คำตอบ

การบ่งชี้ความเป็นอันตราย  เป็นการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ทราบว่าสารเคมีที่กำลังสนใจอยู่นั้นมีความเป็นพิษ หรืออันตรายมากน้อยเพียงใด และเป็นอันตรายในลักษณะใด  โดยจะพิจารณาหรือตัดสินความเป็นอันตรายตามน้ำหนักของหลักฐาน (Weight of evidence) ทั้งในแง่คุณภาพและความเพียงพอของหลักฐานที่มีอยู่ทั้งหมด  ข้อมูลหรือหลักฐานที่จำเป็นสำหรับการบ่งชี้ความเป็นอันตราย ได้แก่ 
1.คุณสมบัติของสารเคมีหรือสารพิษ ปริมาณที่ได้รับความเป็นพิษของสาร
2.วิถีทางและรูปแบบของการได้รับสารเข้าสู่ร่างกาย (Route of exposure) เช่น การได้รับทางปากโดยการดื่มน้ำที่มีสารปนเปื้อน
3. ระยะเวลาการได้รับสาร ปริมาณ ความถี่ และช่วงระยะเวลาที่ได้รับสาร
4. ข้อมูลจากการศึกษาทางวิทยาการระบาด (Epidemiologic studies) เป็นการศึกษารูปแบบการเกิดโรคในมนุษย์ รวมถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเกิดโรคนั้น
5. ข้อมูลการศึกษาในสัตว์ทดลอง สารเคมีเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้นที่มีข้อมูลความเป็นพิษในมนุษย์อย่างชัดเจน จึงจำเป็นต้องอาศัยการศึกษาในสัตว์ทดลอง เพื่อประเมินผลต่อสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งมีหลายลักษณะ เช่น การทดสอบความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน การทดสอบแบบกึ่งเรื้อรัง การทดสอบแบบระยะยาว

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ศุภวรรณ  เกตุอินทร์.  การประเมินความเสี่ยงด้านสารเคมี.  วารสารอาหารและยา. ปีที่ 17, ฉบับที่ 1,  (มกราคม-เมษายน) 2553, หน้า 4-5.