การวิจัยล่าสุดนี้นำโดยแคทธรีน่า แฮงเคอ (Katharina Henke) อาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเบิร์น ในสวิสเซอร์เเลนด์ เเละผู้ก่อตั้งศูนย์เพื่อความคิดอ่าน การเรียนรู้ เเละความทรงจำ (Center for Cognition, Learning and Memory)

ทีมนักวิจัยทำการทดลองหลายครั้งกับกลุ่มชายหนุ่มเเละหญิงสาวที่พูดภาษาเยอรมัน
ในระหว่างการนอนหลับทั่วไป เซลล์ในสมองของคนเราจะสลับไปมาระหว่างการตอบสนองเเละการไม่ตอบสนอง การทดลองของทัมนักวิจัยในสวิสเซอร์เเลนด์นี้มุ่งเน้นที่ช่วงการนอนหลับสนิทที่เรียกว่า "up-states" ซึ่งทีมนักวิจัยบอกว่าเป็นช่วงที่ดีที่สุดการการเรียนรู้ขณะนอนหลับ
ทีมนักวิจัยเผ้าสังเกตุผู้เข้าร่วมการทดลองเเต่ละคนในสภาพเเวดล้อมที่ได้รับการควบคุมในห้องทดลอง เเละบันทึกกิจกรรมของสมองขณะที่เปิดเสียงคำศัพท์สองคำให้ฟังขณะนอนหลับสนิท คำศัพท์คำหนึ่งเป็นคำในภาษาเยอรมันที่มีอยู่จริง เเละอีกคำหนึ่งเป็นคำศัพท์ภาษาต่างประเทศที่อุปโลกน์ขึ้น
คำศัพท์เเต่ละคำจะเปิดให้อาสาสมัครที่นอนหลับสนิทฟังคำละสี่ครั้ง โดยทุกครั้งจะเปิดสลับกัน ไม่ให้เหมือนเดิม จุดประสงค์คือการสร้างความทรงจำที่ถาวรระหว่างคำศัพท์ภาษาต่างประเทศที่อุปโลกน์ขึ้น กับคำศัพท์ภาษาเยอรมันที่อาสาสมัครรู้จักเเละสามารถระบุได้เมื่อตื่นนอน
เเละเมื่ออาสาสมัครตื่นนอน ทีมนักวิจัยให้พวกเขาฟังและดูคำศัพท์ภาษาต่างประเทศที่อุปโลกน์ขึ้นนี้ โดยพวกเขาต้องทดสอบความจำเกี่ยวกับคำศัพท์ที่ได้ฟังขณะนอนหลับ
ระหว่างการทดลองส่วนนี้ ทีมนักวิจัยใช้เทคโนโลยีวัดคลื่นสมองเพื่อศึกษากิจกรรมของสมองอาสาสมัครบางคนขณะตอบคำถาม
ผลการทดลองพบว่าอาสาสมัครส่วนใหญ่ตอบคำถามเกี่ยวกับคำศัพท์ที่สมองได้เรียนรู้ขณะนอนหลับได้อย่างถูกต้องกว่าที่คาดเอาไว้ แม้เเต่เป็นการตอบด้วยการเดา
ทีมนักวิจัยบอกว่า อาสาสมัครจำได้ดีมากที่สุดหากเปิดคำศัพท์ทั้งคู่ให้ฟังในช่วงที่กำลังนอนหลับสนิท
ทีมนักวิจัยชี้ว่าจำเป็นต้องมีการศึกษาวิจัยเรื่องนี้เพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนผลการวิจัยครั้งล่าสุด อย่างไรก็ตาม การทดลองดังกล่าวช่วยให้ทีมนักวิจ้ยมีหลักฐานใหม่ที่ชี้ว่าความทรงจำสามารถเกิดขึ้นได้ เเละการเรียนรู้คำศัพท์เกิดขึ้นได้ทั้งในขณะที่เราตื่นอยู่เเละในขณะที่เรานอนหลับ

ที่มา :  Voice of America 7 มีนาคม 2562  [https://www.voathai.com/a/su-sleep-english/4811141.html]