English TitleRipe before almost ripe and stop ripe.
Author : จินตนา เขมาวุฆฒ์
Sourceวารสาร สสวท ปีที่ 16 ฉบับที่ 2 ว/ด/ป เม.ย - มิ.ย. 2531 หน้า 43-46
Abstract : การบ่มผลไม้คือการเร่งกระบวนการสุกให้เกิดเร็วขึ้นกว่าการปล่อยให้สุกตามธรรมชาติ มีหลายวิธีดังนี้ 1. ใช้อุณหภูมิสูงพอควรจะช่วยให้มีการสร้างเอทิลีนมาก จึงควรห่อหรือคลุมผลไม้ด้วยกระสอบ กระดาษ ใบไม้ ฟางข้าว มีปริมาณออกซิเจนเพียงพอ ทำให้เกิดปฏิกิริยา การหายใจของผลไม้ 2. ใช้สารอื่นที่มีสมบัติคล้ายเอทิลีน เช่น อะเซทิลีน 3. รมด้วยควันไฟภายในภาชนะที่ปิด แต่ระบายอากาศได้บ้าง ส่วนการชะลอการสุกคือต้องยับยั้งการทำงานของเอทิลีน โดยวิธี เพิ่มปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น ทำให้ลดอัตราการสร้างเอทิลีน การใช้สารดูดซับเอทิลีนที่รู้จักกันดี คือ ด่างทับทิม เก็บในที่มีอุณหภูมิต่ำ การเคลือบด้วยขี้ผึ้ง การฉายรังสีแกมมา ในทางการค้านิยมใช้วิธีชะลอการสุกหลายวิธีร่วมกัน ซึ่งจะช่วยยืดอายุการเก็บได้นานกว่าการใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง เช่น ใช้สารดูดซับเอทิลีนควบคู่กับการเก็บผลไม้ไว้ในตู้เย็น หรือนำผลไม้ที่ผ่านการเคลือบด้วยขี้ผึ้งหรือฉายรังสีมาเก็บในตู้เย็น การจะเลือกใช้วิธีใด ต้องคำนึงปัจจัยหลายประการ เช่น งบประมาณ การลงทุน แหล่งวัตถุดิบ วิธีการที่เหมาะสมกับผลไม้แต่ละชนิด

Subjectผลไม้--การบ่ม