Rubber_gloves_-_152086.jpg - 157.11 kB

Author : อรวรรณ ปิ่นประยูร, อรสา อ่อนจันทร์ และภัณฑิลา ภูมิระเบียบ.
Source : วารสารผลงานวิชาการกรมวิทยาศาสตร์บริการ 9, 9 (ส.ค. 2563) 49-57
Abstract : งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของสารที่ใช้ในการสกัดต่อปริมาณไนโตรซามีนที่เคลื่อนย้ายออกมาจากถุงมือยางมาสัมผัสผู้สวมหรือปนเปื้อนลงในอาหารที่ถูกสัมผัส โดยการวิเคราะห์ไนโตรซามีน 12 ชนิด คือ NDMA, NDEA, NDPA, NDiBA, NDBA, NPIP, NPYR, NMOR, NEPhA, NMPhA, NDiNA, และ NDBzA ในถุงมือยางทางการแพทย์หรือถุงมือยางสำหรับงานบ้านทั่วไปทั้งที่ผลิตจากยางธรรมชาติหรือยางสังเคราะห์ไนไตร์ลเพื่อใช้ในงานด้านอาหาร โดยการสกัดด้วยสารละลายน้ำลายเทียม เหงื่อเทียม และสารตัวแทนอาหารที่มีสมบัติเป็นกรดและอัลกอฮอล์ โดยใช้เทคนิค GC-TEA ผลการศึกษาพบว่าเมื่อใช้สารสกัดต่างชนิดกันปริมาณไนโตรซามีนที่เคลื่อนย้ายออกจากถุงมือมีปริมาณต่างกัน ซึ่งส่งผลถึงการพิจารณาว่าถุงมือยางมีปริมาณไนโตรซามีนเป็น ไปตามเกณฑ์กำหนดด้านความปลอดภัยของสหภาพยุโรปหรือไม่ และเมื่อสกัดถุงมือในสภาวะจำลองที่คาดว่าไนโตรซามีนจะ เคลื่อนย้ายออกมาได้มากที่สุดพบว่ามีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของไนโตรซามีนลงในอาหาร ในขณะที่ผู้สวมถุงมือก็มีโอกาสได้รับไนโตรซามีนเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่อาจเป็นอันตราย ดังนั้นการใช้ถุงมือยางในงานด้านอาหารควรเลือกใช้ถุงมือชนิดที่ได้รับการทดสอบคุณภาพว่าปลอดภัยสำหรับใช้งานด้านอาหารแล้วเท่านั้น


Subject : อาหาร. ถุงมือยาง. การปนเปื้อนในอาหาร. วัสดุสัมผัสอาหาร.

แหล่งที่มาของภาพ : https://www.matichonacademy.com