คำตอบ

ประเมินคาร์บอนฟุตพริ้น มีความแตกต่างกันไปตามมาตรฐาน หรือข้อกำหนดในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทย การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ จะพิจารณาเฉพาะก๊าซเรือนกระจก 6 ชนิด คือ คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) มีเทน (CH4) ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PFCs) ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ (SF)
การคำนวณ คาร์บอนฟุตพริ้นของผลิตภัณฑ์ ของประเทศไทย มีขอบเขตการคำนวณและขอใช้ฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ได้ 2 รูปแบบ คือ
1. B-2-C (business to customer) เป็นการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมกระบวนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ การผลิต การใช้งาน การากำจัดซากผลิตภัณฑ์ หลังการใช้งาน การประเมิน B-2-C นี้สามารถขอใช้และติดฉลากคาร์บอนฟุตพริ้นท์ลงบนผลิตภัณฑ์ได้
2. B-2-C (business to business) เป็นการประเมินปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมกระบวนการได้มาซึ่งวัตถุดิบ การผลิต จนได้เป็นผลิตภัณฑ์พร้อมส่งออก หรือส่งไปเป็นวัตถุดิบให้ผู้อื่นผลิตต่อเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ต่อไป การประเมินแบบนี้สามารถขอใช้ฉลากได้ สามารถเปิดเผยข้อมูล คาร์บอนฟุตพริ้นท์บนเว็บไซต์ แคตตาล็อค หรือเอกสารประชาสัมพันธ์ได้ แต่ไม่สามารถติดฉลากลงบนผลิตภัณฑ์ได้

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

พรพิมล บุญคุ้ม.  “คาร์บอนฟุตพริ้นท์ใครว่าไกลตัว”. Technology Promotion.  ปีที่ 37, ฉบับที่ 213, (ตุลาคม-พฤศจิกายน) 2554, หน้า 91.