ชื่อเรื่อง : การประเมินวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตเซรามิกเพื่อนำมาใช้ผลิตอิฐปูทาง

ผู้แต่ง : İlker Özkan and Zeliha Yayla

แหล่งข้อมูล : CeramicsTECHNICAL  No. 34 2012 P.32-35

บทคัดย่อ (อังกฤษ) : The growing consumption and the increasing use of industrial production cause rapid decreases in natural resources.  On the other hand, the value of production waste is growing every day.  Some ceramic materials such as bricks, roof tiles and floor tiles consist of clays with a wide-ranging overall composition.  Because of this, wastes can be used to produce these materials.  The main goal of this study is to recycle the waste that cause environmental pollution, and evaluate the ceramic production wastes for pavement brick production.  Vitrified ceramic waste and refining waste mud were used for this purpose.  Sanitary-ware waste and refining waste mud were choosen, prepared and shaped by two methods; plastically and pressing.  The brick-making process was simulated at the laboratory scale and the physical properties of the pavement bricks were determined.  Plastically shaped samples had better physical behavior than pressed ones.  The plastically shaped sample that was fired at 1200°C can be used as a pavement brick due to its low water absorption and high bending strength values.

บทคัดย่อ (ไทย) : การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร และการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเป็นเหตุให้ทรัพยากรธรรมชาติลดน้อยลง  แต่ในอีกด้านหนึ่ง ก็ทำให้ปริมาณของเสียหรือวัสดุเหลือทิ้งจากการผลิตเพิ่มขึ้นทุกวัน  ซึ่งวัสดุเหลือทิ้งเหล่านี้ล้วนมีมูลค่า สามารถนำกลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลได้  และด้วยเหตุที่วัสดุเซรามิกบางชนิด เช่น อิฐ กระเบื้องมุงหลังคา และกระเบื้องปูพื้น ประกอบไปด้วยดินเหนียวที่มีองค์ประกอบโดยรวมที่หลากหลาย จึงสามารถนำวัสดุเหลือทิ้งมาใช้ในการผลิตเซรามิกได้  เป้าหมายหลักของการศึกษาครั้งนี้ คือการรีไซเคิลวัสดุเหลือทิ้ง ซึ่งวัสดุเหลือทิ้งนั้นเป็นต้นเหตุของมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม  และการประเมินวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิตเซรามิกเพื่อนำมาใช้ผลิตอิฐปูทาง  ซึ่งได้เลือกวัสดุเหลือทิ้งจากเซรามิกที่แข็งตัวแล้ว และดินโคลนเซรามิกเนื้อละเอียดมาเตรียม และขึ้นรูปด้วยกรรมวิธี 2 วิธี คือ การหล่อ และการอัด  ซึ่งกระบวนการทำอิฐนี้ได้จำลองขึ้นในระดับห้องปฏิบัติการ  และมีการวัดคุณสมบัติต่างๆ ทางกายภาพของอิฐปูทาง  โดยพบว่า ชิ้นงานที่ขึ้นรูปโดยการหล่อมีลักษณะทางกายภาพดีกว่าชิ้นงานที่ขึ้นรูปโดยการอัด  และชิ้นงานที่ขึ้นรูปโดยการหล่อแล้วนำไปเผาด้วยความร้อน 1,200°C สามารถนำมาใช้ทำอิฐปูทางได้เนื่องจากมีการดูดซึมน้ำต่ำ และมีค่าความทนทานต่อการหักสูง

ชนิดวัสดุเหลือใช้ : Ceramic

ประเภทเอกสาร : Journal

หมายเหตุ : หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อได้ที่ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. หรือ โทร 02-201-7252