🧻 กระดาษชำระ  (Toilet tissue paper) คือ กระดาษที่เหมาะสมสำหรับใช้ทำความสะอาดหลังขับถ่าย เป็นกระดาษย่น มีลักษณะนุ่ม ดูดซึมน้ำได้ดี และเส้นใยแยกออกจากกันได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับน้ำ มีทั้งแบบม้วนและแบบแผ่น ดังแสดงในภาพที่ 1 แยกเป็นชนิด 1, 2 และ 3 ชั้น โดยทั่วไปจะเป็นชนิด 2 ชั้น ส่วนมากจะเป็นสีขาว ขนาดเล็กใหญ่แตกต่างกันตามยี่ห้อ มีทั้งแบบที่มีลวดลายและไม่มีลวดลาย

               คุณสมบัติสำคัญ คือ ต้องแยกออกจากกันได้ง่ายเมื่อถูกกระจายในน้ำ ทำให้สามารถทิ้งลงไปในโถส้วมหรือชักโครกได้โดยไม่ทำให้เกิดการอุดตัน โดยกระดาษแบบม้วนจะมี 2 ขนาด คือม้วนใหญ่เนื้อบางแบบที่ใช้ในห้างสรรพสินค้า ราคาก็จะถูก ซึมซับได้น้อย กับแบบม้วนเล็ก ใช้ตามบ้านทั่วไป มีหลากหลายเนื้อสัมผัสขึ้นอยู่กับราคา

กระดาษชาระ ถ้าแบ่งตามชนิดของเยื่อกระดาษที่นำมาผลิต จะแบ่งเป็น 3 ชนิดคือ

  1. กระดาษชำระ ที่ทำจาก “เยื่อบริสุทธิ์ (Virgin Pulp)” หรือ เยื่อใหม่ ร้อยละ 100
    กระดาษชำระประเภทนี้จะมีความโดดเด่นที่สีกระดาษค่อนข้างนวล สัมผัสนุ่มละมุน ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทกระดาษเช็ดหน้า โดยทั่วไปจะไม่มีสารเรืองแสงตกค้าง ได้รับความนิยมค่อนข้างสูง แต่ราคาก็สูงกว่ากระดาษชำระประเภทอื่นเช่นกัน
  1. กระดาษชำระ ที่ทำจาก “เยื่อรีไซเคิล (Recycle Pulp)” หรือ เยื่อเวียนทำใหม่ ร้อยละ 100
    กระดาษชำระประเภทนี้ ทำมาจากจากกระดาษที่ใช้งานแล้ว จะนำมาถูกให้ความร้อน ผ่านขั้นตอนการกำจัดหมึก (Deinking) และขึ้นรูปใหม่ ด้วยความร้อนที่สูงมาก กระดาษชำระจากเยื่อเวียนทำใหม่จึงมีสีขาวขุ่น รวมถึงความขรุขระ ไม่ค่อยเรียบร่วมด้วย มีคุณภาพต่ำกว่ากระดาษชำระประเภทอื่น ราคาถูก บางชนิดมีการใส่สีสันลงไป เช่น สีชมพู สีน้ำตาล เพื่อปกปกปิดให้ผู้ใช้งานมองข้าม โดยทั่วไปแล้วมีสารเรืองแสงตกค้าง เพราะในขั้นตอนการกำจัดหมึกจะทำให้ความขาวสว่างของเยื่อกระดาษลดลงจึงใส่สารฟอกนวล หรือสารเพิ่มความความเข้าไป ทำให้มีสารเรืองแสงตกค้าง
  1. กระดาษชำระ ที่ทำจาก “เยื่อผสม” คือการนำเยื่อบริสุทธิ์และเยื่อรีไซเคิลผสมกันนำมาผลิตเป็นกระดาษชำระ เพื่อให้ได้คุณภาพ และมาตฐานที่สูง โดยแต่ละยี่ห้อจะมีการผสมสูตรที่ต่างกัน รวมไปถึงความยืดหยุ่น การซึมซับน้ำ การแตกตัว ไม่เท่ากันด้วย กระดาษชำระประเภทนี้ จะมีคุณภาพดีกว่า กระดาษชำระที่ทำจากเยื่อ เวียนทำใหม่ ร้อยละ 100 โดยส่วนใหญ่จะมีสารเรืองแสงตกค้าง เพราะมีส่วนผสมของเยื่อเวียนทำใหม่

กระดาษชำระแบบม้วนเล็ก            กระดาษชำระแบบม้วนใหญ่                 กระดาษชำระแบบแผ่น

 ภาพที่ 1 กระดาษชำระแบบม้วนและแบบแผ่น

 


2.1 ชนิดวัตถุดิบ

1. เยื่อบริสุทธิ์ (Virgin pulp) ได้จากกระบวนการผลิตเยื่อ โดยวิธีการแยกเส้นใยจากเนื้อไม้ ดังแสดงในภาพที่ 2

                             1.1 เส้นใยที่ได้จากไม้ยืนต้น (Wood fiber) แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่

                                        1.1.1 ไม้ใบแคบ (Softwood) เป็นไม้จำพวก coniferous หรือ gymnosperm มีใบเป็นรูปเข็มไม่ผลัดใบ เช่น สปรูซ (Spruce), สน (Pine) และเฟอร์ (Fir) ในประเทศไทยมีเพียง 2 ชนิด คือ สนสองใบและสนสามใบ เส้นใยของไม้ softwood มีความยาวเฉลี่ยประมาณ 3 มม. เยื่อที่ได้จาก softwood เรียกว่า เยื่อใยยาว และการเรียกชื่อทางการค้ามักมีอักษร “N” (Needle) นำหน้า เช่น NBKP (Needle bleached kraft pulp) เพื่อระบุว่าเป็นเยื่อใยยาว ประเทศไทยจะใช้การนำเข้าเยื่อใยยาวจากต่างประเทศ เนื่องจาก สนสองใบและสนสามใบ เป็นสนเขาจะขึ้นตามธรรมชาติบริเวณพื้นที่ภูเขาสูง และมีอากาศหนาวเย็น เช่น ภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ บริเวณภูกระดึง จึงมีปริมาณไม่เพียงพอในการผลิตในระดับอุตสาหกรรมของประเทศ

