คณะแพทยศาสตร์วิชรพยาบาลบูรณาการความร่วมมือผนึกหน่วยงานเกี่ยวข้องและภาคเอกชนเร่งกู้วิกฤติโควิด-19 เปิด 4 นวัตกรรม ที่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว        

“เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบ -หมวกปรับแรงดันสำหรับห้องผ่าตัด - หน้ากากอนามัยไส้กรอง N99 -ชุดป้องกันส่วนบุคคล PPE” ผศ.อนุแสง จิตสมเกษม รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เปิดเผยว่า หน่วยงานวิจัยของคณะแพทย์ศาสตร์วิชรพยาบาล นำ 4 นวัตกรรม ที่มีการผลิตออกมาใช้งานแล้ว ประกอบด้วย นวัตกรรมแรก เตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบ ปรับมาจากห้องปลอดเชื้อที่ใช้กับคนไข้วัณโรค ปัจจุบันผลิตออกมาแล้ว 11 ตัว ใช้ที่โรงพยาบาลวชิรพยาบาล 2 ตัว และแจกจ่ายให้กับโรงพยาบาลอื่น ในราคาประมาณ 1 แสนกว่าบาท พร้อมทั้งเตรียมการต่อยอดนำนวัตกรรม โดยประสานบริษัท ปตท. และฮอนด้า นำต้นแบบเตียงเคลื่อนย้ายผู้ป่วยแรงดันลบ ไปผลิตต่อ โดยขณะนี้ ปตท. สามารถผลิตกล่อง HEPA Filter ได้เอง ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง รวมถึงอาจมีการปรับเปลี่ยนวัสดุ ซึ่งหากตรวจสอบแล้วสามารถผ่านมาตรฐานวิศวกรรมสถานก็ถือว่าใช้งานได้ โดยคาดว่าจะใช้เวลาในการผลิตเตียงฯ ราว 2 เดือน ให้ออกมาใช้งานได้ 200 ตัว และคาดว่าจะเพียงพอต่อการใช้งานทั้งประเทศ

     นวัตกรรมที่ 2 หมวกปรับแรงดันบวกสำหรับใช้ในห้องผ่าตัด (Powered Air-Purifying Respirator - PAPR) เป็นอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ใช้สวมใส่เพื่อการต่อท่อหายใจให้กับคนไข้ติดเชื้อรุนแรง ตามปกติต้องซื้อจากต่างประเทศ ราคาราว 5 หมื่นบาท แต่คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาลสามารถผลิตได้ด้วยงบประมาณเพียง 2 พันบาท มีจุดต่างเพียงแค่วัสดุคลุมหมวกที่เป็นผ้าใบ แต่คุณภาพการใช้งานไม่ต่างกัน เบื้องต้นสามารถผลิตได้ 300-500 ตัว คาดว่ามีความต้องการใช้ 20 ตัวต่อหนึ่งโรงพยาบาล รวมความต้องการอยู่ในราว 1,000 ตัว โดยหากมีความร่วมมือในการผลิตจะใช้เวลาเพียง 1 เดือน ก็สามารถรองรับความต้องการใช้ได้ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีหลายโรงพยาบาลเริ่มผลิตหลังจากคณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาลเปิดตัวนวัตกรรมนี้ออกไป

      นวัตกรรมที่ 4 ชุดป้องกันส่วนบุคคล PPE เป็นนวัตกรรมการผลิตชุดป้องกันจากเกรด 4 ขึ้นเป็นเกรด 5 หรือ Medical Grade ที่เปลี่ยนวัสดุจากไฟเบอร์ซึ่งเป็นวัสดุที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ มาเป็นพลาสติกสปันบอนด์ที่เป็น Polypropylene สามารถกันน้ำได้ โดยได้รับการทดสอบจากสถาบันบำราศนราดูรว่าสามารถใช้ได้ไม่ต่างจากชุดป้องกันเกรด 5 โดยต้นทุนของการผลิตชุดป้องกันส่วนบุคคลจะอยู่ในราวชุดละกว่า 100 บาท อย่างไรก็ตาม คณะแพทย์ศาสตร์วชิรพยาบาลได้รับความร่วมมือจากบริษัท พีทีทีจีซี และไออาร์พีซี ผู้ผลิตเม็ดพลาสติกรายใหญ่ของเมืองไทย สนับสนุนวัสดุพลาสติกในการผลิตชุดป้องกันส่วนบุคคล คาดว่าจะสามารถผลิตเบื้องต้นราว 500-2,000 ตัว โดยมีความต้องการอยู่ราว1 แสนตัว อย่างไรก็ตาม ปัญหาของการผลิตชุดป้องกันส่วนบุคคลอีกส่วนสำคัญคือ การเย็บชุดที่ปัจจุบันโรงงานส่วนใหญ่ปิดกิจการก็อาจทำให้การผลิตล่าช้า

ที่มา : Manager online 6 เมษายน 2563 [https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9630000035368]