คำตอบ

เกราะกันกระสุน มีหลายชนิด เช่น แผ่นเกราะสอดส่วนบุคคล โล่ป้องกันระดับบุคคล ฉากป้องกันอาวุธ และเกราะยานยนต์ เกราะต่างๆเหล่านี้อาจเป็นไปได้ทั้งเกราะแข็ง และเกราะอ่อน 
การพัฒนาเกราะในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะเลือกใช้วัสดุที่เบา และออกแบบให้สามารถรับมือกับอาวุธที่มีอำนาจการทำลายล้าง และการทะลุทะลวงสูงขึ้นเรื่อยๆ เซรามิกซึ่งมีจุดเด่นที่มีน้ำหนักเบาและแข็งจึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ โดยมีการนำแผ่นสอด(insert) ที่ทำมาจากแผ่นเซรามิกประกอบร่วมกับโพลิเมอร์และจัดเรียงเป็นคอมโพสิท โดยที่เซรามิกด้านหน้าทำหน้าที่รับแรงกระแทกจากกระสุน ส่วนโพลิเมอร์ด้านหลังทำหน้าที่ดูดซับพลังงานที่เหลือ แผ่นสอดนี้ใช้สำหรับสอดเข้าไปในเสื้อเกราะอ่อน เพื่อเพิ่มระดับการป้องกันภัยคุกคามของเกราะกันกระสุนให้เป็นระดับ 3 หรือ 4 ทำให้สามารถป้องกันภัยคุกคามของเกราะกันกระสุนได้ เซรามิกซึ่งอยู่ด้านที่รับกระสุนจะทำให้กระสุนแตกออกเป็นชิ้นเล็ก และโพลิเอทิลีนคอมโพสิตหรือโลหะด้านหลังจะทำหน้าที่รับแรงกระแทก ลดความเร็วของ ชิ้นส่วนกระสุนที่แตกออก และช่วยลดหรือจำกัดผลของอาการช้ำในหรือกระดูกแตกร้าว (blunt trauma)

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

กรรณิการ์ เดชรักษา. เกราะกันกระสุน. เทคโนโลยีวัสดุ. ฉบับที่ 74 (กรกฎาคม-กันยายน) 2557, หน้า 60-61.