                                        1.1.2 ไม้ใบกว้าง (Hardwood) เป็นไม้จำพวก angiosperm โดยทั่วไปมีใบกว้าง (board leaved) ยกเว้น ไม้บางชนิด เช่น สนทะเลและสนปดิพัทธ์ ในเขตอบอุ่นไม้พวกนี้จะผลัดใบ (Deciduous) เส้นใยของ hardwood มีความยาวเฉลี่ยประมาณ 1-2 มิลลิเมตร เช่น ยูคาลิปตัส (Eucalyptus), เบิร์ช (Birch), แอสเพน (Aspen) และไม้ใบกว้างต่างๆ ในประเทศไทย เยื่อที่ได้จาก hardwood เรียกว่า เยื่อใยสั้น และการเรียกชื่อทางการค้ามักมีอักษร “L” (Leaved) นำหน้า เช่น LBKP (Leaved bleached kraft pulp) เพื่อบ่งชี้ว่าเป็นเยื่อ hardwood ประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้เยื่อจากจากต้นยูคาลิปตัส คามาลดูเลนซิส (Eucalyptus camaldulensis Dehn.) ที่สามารถปลูกได้อย่างแพร่หลาย เนื่องจากเป็นต้นที่โตไว ใช้เวลาเพียง 3 – 5 ปี มีลำต้นเปลาตรง ง่ายต่อการลอกเปลือกและการผลิตเป็นชิ้นไม้สับ จึงเป็นที่นิยมนำมาใช้ผลิตเป็นเยื่อใยสั้นในการผลิตกระดาษมากกว่ากระถินเทพา

                              1.2 เส้นใยที่ได้จากพืชล้มลุก (Non-wood fiber) คือ เส้นใยที่ได้จากส่วนต่างๆของพืชที่ไม่ให้เนื้อไม้ ได้แก่

                                         1.2.1 เปลือก (Bast or Stem fibers)  เช่น ปอสา (Paper mulberry) ปอป่าน (Flax) ปอกระเจา (Jute) ปอแก้ว (Kenaf) และกัญชง (Hemp) เป็นต้น

                                        1.2.2 ใบ (Leaf fibers) เช่น สับปะรด (Pineapple) ป่านศรนารายณ์ (Sisal) และปอมะนิลา (Musa textilis) เป็นต้น

                                        1.2.3 ผล (Fruit fibers) หรือเมล็ด (Seed fibers) เช่น มะพร้าว (Coir) นุ่น (Kapok) และฝ้าย (Cotton) เป็นต้น     

                                        1.2.4 พืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Grass fibers) เช่น ฟางข้าว (Rice straw) ชานอ้อย (Bagasse) และไผ่ (Bamboo) เป็นต้น

ภาพที่ 2 ตัวอย่างไม้ยืนต้นและไม้ล้มลุก

2. เยื่อเวียนทำใหม่ หรือเยื่อรีไซเคิล (Recycled pulp) ได้จากการนำกระดาษหรือบรรจุภัณฑ์กระดาษที่ใช้แล้วมาผ่านกระบวนการแยกเส้นใย เพื่อนำเส้นใยกลับมาใช้ใหม่

3. เยื่อผสม (Mixed pulp) ได้จากการนำเยื่อบริสุทธิ์มาผสมกับเยื่อเวียนทำใหม่ ในอัตราส่วนต่าง ๆ เพื่อให้ได้คุณสมบัติตามที่ต้องการ

2.2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบ

  1. สวนป่าปลูก เช่น ยูคาลิปตัส กระถินเทพา ปอสา ฝ้าย นุ่น และไผ่ เป็นต้น
  2. วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร เช่น ชานอ้อย ฟางข้าว ใยมะพร้าว ใบสัปปะรด และเปลือกกัญชง เป็นต้น
  3. กระดาษรีไซเคิล (Recycled Paper) คือกระดาษที่ถูกใช้งานแล้วพร้อมนำทิ้ง และถูกนำเข้าสู่กระบวนการแปรรูปเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำได้ใหม่
  4. นำเข้าจากต่างประเทศ

                 4.1 เยื่อใยยาว ได้แก่ เยื่อสน นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา แคนนาดา สวีเดน ฟินแลนด์ และจีน

                 4.2 เยื่อเวียนทำใหม่ ที่เป็นส่วนเยื่อใยยาว นำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศในทวีปยุโรป และจีน

2.3 การเลือกวัตถุดิบ

                    การเลือกวัตถุดิบที่ใช้ทำกระดาษชำระ กระดาษชำระจะถูกผลิตจากเยื่อบริสุทธิ์ เยื่อเวียนทำใหม่ หรือเยื่อผสม ขึ้นอยู่กับคุณภาพของกระดาษชำระที่ต้องการ อาจมีการศึกษาข้อมูลองค์ประกอบทางเคมีของเยื่อแต่ละชนิด เช่น ปริมาณของเซลลูโลส (Cellulose) เฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) ลิกนิน (Lignin) และสารแทรก (Extractives) เป็นต้น และประเมินคุณภาพของเยื่อ เพื่อให้ทราบคุณสมบัติของเยื่อเบื้องต้นว่าเหมาะสมกับการผลิตเป็นกระดาษชำระหรือไม่ เช่น การทดสอบค่าการระบายน้ำของเยื่อ (Freeness) ความยาวของเส้นใย หากเป็นเยื่อเวียนทำใหม่ จะมีการศึกษาความสะอาดและค่าความเป็นกรดด่างเพิ่มเติม เนื่องจากผ่านการใช้งานมาแล้วจะมีจุดสกปรกของหมึกหรือกาวปะปนมาด้วย และค่าความเป็นกรดด่างจะมีผลต่อประสิทธิภาพและควมเข้ากันได้ของสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตกระดาษต่อไป

                  โดยส่วนมากจะเลือกวัตถุดิบที่มีปริมาณของโฮโลเซลลูโลสที่สูง (ร้อยละ 50 ขึ้นไป) โดยที่มีลิกนินและสารแทรกในปริมาณที่น้อย เมื่อนำไปผลิตเป็นเยื่อกระดาษแล้วจะให้ผลผลิตของเยื่อ (Pulp yield) ที่สูง โดยที่ใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตที่น้อย อีกทั้งต้องเป็นวัตถุดิบมีปริมาณที่มากหาซื้อได้ภายในประเทศ ราคาไม่สูง เพื่อความคุ้มค่าและสามารถผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้

                   การเลือกวัตถุดิบสำหรับผลิตกระดาษชำระ สำหรับการผลิตจากเยื่อบริสุทธิ์ ส่วนใหญ่จะใช้เป็นวัตถุดิบเยื่อใยสั้นจากยูคาลิปตัส มีปริมาณโฮโลเซลลูโลสมากกว่าร้อยละ 60 ให้ผลผลิตของเยื่อสูง มีลำต้นเปลาตรง สามารถลอกเปลือกและผลิตเป็นชิ้นไม้สับได้ง่าย ให้ความสม่ำเสมอของผลผลิต มีการเพาะปลูกในปริมาณมาก สามารถผลิตในระดับอุตสาหกรรมได้ จึงถูกใช้เป็นวัตถุดิบหลักของเยื่อใยสั้น และไปผสมกับเยื่อใยยาวหรือเยื่อสนที่นำเข้าจากต่างประเทศในอัตราส่วนต่าง ๆ ตามสูตรของแต่ละผู้ผลิต เพื่อเพิ่มความแข็งแรง ทำให้กระดาษไม่ขาดง่าย จึงมีความต่อเนื่องในกระบวนการผลิต (Run ability) ที่สูงขึ้น

