ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 5943 (พ.ศ. 2563) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมจุลชีววิทยาของห่วงโซ่อาหาร - การเตรียมตัวอย่างทดสอบ ตัวอย่างแขวนลอยเริ่มต้น และตัวอย่างเจือจางสิบเท่า สำหรับการตรวจสอบทางจุลชีววิทยา - เล่ม 3 กฎเฉพาะสำหรับการเตรียมตัวอย่างสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 18 ง (25 มกราคม พ.ศ. 2564) หน้า 26 (ท้ายประกาศ 2 หน้า)

http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/018/T_0026.PDF

รายละเอียด/ขอบข่าย : มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมนี้

- กำหนดขึ้นโดยรับ ISO 6887-3:2017/Amd.1:2020 (E) Microbiology of the food chain — Preparation of test samples, initial suspension and decimal dilutions for microbiological examination — Part 3: Specific rules for the preparation of fish and fishery products มาใช้ โดยวิธีพิมพ์ซ้ํา (reprinting) ในระดับ
เหมือนกันทุกประการ (identical) โดยใช้ ISO ฉบับภาษาอังกฤษเป็นหลัก

- กำหนดกฎเฉพาะสำหรับการเตรียมตัวอย่างสัตว์น้ำและผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และตัวอย่างแขวนลอย สำหรับการทดสอบจุลินทรีย์ เมื่อตัวอย่างต้องเตรียมต่างจากวิธีที่กำหนดไว้ใน ISO 6887-1 กำหนดกฎเกณฑ์ทั่วไปสำหรับเตรียมตัวอย่างแขวนลอยเริ่มต้น และตัวอย่างเจือจางสิบเท่าสำหรับการทดสอบจุลินทรีย์

- ประกอบด้วยขั้นตอนพิเศษสำหรับการเก็บตัวอย่างแบบดิบของมอลลัสก์ (mollusc) ทูนเิคต (tunicate) และเอคิโนเดิร์ม (echinoderm) จากบริเวณการผลิตขั้นต้น

- ไม่ครอบคลุมการเตรียมตัวอย่างทดสอบสำหรับวิธีการนับและการตรวจหา ซึ่งมีรายละเอียดระบุไว้ในมาตรฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง (เช่น ISO/TS 15216-1 และ ISO/TS 15216-2 สำหรับการหาไวรัสตับอักเสบเอและโนโรไวรัสในอาหาร โดยใช้วิธีเรียลไทม์ อาร์ที-พีซีอาร์ real-time RT-PCR)

- สามารถประยุกต์ใช้กับผลิตภัณฑ์แบบดิบ ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการแปรรูปหรือแช่เยือกแข็ง

ก) ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแบบดิบ มอลลัสก์ ทูนิเคตและเอคิโนเดิร์ม รวมทั้ง
- ปลาทั้งตัวหรือแล่ ที่มีหรือไม่มีหนัง หัว และเครื่องใน
- ครัสเตเชียน (crustacean) ทั้งตัวหรือแกะเปลือก
- เซฟาโลพอด (cephalopod)
- ไบวัลฟ์มอลลัสก์ (bivalve mollusc)
- แกสโทรพอด (gastropod)
- ทูนิเคตและเอคโินเดิร์ม

ข) ผลิตภัณฑ์ที่ผ่านกระบวนการแปรรูป รวมทั้ง
- ปลาทั้งตัวหรือแล่ ที่มีหรือไม่มีหนัง รมควัน
- ครัสเตเชียน มอลลัสก์ ทูนิเคตและเอคิโนเดิร์มทั้งตัวหรือแกะเปลือกที่ผ่านการทำให้สุกหรือกึ่งสุก
- ปลา หรือผลิตภัณฑ์ที่มีปลาเป็นส่วนประกอบหลัก ที่ผ่านการทำให้สุกหรือกึ่งสุก

ค) ปลา ครัสเตเชียน มอลลัสก์และอื่น ๆ แบบดิบหรือแบบสุก แช่เยือกแข็ง
- ปลา ปลาแบบแล่และแบบเป็นชิ้น
- ครัสเตเชียน (เช่น ปูชิ้นเล็ก กุ้ง) มอลลัสก์ ทูนิเคตและเอคิโนเดิร์มทั้งตัวหรือแกะเปลือก

หมายเหตุ วัตถุประสงค์ของการทดสอบกับตัวอย่างนี้สามารถเป็นการทดสอบทางด้านสุขลักษณะ (hygiene testing) หรือการควบคุมคุณภาพ อย่างไรก็ตาม เทคนิคการชักตัวอย่างในมาตรฐานนี้เกี่ยวข้องกับการทดสอบทางด้านสุขลักษณะเป็นหลัก (สำหรับเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ)

หมายเลขมาตรฐาน : มอก. 2805 เล่ม 3 - 2563