คำตอบ

เศษกุ้ง (เปลือก หัว หาง) ส่วนใหญ่ประกอบด้วย แคลเซียม ไคติน โปรตีนสี และสารอินทรีย์ต่าง ๆ สามารถนำไปสกัดสารที่มีประโยชน์ เช่น ไคติน ไคโตซาน แคลเซียม สี หรือนำไปผสมอาหารสัตว์เนื่องจากมีโปรตีน หรือนำไปทำซอส และจากการเก็บรักษาเศษกุ้งพบว่า หัวกุ้งหากนำไปแช่เย็นหรือเก็บในสารละลายด่างก่อนนำมาสกัดแยกโปรตีนด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ความเข้มข้นร้อยละ 4 จะได้ผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นหอม เหมาะสำหรับนำไปเสริมแต่งในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น กะปิ น้ำปลา ส่วนเปลือกกุ้ง ควรเก็บรักษาก่อนการสกัดโดยการแช่เย็น หรืออบแห้ง ก่อนสกัดแยกแคลเซียมด้วยสารละลายกรดเกลือ ความเข้มข้นร้อยละ 4 เปลือกกุ้งได้ไคตินในรูปของไคโตแซนร้อยละ 5 ของน้ำหนักสด สีเปลือกกุ้งสกัดได้ด้วยเอทานอล
ก่อนการสกัดแยกโปรตีนและไคติน

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

1. ผลิตภัณฑ์จากการย่อยสลายของเศษกุ้ง. รายงานกิจกรรมกรมวิทยาศาสตร์บริการ ปีที่ 53 (2538) หน้า 176-189

2. เทคโนโลยีผลิตโปรตีนเข้มข้นจากหัวกุ้งแบบครบวงจรแห่งแรกของประเทศไทย. จดหมายข่าว วว. 7, 12(ธ.ค. 2547) หน้า 8

3. การใช้ประโยชน์จากเศษเหลือของกุ้ง. ชาวชมรมเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมเพื่อธุรกิจ  5,2 (เม.ย.-มิ.ย.2542) หน้า 1-4