                   สำหรับการผลิตกระดาษชำระ โดยใช้เยื่อเวียนทำใหม่หรือเยื่อผสม เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งของผู้บริโภคในการลดใช้เยื่อบริสุทธิ์ที่ทำจากไม้ ประหยัดทรัพยากรธรรมชาติ และลดต้นทุนในการผลิต แต่จะทำให้ผลิตภัณฑ์กระดาษชำระที่ได้มีความแข็งแรงลดต่ำลง จุดสกปรกเพิ่มสูงขึ้น ตามอัตราส่วนเยื่อเวียนทำใหม่ที่ใช้ผลิต และอาจปนเปื้อนสารเคมีต่าง ๆ เช่น โลหะหนักหรือหมึกพิมพ์ และมีความเป็นด่างสูงขึ้นได้

2.4 การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ (มาตรฐานการทดสอบ/เครื่องมือทดสอบ/ชื่อห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบ)

ชนิดวัตถุดิบ

รายการทดสอบ

มาตรฐานการทดสอบ

เครื่องมือทดสอบ

เกณฑ์กำหนด

ห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบ

เบอร์โทร/อีเมลติดต่อ

ได้รับการรับรอง/ ขึ้นทะเบียน

Wood หรือ

Non-wood

-  ปริมาณลิกนิน

 

- Tappi T 222

- ISO 21436

 

- ชุดสกัด (Soxhlet)

 

 

-

- กลุ่มเส้นใยธรรมชาติ

กองวัสดุวิศวกรรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ

- คณะวนศาสตร์

มหาวิทยาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

02-201-7121

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

02-579-0170

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

-

-  ปริมาณเถ้า

 

- Tappi T 211

- ISO 1762

 

- เตาเผาอุณหภูมิสูง (Furnace)

- เครื่องชั่งน้ำหนัก (Electronic balance)

-  การละลายในน้ำ-น้ำร้อน

- Tappi T 207

- ชุดสกัด

-  การละลายในด่างร้อยละ 1 

- Tappi T 212

 

- ชุดสกัด

 

-  การละลายในอัลกอฮอล์-เบนซิน 

- Tappi T 204

- ชุดสกัด

-  ปริมาณเพนโตแซน

- Tappi T 223

- ชุดสกัด

-  ค่า Kappa number

 

- Tappi T 236

- ISO 302

- ชุดสกัด

 

-  ปริมาณลิกนิน

 

- Tappi T 222

- ISO 21436

 

- เตาเผาอุณหภูมิสูง

- เครื่องชั่งน้ำหนัก

- ชุดสกัด

-  ปริมาณเถ้า

- Tappi T 211

- ISO 1762

- ชุดสกัด

เยื่อกระดาษ

-  ค่าความเป็นกรด-ด่าง

 

 

- Tappi T 252

- ISO 6588

 

 

- เครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง (pH meter)

- เครื่องกระจายเยื่อกระดาษ (Disintegrator)

-

กลุ่มเส้นใยธรรมชาติ

กองวัสดุวิศวกรรม

กรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

02-201-7121

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

-

-  ค่าความสะอาด

 

- Tappi T 213

- ISO 5350

 

- เครื่องขึ้นรูปแผ่นกระดาษ (Sheet former)

- เครื่องสแกนพื้นที่จุดสกปรก (Black area)

-  ค่าการระบายน้ำของเยื่อ

- Tappi T227

- ISO 5627

- เครื่องวัดค่าการะบายน้ำของเยื่อ

 

-  ความยาวเส้นใย

 

- Tappi T 233

- ISO 16065

- เครื่องคัดแยกความยาวของเส้นใย (Fractionation)

- กล้องจุลทรรศน์

-  การประเมินคุณภาพเยื่อ

 

- ISO 5264-1

- ISO 5264-5

 

- เครื่องตีเยื่อ (Valley beater) หรือบดเยื่อ (PFI mill)

 

- Tappi T220

- Tappi T227

 

- เครื่องขึ้นรูปแผ่นกระดาษ

- เครื่องวัดค่าการระบายน้ำของเยื่อ

- ISO 1924-2

 

- เครื่องทดสอบความต้านแรงดึง (Tensile strength tester)

- ISO 1974

 

- เครื่องทดสอบความต้านแรงฉีกขาด (Tearing strength tester)

- ISO 2758

 

- เครื่องทดสอบความต้านแรงดันทะลุ (Bursting strength tester)

- ISO 2471

 

- เครื่องทดสอบสมบัติทางทัศนศาสตร์ (Spectrophotometer) ทดสอบความขาวสว่าง ความทึบแสง และวัดค่าสี

2.5 การเตรียมวัตถุดิบก่อนเข้ากระบวนการผลิต

     แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

                    2.5.1 ตัดไม้ให้เป็นท่อน (Log) ลิดกิ่งออก

                    2.5.2 ลอกเปลือกออก (Debarking)

                    2.5.3 ทำให้เป็นชิ้นไม้สับ (Chipping)

                    2.5.4 ทำความสะอาด กำจัดสิ่งแปลกปลอม (Cleaning)

                    2.5.5 คัดแยกขนาด (Screening) โดยทั่วไปมีขนาดประมาณ 1 x 1 นิ้ว ถ้าขนาดใหญ่เกิน (Oversize) ไปเข้าเครื่องทำชิ้นไม้สับใหม่ ถ้าขนาดเล็กเกินไป (Undersize) คัดออกไปทำเป็นเชื้อเพลิงในหม้อไอนํ้า (Boiler) สําหรับชิ้นไม้สับที่ได้ขนาดจะถูกส่งไปยังกระบวนการผลิตเยื่อต่อไป

 

 

แผนผังที่ 1 แสดงขั้นตอนการเตรียมวัตถุ (จากไม้) ก่อนเข้ากระบวนการผลิตเยื่อกระดาษ


กระบวนการผลิต 

 

                                                                        
       ขั้นตอนการผลิตเยื่อกระดาษ (Pulping)       

 กระบวนการผลิตกระดาษชำระ 

สารเคมี/สารพิษ/ของเสีย

จากกระบวนการผลิตที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อม

คลิกที่ภาพเพื่ออ่านเพิ่มเติม                                                 


ผลิตภัณฑ์

4.1 การตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ (รายการทดสอบที่จำเป็น/มาตรฐานการทดสอบ/เครื่องมือทดสอบ/ชื่อห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบ)

รายการทดสอบ

มาตรฐานการทดสอบ

เครื่องมือทดสอบ

เกณฑ์กำหนดมาตรฐานภายในประเทศ

เกณฑ์กำหนดมาตรฐานต่างประเทศ

ห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบ

เบอร์โทร/อีเมลล์ติดต่อ

ได้รับการรับรอง/ ขึ้นทะเบียน

ลักษณะทั่วไป

มอก.214-2560 กระดาษชำระ

ตรวจพินิจ

กระดาษชำระแต่ละม้วนหรือแต่ละห่อจะมีข้อบกพร่อง ได้ไม่เกิน 5 ข้อบกพร่อง

1. รอยตัด ฉีกขาด หรือขาดเป็นรูปรากฏในเนื้อกระดาษชำระ ณ จุดเดียวกัน หรือถ้าปรากฏบนกระดาษชำระ

