กล้วยไข่ เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีตลาดส่งออกสำคัญคือ ญี่ปุ่น สิงค์โปร์และฮ่องกง เนื่องจากเป็นพืชเขตร้อน จึงสามารถปลูกกล้วยไข่ได้ทุกพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะในจังหวัดกำแพงเพชร ถูกขนานนามว่าเป็นเมืองกล้วยไข่ เนื่องจากมีกล้วยไข่เป็นผลไม้ที่เป็นเอกลักษณ์ประจำจังหวัด และเป็นกล้วยไข่ที่ อร่อยขึ้นชื่อที่สุดจนเป็นที่รู้จัก ด้วยผลผลิตมีเปลือกบางผิวตกกระ เนื้อแน่นเหนียว รสชาติหวาน ผลไม่เล็กไม่ใหญ่

         ภัยธรรมชาติหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกกล้วย ไข่ของเกษตรกรก็คือ พายุฤดูร้อน ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อลำต้นและผลผลิตกล้วยไข่ ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์เชี่ยวชาญนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ (ศนก.) นำองค์ความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เข้ามาแก้ปัญหาและตอบโจทย์ให้แก่พี่น้องเกษตรกร ประสบผลสำเร็จในการวิจัยพัฒนากล้วยไข่กำแพงเพชรต้นเตี้ย ที่มีคุณสมบัติ ช่วยสู้พายุฤดูร้อน โดยพบว่าแปลงกล้วยไข่ระยะที่ยังไม่ตกเครืออายุ ต้น 6 เดือน ที่ราดสารพาโคลบิวทราโซล สามารถต้านพายุฤดูร้อนได้ 100% 

        ทั้งนี้คณะ นักวิจัย วว. ได้แนะนำเทคนิคการฟื้นฟู ต้นกล้วยไข่ที่ได้รับความเสียหายจากพายุฤดูร้อนในแปลงวิจัย ดังนี้

1 . การปรับปรุงหน่อข้างให้สมบูรณ์แข็งแรง

2. ทำการตัดใบกล้วยออกหนึ่งในสามในช่วงฤดูฝน เพื่อลดการต้านลม

3. การราดสารซ้ำอีกครั้งในกล้วยอายุต้น 3 เดือนห่าง จากครั้งแรกประมาณ 90 วัน หรือทดลองราดสารในต้นกล้วย ไข่ที่มีอายุน้อยลง ทั้งนี้เพื่อจะผลิตกล้วยไข่ที่มีลักษณะต้นเตี้ยลงและแข็งแรงเพิ่มขึ้นร่วมกับการปรับปรุงระบบการให้ปุ๋ย มาใช้ในการปรับปรุงฟื้นฟูแปลงกล้วยไข่ที่โดนลมพายุ ซึ่งคาดว่าจะฟื้นฟูให้มีผลผลิตเหมือนเดิมในระยะเวลา 4-5 เดือน

กล้วยไข่กำแพงเพชรต้นเตี้ย ที่มีคุณสมบัติช่วยสู้พายุฤดูร้อน เป็นผลการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรมของ วว. ใน การนำ วทน. เข้าไปช่วยแก้ปัญหาให้กับพี่น้อนำมาซึ่งความมั่นคงและยั่งยืนในการประกอบการเกษตรกรรมต่อไป  อ่านเพิ่มเติม 

ที่มาของข้อมูล : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)