี 2020-2021 ที่น่าสนใจจึงประกอบด้วย

1. Plant Based Revolution : ปฏิวัติอาหารจากพืช ผลิตภัณฑ์อาหารจากพืชที่แตกต่างออกไปจากกลุ่มมังสวิรัติ คือ ต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีรูปร่างลักษณะเนื้อสัมผัส และรสชาติเหมือนหรือใกล้เคียงกับวัตถุดิบจากเนื้อสัตว์แต่ผลิตมาจากวัตถุดิบพืช ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เช่น เนื้อจากพืช (Plant Based Meat), ครีมชีสจากพืช (Plant Based Cream Cheese)

2. Eat Pretty : กินเพื่อสวย ผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนช่วยเรื่องความงามของร่างกาย ผม และผิวหนัง เพื่อการยอมรับในสังคมเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของวัตถุดิบหรือสารอาหารที่มีส่วนช่วยรักษารูปร่าง ผม และผิวหนังได้รับความนิยม เช่น L-carnitine ช่วยเผาผลาญพลังงาน Fiber (ใยอาหาร) ช่วยระบบขับถ่าย Protein (โปรตีน) ช่วยสร้างกล้ามเนื้อ Probiotic ช่วยปรับสมดุลร่างกายและผิว สังกะสีและธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงเส้นผม

3. Macronutrient Makeover ผู้บริโภคยุคใหม่เริ่มให้ความสำคัญกับการ เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการตรวจวิเคราะห์หาคุณค่าทางโภชนาการของ สารอาหารที่เป็นส่วนประกอบสำคัญและ แสดงให้เห็นบนฉลากอย่างชัดเจน

4. Hello Hybrids : ผลิตภัณฑ์ลูกผสม ผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันของพันธมิตรธุรกิจในการวิจัยและพัฒนาจนได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ ตัวอย่างผลิตภัณฑ์เช่น เครื่องดื่มโคล่าผสมแอลกอฮอล์ น้ำผลไม้ และอื่นๆ  และขนมปังกรอบเคลือบน้ าพริกเผาน้ำจิ้มไก่

5. Sustain Domain : รักษาสิ่งแวดล้อมอย่างความยั่งยืน ผู้บริโภคต่างหันมาให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะขยะบรรจุภัณฑ์พลาสติก (plastic waste) ที่เหลือทิ้งจากการบรรจุอาหาร ซึ่งจะต้องมีการจัดการอย่างถูกวิธีรวมถึงลดปริมาณการใช้ให้เหลือเท่าที่จำเป็นหรือเลือกใช้วัสดุชนิดอื่นทดแทน รวมไปถึงการลดปริมาณขยะอาหาร (food waste) ที่หมดอายุหรือรับประทานไม่หมดของผู้บริโภค อ่านเพิ่มเติม

Author : มยุรา ปรารถนาเปลี่ยน.

Source : สถาบันอาหาร ฝ่ายส่งเสริมนวัตกรรม. 

แหล่งที่มาของภาพ : freepik.com