ชั้นใดชั้นหนึ่งมีพื้นที่มากกว่า 5 mm2

2. มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในม้วนหรือห่อของกระดาษชชำระ

3. รอยพับทั้งนี้ไม่นับรอยพับของกระดาษชำระ 10 แผ่นแรก และ 10 แผ่นสุดท้าย

4. สีในแต่ละแผ่นไม่สม่ำเสมอ สามารถมองเห็นความแตกต่างของสีได้ด้วยตาเปล่า

5. กรณีแบบม้วนที่มีรอยปรุระหว่างแผ่น รอยปรุระหว่างแผ่นไม่สม่ำเสมอเมื่อดึงกระดาษชำระออก ในลักษณะใช้งานแล้วไม่ขาดที่รอยปรุ

6. กรณีแบบแผ่น การพับเพื่อบรรจุห่อไม่สามารถดึงออกทีละแผ่นได้อย่างต่อเนื่อง

 

ห้องปฏิบัติการกลุ่มเส้นใธรรมชาติ

กองวัสดุวิศวกรรมกรมวิทยาศาสตร์บริการ

02-201-7121

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

มาตรา 5/ฉลากเขียว

การบรรจุ

มอก.214-2560 กระดาษชำระ

ตรวจพินิจ

1. ให้หุ้มห่อกระดาษเช็ดมือแต่ละม้วน หรือแต่ละหน่วยบรรจุ ด้วยวัสดุที่เหมาะสมให้เรียบร้อย

2. จำนวนแผ่นของกระดาษเช็ดมือในแต่ละห่อ ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุที่ฉลาก

 

มาตรา 5/ฉลากเขียว

เครื่องหมายและฉลาก

มอก.214-2560 กระดาษชำระ

ตรวจพินิจ

ที่ภาชนะบรรจุรวมและหน่วยบรรจุกระดาษชำระแต่ละหน่วย อย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมายแจ้งรายละเอียดให้เห็นได้ง่าย ชัดเจน

 

มาตรา 5/ฉลากเขียว

ขนาดแผ่น (กว้าง x ยาว)

มอก.214กระดาษชำระ

ไม้บรรทัด/เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์

แบบม้วนเล็ก

- ความกว้างของแผ่นกระดาษชำระให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลาก ความกว้างต้องไม่น้อยกว่า 90 mm และไม่เกิน 120 mm

- ความยาวของแผ่นกระดาษชำระ ต้องไม่น้อยกว่า 110 mm และไม่เกิน 145 mm

แบบม้วนใหญ่

- ความกว้างของกระดาษชำระให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลาก ความกว้างต้องไม่น้อยกว่า 80 mm และไม่เกิน 120 mm

แบบแผ่น

- ความกว้างและความยาวของแผ่นกระดาษชำระให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ที่ฉลาก ความกว้างต้องไม่น้อยกว่า 90 mm และความยาวต้องไม่น้อยกว่า 190 mm

 

มาตรา 5/ฉลากเขียว

ความยาวม้วน

มอก.214-2560 กระดาษชำระ

ไม้บรรทัด/เวอร์เนียร์คาลิปเปอร์

ต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก

 

มาตรา 5/ฉลากเขียว

มวลมาตรฐาน

ISO 12625-6

เครื่องชั่งน้ำหนัก

ดังตารางที่ 1 – 3

 

มาตรา 5/ฉลากเขียว

ความสะอาด

ISO 15755

แผ่นมาตรฐานวัดจุดสกปรก

ดังตารางที่ 1 – 3

 

มาตรา 5/ฉลากเขียว

ปริมาณเถ้า

ISO 1762

เตาเผาอุณหภูมิสูง

ดังตารางที่ 1 – 3

 

มาตรา 5/ฉลากเขียว

ความเป็นกรด-ด่าง

ISO 6588-1

เครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง

ดังตารางที่ 1 – 3

 

มาตรา 5/ฉลากเขียว

การดูดซึมน้ำ

ISO 12625-8

เครื่องวัดการดูดซึมน้ำของกระดาษอนามัย

ดังตารางที่ 1 – 3

 

มาตรา 5/ฉลากเขียว

ความต้านแรงดึงแนวขนานเครื่องและแนวขวางเครื่อง

ISO 12625-4

เครื่องทดสอบความต้านแรงดึงกระดาษ

ดังตารางที่ 1 – 3

 

มาตรา 5/ฉลากเขียว

ความยืด แนวขนานเครื่อง

 

 

 

 

ISO 12625-4

เครื่องทดสอบความต้านแรงดึงกระดาษ

ดังตารางที่ 1 – 3

 

มาตรา 5/ฉลากเขียว

สาร fluorescent whitening agents (FWAs) หรือ optical brightening

agent (OBA)

 

เครื่อง DESAGA UV-STRAHLER700 STRAHLUNGS

MAXIMUM BE1 366 nm.

ไม่มี

 

มาตรา 5/ฉลากเขียว

ปริมาณสาร AOX

ISO 9562

AOX Analyzer

ไม่เกิน 0.12 kg/ADT

paper

 

มาตรา 5/ฉลากเขียว

ปริมาณสารตะกั่ว

IEC 62321

Atomic Absorption (AA) /Inductively Couple Plasma (ICP-OES)

ไม่เกิน 2 mg/kg

 

ฉลากเขียว

ปริมาณสารแคดเมียม

IEC 62321

ไม่เกิน 2 mg/kg

 

ฉลากเขียว

ปริมาณปรอท

IEC 62321

ไม่เกิน 2 mg/kg

 

ฉลากเขียว

ปริมาณสารโคเมี่ยม 6

IEC 62321

ไม่เกิน 1 mg/kg

 

ฉลากเขียว


.
.
ตารางที่ 1 แสดงคุณลักษณะที่ต้องการอื่น ๆ สำหรับกระดาษชำระแบบม้วนเล็ก ตาม มอก. 214-2560 มาตรฐานผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ
.
.
.

ตารางที่ 2 แสดงคุณลักษณะที่ต้องการอื่น ๆ สำหรับกระดาษชำระแบบม้วนใหญ่ ตาม มอก. 214-2560 มาตรฐานผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

.

.
.

ตารางที่ 3 แสดงคุณลักษณะที่ต้องการอื่น ๆ สำหรับกระดาษชำระแบบแผ่น ตาม มอก. 214-2560 มาตรฐานผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

.

.
4.2 มาตรฐานและหน่วยงานที่ให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ (เช่น มอก. ฉลากเขียว อย. วศ.) 
.

