ชื่อบทความ : อาหารที่มีสารพิษตกค้าง

หมายเลข : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 พ.ศ. 2560

ชื่อเอกสาร : ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 228 ง (18 ก.ย.60) หน้า 8-10 (ท้ายประกาศ 33 หน้า) (เอกสารภาษาไทย ชั้น 5)  Full-Text

ขอบข่าย : ข้อ 1 ให้ยกเลิก (1) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง ลงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554 (2) ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 361) พ.ศ. 2556 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง (ฉบับที่ 2) ลงวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556 ข้อ 2 ให้อาหารที่มีสารพิษตกค้าง เป็นอาหารที่กาหนดมาตรฐาน ข้อ 3 ในประกาศนี้ “สารพิษตกค้าง (pesticide residue)” หมายความว่า สารตกค้างในอาหารที่เกิดจากการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร และให้หมายความรวมถึงกลุ่มอนุพันธ์ของวัตถุอันตรายทางการเกษตรนั้น ได้แก่ สารจากกระบวนการเปลี่ยนแปลง (conversion products) สารจากกระบวนการสร้างและสลาย (metabolites) สารจากการทำปฏิกิริยา (reaction products) และสารที่ปนอยู่ในวัตถุอันตราย ทางการเกษตร (impurities) ที่มีความเป็นพิษอย่างมีนัยสาคัญ “ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด (Maximum Residue Limit; MRL)” หมายความว่า ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่มีได้ในอาหาร อันเนื่องมาจากการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตร มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมสารพิษตกค้างต่อกิโลกรัมอาหาร “ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่ปนเปื้อนจากสาเหตุที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ (Extraneous Maximum Residue Limit; EMRL)” หมายความว่า ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุดที่มีได้ในอาหาร อันเนื่องมาจากสารพิษตกค้างที่ปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อม รวมสารพิษตกค้างจากวัตถุอันตรายทางการเกษตร ที่เคยใช้มาก่อนและถูกยกเลิกการขึ้นทะเบียนการใช้ในประเทศแล้ว แต่เป็นสารพิษที่สลายตัวช้า จึงปนเปื้อนหรือสะสมในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน มีหน่วยเป็นมิลลิกรัมสารพิษตกค้างต่อกิโลกรัมอาหาร . . .

หมายเหตุ : ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 พ.ศ. 2560 เรื่อง อาหารที่มีสารพิษตกค้าง