“แสงออโรรา” (Aurora) เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่มีลักษณะการเกิดแนวแสงสว่างสีต่างๆ บนท้องฟ้าในช่วงเวลากลางคืน โดยส่วนมากจะเกิดขึ้นในแถบประเทศที่ตั้งอยู่ในเขตละติจูดสูง คือบริเวณขั้วโลกที่มี อากาศหนาวเย็น ซึ่งหากเกิดบริเวณใกล้ขั้วโลกเหนือ จะเรียกว่า แสงเหนือ (Aurora borealis) และบริเวณใกล้ขั้วโลกใต้ เรียกว่า แสงใต้ (Aurora australis) และปกติแล้วแสงออโรจะปรากฏเป็นแสงสีเขียว เป็นส่วนใหญ่ ในบางครั้งก็เป็นสีแดงหรือสีม่วง

.

แต่ในบางครั้งเราก็สามารถที่จะพบกับ “แสงออโรราสีชมพู” ได้ แต่แสงสีชมพูนั้นไม่สามารถพบได้ง่าย เพราะเป็นปรากฏการณ์เกิดแสงออโรราที่ไม่ปกติจากพายุสุริยะที่รุนแรง

.

Markus Varik

อย่างเช่นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ได้เกิดปรากฏการณ์แสงออโรราสีชมพู ณ เมืองทรอมโซ ประเทศนอร์เวย์โดยผู้ที่บันทึกภาพความสวยงามที่หาชมได้ยากนี้ได้คือ Markus Varikมัคคุเทศก์ของ Greenlander บริษัทนําเที่ยวพาชมแสงเหนือ

.

สำหรับการเกิดแสงออโรราสีชมพู เนื่องจากในสัปดาห์นี้ มีการเกิด พายุสุริยะที่รุนแรงเป็นพิเศษ ทำให้เกิดหลุมในสนามแม่เหล็กของโลก โดยเป็น พายุระดับ G1 ที่ทำให้เกิดหลุมในสนามแม่เหล็กโลก กินเวลานานกว่า หก ชั่วโมง ศูนย์พยากรณ์อากาศขององค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ ได้ออกคําเตือนเกี่ยวกับพายุ G1 ที่อาจเกิดขึ้น และถึงแม้ว่าระดับ 1-5 นั้น จะถือว่าเล็กน้อย แต่ก็ยังเตือนถึงความผันผวนของ โครงข่ายไฟฟ้า ผลกระทบที่อาจเกิดกับดาวเทียม และในส่วนของออโรรานั้น อยู่ในระดับมหากาพย์กันเลยทีเดียว

.

Markus Varik

อนุภาคในอวกาศที่มีประจุจะผ่านเข้ามาในหลุมสนามแม่เหล็กสู่ชั้นบรรยากาศของโลก แล้วทำให้ก๊าซที่อยู่ในชั้นบรรยากาศโลกเกิดการแตกตัวและปลดปล่อยพลังงานในรูปของแสง ซึ่งจะให้แสงสีที่มีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซที่เกิดการแตกตัว โดยที่ออกซิเจนจะให้แสงสีเขียวหรือสีแดง ไนโตรเจนให้สีน้ำเงินหรือสีแดง ดังนั้นแสงสีต่างๆ ที่มองเห็นได้ จึงเกิดจากสีเหล่านี้หรือเกิดการผสมจนเป็นสีที่แปลกไป แสงออโรราส่วนใหญ่ที่พบบ่อยๆ จะปรากฏเป็นสีเขียว หรือในบางครั้งก็เป็นสีแดงหรือสีม่วงเนื่องจากลมสุริยะส่วนใหญ่จะอยู่ที่ความสูง 100 - 240 กิโลเมตรจากผิวโลก ซึ่งเป็นจุดที่มีความเข้มข้นของออกซิเจนสูง และอนุภาคออกซิเจนที่ถูกกระตุ้นนั้น ก่อให้เกิดแสงออโรราสีเขียว

.

Markus Varik

เนื่องจากมีไนโตรเจนในชั้นบรรยากาศ จึงทำให้มันปรากฏเป็นสีชมพู และอนุภาคไนโตรเจนเกิดขึ้นที่ ระดับความ สูง-ต่ำ ประมาณ 100 กิโลเมตรจากผิวโลก ซึ่งลมสุริยะส่วนใหญ่ไปไม่ถึง ดังนั้นการเกิดแสวสีชมพูได้ พายุสุริยะจะต้องมีความรุนแรงเป็นพิเศษ

ที่มา : mgronline https://mgronline.com/science/detail/9650000108057