หน่วยงานที่ให้การรับรอง

ภารกิจ/ความเกี่ยวข้อง

หมายเลขมาตรฐาน

ชื่อมาตรฐาน

เบอร์โทร/อีเมลล์ติดต่อ

สำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

กำกับดูแลผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบและรับรองด้านการมาตรฐานให้ได้รับการยอมรับ

มอก.214-2560

มาตรฐานผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

02-430-6521 ต่อ 1002
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย(มสท.)

เป็นหน่วยงานอิสระที่ให้การรับรองฉลากสิ่งแวดล้อม

TGL-8/2-19

ข้อกำหนดฉลากเขียวผลิตภัณฑ์กระดำษ: กระดาษอนามัย (Sanitary Paper)

02-503-3333 ต่อ 522 This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

กรมควบคุมมลพิษ

(คพ.)

จัดทำรายการข้อมูลสินค้าและบริการที่ได้รับรองตามเกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

TGC-P–005.02–3/64

ตระกร้าเขียว - เกณฑ์ข้อกำหนดสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กระดาษชำระ

02-298-2091
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

Forest Stewardship Council International

จัดทำระบบการให้การรับรองผลิตภัณฑ์ไม้ เพื่อยืนยันให้ผู้บริโภคทราบว่าแบรนด์ผู้จำหน่ายได้ใช้ไม้จากป่าธรรมชาติหรือป่าปลูก

FSC Certified

มาตรฐานการจัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน

08-067-20658
This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

.

4.3. สารเคมีอันตราย/สารพิษที่อาจตกค้างในผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อม

.

ชื่อสารเคมี

สูตรเคมี

ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

เกณฑ์กำหนดมาตรฐานภายในประเทศ

เกณฑ์กำหนดมาตรฐานต่างประเทศ

ห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบ

เบอร์โทร/อีเมลล์ติดต่อ

ได้รับการรับรอง/ ขึ้นทะเบียน

AOX

ไม่มีสูตรเคมีเฉพาะ

เป็นพิษต่อร่างกาย และก่อให้เกิดโรคบางอย่างในมนุษย์

ไม่สลายตัวตามธรรมชาติ และสามารถสะสมในสัตว์น้ำได้

ไม่มากกว่า 0.12 kg/ADT paper

ไม่พบ

ห้องปฏิบัติการกลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรมกรมวิทยาศาสตร์บริการ

02-2017121

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

ฉลากเขียว

 

 

 

 

สารฟอกนวล

ไม่มีสูตรเคมีเฉพาะ

เป็นพิษต่อตับ เป็นสารก่อมะเร็ง และก่อให้เกิดการกลายพันธุ์

ไม่สลายตัวตามธรรมชาติ และสามารถสะสมในสัตว์น้ำได้

ไม่พบ

ไม่พบ

ห้องปฏิบัติการกลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรมกรมวิทยาศาสตร์บริการ

02-2017121

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

ฉลากเขียว/ มาตรา 5

ปริมาณสารตะกั่ว

Pb

เป็นพิษต่อร่างกาย และเป็นสารก่อมะเร็งในสิ่งมีชีวิต

ไม่สลายตัวตามธรรมชาติ และสามารถสะสมในสัตว์น้ำได้

ไม่เกิน 2 mg/kg

ไม่พบ

ห้องปฏิบัติการกลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรมกรมวิทยาศาสตร์บริการ

02-2017121

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

ฉลากเขียว

ปริมาณสารแคดเมียม

Cd

เป็นพิษต่อร่างกาย เป็นสารก่อมะเร็งในสิ่งมีชีวิต

ไม่สลายตัวตามธรรมชาติ และสามารถสะสมในสัตว์น้ำได้

ไม่เกิน 2 mg/kg

ไม่พบ

ห้องปฏิบัติการกลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรมกรมวิทยาศาสตร์บริการ

02-2017121

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

ฉลากเขียว

ปริมาณปรอท

Hg

เป็นพิษต่อร่างกาย เป็นสารก่อมะเร็งในสิ่งมีชีวิต

ไม่สลายตัวตามธรรมชาติ และสามารถสะสมในสัตว์น้ำได้

ไม่เกิน 2 mg/kg

ไม่พบ

ห้องปฏิบัติการกลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรมกรมวิทยาศาสตร์บริการ

02-2017121

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

ฉลากเขียว

สีเอโซ (Azo dyes)

(=N-)

เป็นพิษต่อร่างกาย เป็นสารก่อมะเร็งในสิ่งมีชีวิต

ไม่สลายตัวตามธรรมชาติ และสามารถสะสมในสัตว์น้ำได้

ไม่เกิน 30 mg/kg

ไม่พบ

ห้องปฏิบัติการกลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรมกรมวิทยาศาสตร์บริการ

02-2017121

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

ฉลากเขียว

                  

.

4.4 กฏหมาย กฎระเบียบ ด้านการค้าขาย นำเข้า/ส่งออก ที่เกี่ยวข้อง

.

ลำดับที่

ชื่อกฏหมาย/กฎระเบียบ

หน่วยงานที่ออกกฏหมาย/กฎระเบียบ

1

ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยสินค้าและบริการ ฉบับที่ 1 พ.ศ.2561 เรื่องการกำหนดสินค้าและบริการควบคุม

กรมการค้าภายใน

2

ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยสินค้าและบริการ ฉบับที่ 13 พ.ศ.2561 เรื่อง การแจ้งราคา และรายละเอียดเกี่ยวกับกระดาษชำระ กระดาษเช็ดหน้า

กรมการค้าภายใน

3

ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที่ 6 พ.ศ. 2563 เรื่อง การแจ้งและการแสดงราคารับซื้อเศษกระดาษ และกระดาษที่นำกลับมาใช้อีก

กรมการค้าภายใน

4

ประกาศคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ ฉบับที 5 พ.ศ. 2565

เรื่อง การกำหนดสินค้าควบคุมเพิ่มเติม

กรมการค้าภายใน

5

พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2564 หมวด 10

เยื่อไม่หรือเยื่อที่ได้จากวัตถุจําพวกเส้นใยเซลลูโลสอื่น ๆ

กระดาษหรือกระดาษแข็งที่นํากลับคืนมาใช้ได้อีก (เศษและของที่ใช้ไม่ได้)

กระดาษและกระดาษแข็งและของที่ทําด้วยกระดาษหรือกระดาษแข็ง

กรมศุลกากร

6

ประกาศกรมศุลกากรที่ 25/2557 เรื่องการลงทะเบียนเป็นผู้ผ่านพิธีการศุลกากรหรือดําเนินการทางศุลกากร ลงวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2557

กรมศุลกากร

7

ประกาศกรมศุลกากร ที่ 24/2556 เรื่องคู่มือการผ่านพิธีการศุลกากรทางอิเล็กทรอนิกส์ ว่าด้วยกระบวนการทางศุลกากรสําหรับการส่งออก (e-Export) ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 255

กรมศุลกากร

8

ประกาศกรมการค้าต่างประเทศ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การขอรับหนังสือสําคัญการส่งออก-นําเข้าสินค้า โดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554

กรมการค้าระหว่างประเทศ

9

ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ ส. 5 /2564

เรื่อง การปรับปรุงการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

10

คู่มือการขอรับการส่งเสริมการลงทุุน 2564 อุตสาหกรรมพื้นฐานและอุตสาหกรรมสนับสนุน กองส่งเสริมการลงทุน 3 อุตสาหกรรมกระดาษ 6.12-6.13

กิจการผลิตเยื่อ/ กระดาษ/ ผลิตภัณฑ์จากกระดาษ

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

.

