Author : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร.
Sourceจดหมายข่าวกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ปีที่ 21 ฉบับที่ 12 ว/ด/ป ธ.ค. 2550 หน้า 8
Abstractสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ศึกษาการปนเปื้อนของสารเบนโซ (เอ) ไพรีน (Benzo (a) Pyrene ; B (a) P) ซึ่งเป็นสารในกลุ่มโพลีไซคลิก อะโรมาติก ไฮโดรคาร์บอน (Polycyclic aromatic) ซึ่งเป็นสารที่มีความน่าจะเป็นสารก่อมะเร็ง (Precarcinogen) ทั้งนี้ได้เก็บตัวอย่างอาหารปิ้งย่างในตลาดสด กทม. ได้แก่ หมูปิ้ง ไก่ย่าง และปลาดุกย่าง วิเคราะห์โดยวิธี HPLC Fluorescence detector ตั้งแต่เดือนกันยายน 2550 พบจำนวนตัวอย่างปนเปื้อนคิดเป็นร้อยละ 53, 31 และ 84 ตามลำดับ และปริมาณการปนเปื้อนของหมูปิ้งตั้งแต่น้อยกว่า 0.5-1.0 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ไก่ย่างตั้งแต่น้อยกว่า 0.5-0.7 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และปลาดุกย่างตั้งแต่น้อยกว่า 0.5-3.2 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งปริมาณการปนเปื้อนที่พบต่ำกว่าเกณฑ์ที่กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรือ EU กำหนดไว้ในปี พ.ศ. 2548 โดยกำหนดปริมาณสูงสุดของ B (a) P ในอาหารแต่ละประเภทได้แก่ เนื้อสัตว์ รวมทั้งเนื้อปลารมควัน 5.0 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ผู้บริโภคจึงควรหลีกเลี่ยงอาหารปิ้งย่างที่ไหม้เกรียม การปิ้งย่างควรใช้เนื้อส่วนที่ไม่มีไขมัน ไม่ควรใช้ความร้อนสูง และล้างคราบไหม้เกรียมออกก่อนนำมาใช้ทุกครั้ง.

Subjectอาหารปิ้งย่าง--แง่อนามัย.