อ่านประมวลสารสนเทศพร้อมใช้ฉบับเต็มที่นี่ >> 

บทคัดย่อ :

ปัจจุบันมีผู้นิยมใช้น้ำยาปรับผ้านุ่ม (fabric softener) กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากคำโฆษณาของน้ำยาปรับผ้านุ่มที่ช่วยทำให้ผ้าไม่กระด้าง (antiharshness) ให้ความรู้สึกที่ดีเวลาสัมผัสเสื้อผ้า (fabric hand) ช่วยต้านไฟฟ้าสถิต (anti-static cling) และช่วยให้ผ้ามีกลิ่นหอมนั้น ผู้บริโภคโดยทั่วไปจึงไม่เคยทราบถึงคุณสมบัติอื่นๆ ที่ไม่มีในคำโฆษณา น้ำยาปรับผ้านุ่มมีผลดีและผลเสียต่อผู้สวมใส่เสื้อผ้าและเนื้อผ้าหลายประการ ผลดีต่อผู้สวมใส่เสื้อผ้า ได้แก่ ให้ความรู้สึกที่ดีเวลาสัมผัสเสื้อผ้า ลดไฟฟ้าสถิต ให้กลิ่นหอม ลดการดูดซับน้ำ/เหงื่อ ผลเสียคือ อาจเกิดอาการแพ้ที่ผิว (allergy on the skin) ผลดีต่อเนื้อผ้า ได้แก่ ช่วยรักษารูปทรงของเสื้อผ้า (dimensional stability) ลดรอยย่น (wrinkle recovery) ช่วยกำจัดคราบ (stain release) ช่วยให้ผ้าแห้งเร็วขึ้น ผลเสียต่อเนื้อผ้า ได้แก่ ทำให้เกิดเม็ดขน (pilling) ลดความแข็งแรงของผ้า (fabric strength) ลดความขาว (whiteness) เพิ่มความสามารถในการติดไฟ (flammability) เกิดการจับตัวเป็นก้อน (clump) เหนียวๆ ซึ่งทำให้ผ้าสะอาดน้อยลง วัตถุประสงค์ของการเขียนบทความนี้เพื่อดูผลของการใช้น้ำยาปรับผ้านุ่มชนิดที่ใช้ใส่ในน้ำสุดท้ายของน้ำที่ใช้ล้างผ้า โดยน้ำยาปรับผ้านุ่มที่มีสารประกอบไดไฮโดรจิเนเตต ไดเมทิล แอมโมเนียม(dihydrogenated dimethyl ammonium compounds) จะให้ความนุ่มสูงสุดและสามารถต่อต้านไฟฟ้าสถิตได้ดี เนื่องจากสารนี้มีประจุบวกที่จับอยู่บนผิวของผ้าที่มีประจุลบ ลักษณะที่เป็นน้ำมันของสารประกอบนี้ทำให้ผ้าฝ้ายมีความนุ่ม ส่วนในผ้าใยสังเคราะห์จะสามารถต่อต้านไฟฟ้าสถิตได้

คำสำคัญ: น้ำยาปรับผ้านุ่ม; การต้านไฟฟ้าสถิต; เส้นใยธรรมชาติ
Keywords : Fabric softener; Anti-static cling; Natural fibers