4.5 สารสนเทศที่เกี่ยวข้อง (เช่น หนังสือ วารสาร บทความ ฐานข้อมูล หรือเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง)

.

ชื่อหนังสือ / บทความ / ฐานข้อมูล

ประเภท

เว็บไซต์หรือลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

TAPPI

เว็บไซต์

https://www.tappi.org

International molded fiber association

เว็บไซต์

https://www.imfa.org

ISO

เว็บไซต์

https://www.iso.org/home.html

DIN

เว็บไซต์

https://www.din.de/en

Encyclopedia

เว็บไซต์

https://www.encyclopedia.com

Pulp, paper, and packaging in the next decade

บทความ

https://www.mckinsey.com McKinsey Industries

Technical analysis pulp and paper sector

บทความ

EU-MERCI

Pulp and paper industry

บทความ

https://www.thecanadianencyclopedia.ca/en/article/pulp-and-paper-industry

Journal of pulp and paper science

วารสาร

http://www.paptac.ca

Encyclopedia of analytical science (pulp and paper)

วารสาร

https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/B9780124095472140144

Nordic Pulp & Paper Research Journal

วารสาร

 

The royal society

วารสาร

https://royalsociety.org/journals

BioResources

วารสาร

https://bioresources.cnr.ncsu.edu

ACS publications

วารสาร

https://pubs.acs.org

Journal of Natural fibers

วารสาร

https://www.tandfonline.com/journals/wjnf20

ResearchGate

ฐานข้อมูล

https://www.researchgate.net

Sci-hub

ฐานข้อมูล

https://sci-hub.se

Elsevier

ฐานข้อมูล

https://www.elsevier.com/en-xs

Wiley online library

ฐานข้อมูล

https://onlinelibrary.wiley.com

Google scholar

ฐานข้อมูล

https://scholar.google.com

Taylor & Francis online

ฐานข้อมูล

https://www.tandfonline.com

SCI journal

ฐานข้อมูล

https://www.scijournal.org/articles

Papermaking chemistry

หนังสือ

TAPPI press (1999)

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกระดาษ

หนังสือ

กองการวิจัย กรมวิทยาศาสตร์บริการ (2542)

Windows on the forest

หนังสือ

Ampang press (1997)

พจนานุกรมศัพท์พอลิเมอร์

หนังสือ

ราชบัณฑิตยสถาน (2551)

Pulp and paper dictionary

หนังสือ

San Francisco (1986)

Handbook of pulp and paper technology

หนังสือ

New York (1970)

The physics and chemistry of wood pulp fibers

หนังสือ

TAPPI press (1970)

Fiber technology for fiber-reinforced composites

หนังสือ

Woodhead publishing (2017)

The Ljungberg textbook: fiber technology

หนังสือ

FPT, KTH, Sweden (2005)

The Ljungberg textbook: pulp and paper chemistry and technology

หนังสือ

FPT, KTH, Sweden (2005)

International Classification for standards

หนังสือ

ISO (2015)


แปรรูปผลิตภัณฑ์เป็นกระดาษชำระ แบ่งออกเป็น 2 แบบ (ดังภาพที่ 21) คือ 

  1. แบบม้วน แบ่งออกเป็น 2 ขนาด คือ

           1.1 แบบม้วนเล็ก หมายถึง กระดาษชำระที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางม้วน ไม่เกิน 140 mm กระดาษทิชชู่ม้วนเล็ก (Bathroom Tissue) นิยมใช้ทั่วไปในครัวเรือนหรือร้านอาหาร เนื้อสัมผัสกระดาษมีความหลากหลาย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายวัตถุประสงค์ ไม่เฉพาะในห้องน้ำเท่านั้น นอกจากทำความสะอาดแล้ว ในประเทศไทยนั้นได้มีการประยุกต์กระดาษประเภทนี้ไปใช้ในหลากหลายวัตถุประสงค์ ทั้งนำไปวางบนโต๊ะอาหาร หรือ ในห้องน้ำ
           1.2 แบบม้วนใหญ่ หมายถึง กระดาษชำระที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางม้วน เกิน 140 mm กระดาษทิชชู่ม้วนใหญ่ (Jumbo Roll Tissue) ส่วนมากพบในห้างสรรพสินค้า ห้องน้ำสาธารณะ และองค์กรต่าง ๆ กระดาษทิชชู่ประเภทนี้จะมีราคาถูกที่สุด เน้นความบางเพื่อให้มีความยาวเพิ่มขึ้น ซึมซับน้อย แต่สะดวกต่อการใช้งาน ไม่ต้องเปลี่ยนบ่อย สะดวกต่อการใช้งาน และผลิตจากเยื่อกระดาษธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

  1. แบบแผ่น และกระดาษชำระแต่ละแบบ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ

           2.1 ชนิด 1 ชั้น
           2.2 ชนิด 2 ชั้น
           2.3 ชนิด 3 ชั้น (เฉพาะแบบม้วน)

ภาพที่ 21 กระดาษชำระแบบม้วนและแบบแผ่น


6.1 คำแนะนำในการเลือกซื้อ

  • กระดาษชำระที่ดี เนื้อของกระดาษแต่ละแผ่นต้องมีสีที่สม่ำเสมอกัน ควรมีความนุ่มพอสมควรเพราะต้องสัมผัสกับร่างกายโดยตรง ที่สำคัญต้องย่อยสลายในน้ำได้ดี เนื่องจากหากมีการทิ้งลงในชักโครกจะได้ไม่ก่อให้เกิดการอุดตัน
  • กระดาษชำระ ถือเป็นสินค้าควบคุมฉลากบนฉลากต้องแสดงขนาดความกว้าง x ยาว ของแผ่นกระดาษ เป็นเซนติเมตร
  • ไม่มีรอยตัด ฉีกขาด (ยกเว้นรอยปะสำหรับฉีก)
  • ไม่มีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในกระดาษ
  • ควรเลือกซื้อกระดาษชำระที่ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) เลขที่ 214-2560 หรือ ได้รับสัญลักษณ์ฉลากเขียว โดยดูที่ฉลาก ดังภาพที่ 22

                                   

สัญลักษณ์เครื่องหมาย มอก. ทั่วไป                                       สัญลักษณ์ฉลากเขียว

 ภาพที่ 22 สัญลักษณ์เครื่องหมาย มอก. และ ฉลากเขียว

  • เมื่อต้องใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาดหรือสัมผัสร่างกายควรเลือกซื้อที่ไม่มีเยื่อรีไซเคิลเป็นส่วนผสม โดยดูที่ฉลากที่ระบุว่าผลิตจากเยื่อบริสุทธิ์และไม่มีสารเรืองแสง เพราะถ้ากระดาษที่มีส่วนผสมของเยื่อรีไซเคิล อาจมีสารเรืองแสงตกค้างอยู่ เมื่อใช้เช็ดทำความสะอาดผิวสารเรืองแสงซึ่งเป็นสารที่ละลายในน้ำได้ จะหลงเหลือสารตกค้างอยู่บนผิวหนังอาจทำให้เกิดอาการแพ้หรือระคายเคืองในบางคน และจากการศึกษาพบว่าเมื่อสารเรืองแสงได้รับรังสี อัลตราไวโอเลต (UV) จากแสงแดด (ความยามคลื่น 254 นาโนเมตร) อาจเหนี่ยวนำให้เกิดสารก่อมะเร็งที่ผิวหนัง ทำให้เกิดมะเร็งที่ผิวหนังในระยะยาวได้

6.2 คำแนะนำวิธีใช้

  • ไม่ควรนำกระดาษชำระมาซับน้ำมัน หรือรองของทอด หรือสัมผัสอาหาร เพราะอาจทำให้สารพิษที่ตกค้างในกระดาษชำระปนเปื้อนในอาหารได้ ถ้าจำเป็นต้องใช้รองหรือสัมผัสอาหารควรใช้ประเภทที่ระบุที่ฉลากว่า สามารถใช้หรือสัมผัสอาหารได้
  • ใช้เช็ดทำความสะอาดบริเวณต่างๆของร่างกายหรือเช็ดสิ่งสปกปรกตามพื้นผิวต่างๆ
  • ควรเก็บให้ห่างจากเปลวไฟ
  • ดึงกระดาษเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้เช็ดอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี

6.3 คำแนะนำในการทิ้งผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน

  • กระดาษชำระที่ใช้แล้ว ควรทิ้งในโถส้วมหรือถังขยะตามความเหมาะสม
  • กรุณาทิ้งบรรจุห่อพลาสติกลงในถังขยะรีไซเคิล งดทิ้งลงแม่น้ำคูคลอง

6.4 การจัดการขยะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากใช้ผลิตภัณฑ์

  • ถ้าใช้กระดาษชำระเช็ดหรือรองรับน้ำมูกของผู้ที่ป่วยเกี่ยวกับโรคทางเดินหายใจ ต้องกำจัดให้ถูกวิธี เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค โดยการแยกกระดาษชำระที่ใช้แล้ว ซึ่งอาจเป็นขยะติดเชื้อ ออกจากขยะชนิดอื่นไม่ทิ้งปนกัน ใส่ถุงขยะ ควรฉีดพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์เข้มข้นมากกว่าร้อยละ 70 ปิดปากถุงให้สนิท เขียนข้อความขยะติดเชื้อให้ชัดเจน แล้วนำไปทิ้งที่จุดทิ้งขยะติดเชื้อ

                   

                    จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ โดยเฉพาะโรคที่เกี่ยวข้อกับระบบทางเดินหายใจ ทำให้ความสะอาดเป็นเรื่องสำคัญมาก ซึ่งนอกจากการฆ่าเชื้อด้วยเจลหรือสเปรย์แอลกอฮอล์หรือการล้างมือบ่อยๆ แล้ว การใช้กระดาษอนามัยเช็ดความสะอาดมือหรือสิ่งสกปรกตามร่างกายก็เป็นสิ่งตำเป็นเมื่อเราอยู่นอกบ้านและสัมผัสกับสิ่งสกปรกหรือเชื้อโรค เพราะกระดาษอนามัยมีน้ำหนักเบา พกพาสะดวก หาซื้อได้ง่าย ใช้แล้วสามารถทิ้งได้เลย นอกจากนี้กระดาษอนามัยเป็นหนึ่งในตัวช่วยสร้างสุขอนามัยส่วนบุคคลด้วยการทำหน้าที่เช็ดซับปฏิกูลต่าง ๆ ที่ร่างกายขับออกมา โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เจ็บป่วยด้วยโรคติดต่อเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ เช่น การใช้เช็ดน้ำมูกแล้วทิ้งลงถังขยะซึ่งปิดมิดชิดช่วยลดโอกาสแพร่กระจายเชื้อโรค ด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้ความต้องการของกระดาษอนามัยมีมากขึ้นอย่างมาก ทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับกระดาษอนามัยเติบโตอย่างรวดเร็ว ในอนาคตคาดการณ์ว่ากระดาษอนามัยจะมีการเติบโตอย่างรวดเร็ว ในปี 2022 มีมูลค่าการตลาดอยู่ที่ 80.99 พันล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าอาจมีมูลค่า 133.75 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐในปี 2030 และคาดว่าจะมีการเติบโตปีละ ร้อยละ 6.55 ทั่วโลก ในปี 2023 -2030 คาดการณ์ว่าในปี 2028 อัตราการใช้กระดาษอนามัยทั่วโลกอาจอยู่ที่ 118 พันล้านกิโลกรัม โดยทวีปเอเชียมีสัดส่วนความต้องการมากที่สุดมากกว่า ร้อยละ 60 และกระดาษอนามัยมีอัตราการเติบโตมากที่สุดจากนโยบายการส่งเสริมสุขอนามัยในห้องน้ำและความตระหนักด้านความสะอาดของประชาชนทั่วไป นอกจากนี้ความต้องการใช้กระดาษอนามัยของคนยังมากขึ้นจากการระบาดของไวรัส Covid-19 ปริมาณการผลิตกระดาษอนามัยเพิ่มขึ้นเกือบ ร้อยละ 20 โดยประเทศในอเมริกาเหนือมีสัดส่วนการใช้กระดาษอนามัยมากที่สุดในช่วงระยะเวลานั้น

                    ในด้านของบริษัทผลิตกระดาษอนามัยเองก็มีการปรับตัว โดยความท้าทายของการพัฒนาผลิตภัณฑ์กระดาษอนามัย คือ ความสามารถในการดูดซับและการผลิตที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านวัตถุดิบและกระบวนการผลิตที่ลดพลังงานและการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon footprint) มีการผลิตกระดาษอนามัยที่ยั่งยืนและลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เช่น การใช้วัตถุดิบที่ยั่งยืน การใช้เยื่อรีไซเคิล หรือมีการเติมสารสกัดจากธรรมชาติบางชนิด เช่น ว่านหางจระเข้ น้ำมันอัลมอนด์ เพื่อสร้างความแตกต่างและเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ จากการสำรวจโดยกระทรวงการเกษตรและป่าไม้ของประเทศฟินแลนด์ พบว่ากว่า ร้อยละ 50 ของกระดาษอนามัยที่ใช้ในยุโรปผลิตมาจากเยื่อรีไซเคิล

  

(ก)                                                                                                                           (ข)

ภาพที่ 23 (ก) สัดส่วนการใช้กระดาษอนามัยแยกตามประเภทการใช้งาน

(ข) ขนาดตลาดกระดาษอนามัยในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกในปี 2019 – 2030

                    ในปี 2022 มีการสำรวจการใช้กระดาษอนามัยโดยแบ่งออกได้ตามการใช้งาน ได้แก่ กระดาษเช็ดหน้า กระดาษเช็ดมือ กระดาษเช็ดอเนกประสงค์ กระดาษชำระในห้องน้ำ และอื่นๆ ดังแสดงในภาพที่ 23 (ก) โดยกระดาษชำระที่ใช้ในห้องน้ำมีสัดส่วนการใช้งานมากที่สุด เป็นผลมาจากความตระหนักในเรื่องความสะอาดและการท่องเที่ยวที่กำลังกลับมาเติบโตในช่วงหลังการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 โดยพบว่าโรงแรม ร้านอาหาร สปา มีการใช้กระดาษอนามัยเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดาษชำระที่มีการเพิ่มมูลค่า เช่น การเพิ่มเชียบัตเตอร์ลงในกระดาษชำระในห้องน้ำเพื่อเพิ่มกลิ่นหอม มีความนุ่มเป็นพิเศษและให้ความชุ่มชื้นกับผิว หรือการเพิ่มคุณสมบัติการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียในกระดาษชำระก็กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น

                    ทางฝั่งเอเชีย ในภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกมีมูลค่าการตลาดการใช้กระดาษอนามัยในปี 2022 อยู่ที่ 26.33 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ดังแสดงในภาพที่ 23 (ข) โดยสัดส่วนการเติบโตนี้มักมาจากประเทศขนาดใหญ่เช่น จีนและอินเดีย ส่วนหนึ่งมาจากการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารและอุตสาหกรรมการบริการ โดยจีนมีสัดส่วนการใช้กระดาษอนามัยมากที่สุด เพิ่มขึ้นจากปีก่อนราว ร้อยละ 9 ในปี 2019 ซึ่งกลุ่มตลาดที่ใหญ่ที่สุดของจีนคือ โรงแรมและร้านอาหาร และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทางฝั่งอินเดีย คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตของตลาดกระดาษอนามัยอยู่ที่ ร้อยละ 4.1 นอกจากนี้ในญี่ปุ่น คาดการณ์ว่าจะมีอัตราการเติบโตของตลาดกระดาษอนามัยอยู่ที่ ร้อยละ 2.8 ต่อปี มีการให้ความสำคัญกับการพัฒนานวัตกรรมกระดาษอนามัยคุณภาพสูงซึ่งสะท้อนวัฒนธรรมด้านสุขอนามัยของคนในประเทศ


ชื่อหน่วยงาน

ราชการ/เอกชน/สมาคม

บทบาท

บริษัท แอดวานซ์ อะโกร จํากัด (มหาชน) 

เอกชน

 ผู้ผลิตเยื่อกระดาษ

บริษัท ฟินิคส์ พัลพ์ แอนด์ เปเปอร์ จํากัด (มหาชน)

เอกชน

 ผู้ผลิตเยื่อกระดาษ

บริษัท เอนไวรอนเม็นท์พัลพ์แอนด์เปเปอร์ จํากัด

เอกชน

 ผู้ผลิตเยื่อกระดาษ

บริษัท สยามเซลลูโลส จํากัด

เอกชน

 ผู้ผลิตเยื่อกระดาษ

บริษัท เอเวอร์กรีน พลัส จํากัด

เอกชน

 ผู้ผลิตเยื่อกระดาษ

บริษัท เยื่อกระดาษสยาม จํากัด (มหาชน)

เอกชน

 ผู้ผลิตเยื่อกระดาษ

บริษัท ริเวอร์โปร์ พัลพ์ แอนด์ เพเพอร์ จำกัด   

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เซลล็อกซ์ จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท กระดาษธนธาร จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท คิมเบอร์ลี่ย์-คล๊าค ประเทศไทย จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท วังเปเปอร์ จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท ลาริส โกลเบิล (ไทยแลนด์) จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท วินเนอร์เปเปอร์ จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

ห้างหุ้นส่วนจำกัด เปเปอร์ พัลพ์ แอนด์ ซัพพลาย

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท วิลลดา เจวีพี จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท บีนิ แบร์ จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท เบลล์ วอคเกอร์ จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท ดิสโพซะเบิล กูดส์ ซัพพลาย จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท บิลเลี่ยน มิลเลี่ยน เทรดดิ้ง จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท ทเวนตี้วัน อินเตอร์คอร์ป จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท ซี.เอ.เอส. เปเปอร์ มิลล์ จำกัด

เอกชน

ผู้ผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

ห้างหุ้นส่วนจำกัด ท.ไทยเจริญผล

เอกชน

ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท แอลเอฟ บิวตี้ (ประเทศไทย) จำกัด

เอกชน

ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท เคทีไอ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด

เอกชน

ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท ทิชชู่ เมท จำกัด

เอกชน

ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

ห้างหุ้นส่วนจำกัด จี เอส เทรดดิ้ง 1971

เอกชน

ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท ซอร์ส แอนด์ ซัพพลาย (ประเทศไทย) จำกัด

เอกชน

ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท ที พลัส สกินแคร์ จำกัด

เอกชน

ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท ทีจีพีพี จำกัด

เอกชน

ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท ไพศาล สามัคคี จำกัด

เอกชน

ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท ลอฟตี้ คลีน จำกัด

เอกชน

ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

บริษัท ออล อิน วัน แมนูแฟคทอรี่ จำกัด

เอกชน

ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ

ห้างหุ้นส่วนจำกัด แอ็ตต้า ทู เทรดดิ้ง

เอกชน

ผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษชำระ


กระดาษทิชชูหรือกระดาษทุกชนิดทำมาจากต้นไม้ ดังนั้นการใช้กระดาษในแต่ละครั้งต้องคำนึงถึงความจำเป็นและความคุ้มค่า 


คณะผู้จัดทำ 

  1. นายก่อพงศ์ หงษ์ศรี นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ กลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรม
  2. นายสุรวุฒิ พวงมาลี นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรม
  3. นางสาวฐิตารินีย์ สุโรพันธ์ นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ กลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรม
  4. นางสาวจารวี เล็กสุขศรี นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรม
  5. นางสาวชนกานต์ ชูชีพชื่นกมล นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรม
  6. นายธวัชชัย โสภณธนานนท์ นักวิทยาศาสตร์ปฏิบัติการ กลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรม

    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:

    ☎️  โทร. : 02-2017121

    📨 อีเมล : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.