ชื่อบทความ : กำหนดอาหารสัตว์ควบคุมเฉพาะที่ต้องตรวจรับรองแหล่งผลิต พ.ศ. 2560

หมายเลข :

ชื่อเอกสาร :

บทนำ :

ขอบข่าย :

หมายเหตุ :

คำตอบ :

1.เลือกซื้อสินค้ากับผู้ขาย ผ่านตลาดกลาง ที่น่าเชื่อถือ เช่นเว็บไซต์ห้างออนไลน์ที่มีนโยบายเก็บรักษาเงินไว้จนกว่าลูกค้าจะได้รับสินค้าเป็นที่เรียบร้อย
2. ดูภาพสินค้า คุณสมบัติ เงื่อนไขการรับประกัน และข้อตกลงอื่นๆให้ละเอียดก่อนตัดสินใจซื้อ
3. เลือกชำระค่าสินค้าผ่าน 3 ช่องทางที่ค่อนข้างมีความปลอดภัย ได้แก่
- บัตรเครดิต กรณีสินค้าไม่เป็นไปตามโฆษณา หรือไม่ได้รับสินค้าผู้บริโภคสามารถขอปฏิเสธการชำระเงิน (chargeback) ได้
- จ่ายเงินสดปลายทาง (COD) เมื่อได้รับสินค้าผ่านตลาดกลางออนไลน์ เช่น Lazada, Shopee ที่มีนโยบายคุ้มครองผู้ซื้อ ในกรณีที่เกิดปัญหา
- ผ่านระบบตัวกลาง เช่น Paypal ซึ่งกรณีไม่ได้รับสินค้า หรือสินค้าไม่ตรงตามที่ตกลงไว้ ผู้บริโภคสามารถทำเรื่องขอเงินคืนได้
4. เก็บหลักฐานการทำธุรกรรมออนไลน์ เช่น ใบสั่งซื้อ ข้อความสนทนา ข้อมูลร้านค้า ที่มีไว้เป็นหลักฐาน

เอกสารที่เกี่ยวข้อง : ซื้อของออนไลน์อย่างไร ให้มั่นใจว่าไม่ถูกโกง . ฉลาดซื้อ. ปีที่ 26, ฉบับที่ 225 (พฤศจิกายน), 2562, หน้า 56.

โควิดฆ่าเซลล์ภูมิคุ้มกัน - เซาท์ไชนามอร์นิงโพสต์ รายงานผลการศึกษาไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ก่อโรคโควิด-19 ที่น่าตกตะลึง ว่ามันมีฤทธิ์เดชที่ฆ่าเซลล์ภูมิคุ้มกัน แทนที่มันจะถูกเซลล์ภูมิคุ้มกันฆ่า จนระบบภูมิคุ้มกันโรคเสียหาย คล้ายกับที่พบในผู้ติดเชื้อเอชไอวี
การศึกษานี้เผยแพร่ในเว็บไซต์วารสาร Cellular & Molecular Immunology เป็นผลงาน นักวิจัยจากเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน นำโดย ลู่ ลู่ มหาวิทยาลัยฝูตัน และเจียง สือปอ จากศูนย์โลหิต นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ประสานงานใกล้ชิดกับแพทย์ที่อยู่แนวหน้าในการรักษาผู้ป่วยโควิด ร่วมกันศึกษาไวรัสโคโรนา Sars-CoV-2 ที่ทำให้ป่วยเป็นโรคโควิด-19 ในห้องทดลอง ค้นพบฤทธิ์เดชของเชื้อที่น่าตกตะลึงดังกล่าว
A computer image created by Nexu Science Communication together with Trinity College in Dublin, shows a model structurally representative of a betacoronavirus which is the type of virus linked to COVID-19, /via REUTERS
ปกติแล้ว T lymphocytes หรือ ทีเซลล์ มีบทบาทหลักในการจับเป้าหมายและทำลายเชื้อแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย แต่ระหว่างที่ทีเซลล์เข้าไปจับเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัส แล้วเจาะรูเพื่อฉีดสารเคมีที่มีพิษเข้าไปในเซลลแปลกปลอมนั้น สารเคมีกลับฆ่าไวรัสทั้งเซลล์เจ้าถิ่นและเซลล์ที่ติดเชื้อแล้วฉีกเซลล์ออกเป็นชิ้นๆ
เรื่องที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์ประหลาดใจมากในการทดลองครั้งนี้ คือ ที เซลล์กลายเป็นเหยื่อล่อของไวรัสโคโรนาเสียเอง แทนที่จะเป็นตัวฆ่าไวรัส
นักวิทยาศาสตร์พบโครงสร้างพิเศษในโปรตีนหนาม มีลักษณะเหมือนถูกกระตุ้นให้หลอมรวมเปลือกไวรัสและเยื่อหุ้มเซลล์จังหวะที่สองฝ่ายเจอกัน จากนั้นยีนของไวรัสก็บุกเข้าไปในทีเซลล์แล้วจับทีเซลล์เป็นตัวประกัน ทำลายกลไกการคุ้มกันโรคของมนุษย์
เมื่อนักวิจัยวิทยาศาสตร์ทดลองแบบเดียวกันนี้กับไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง หรือ ซาร์ส (Sars) ที่เคยระบาดใหญ่เมื่อปี 2546 กลับไม่พบว่ามันจะมีศักยภาพที่จะติดเชื้อในที เซลล์
เหตุผลที่ต้องสงสัยคือ ไวรัสโรคซาร์สไม่มีกลไกการหลอมรวมเยื่อหุ้มเซลล์ ทำได้แค่ติดเชื้อเข้าไปในเซลล์ที่มีตัวรับโปรตีน ACE2 อยู่ ซึ่งโปรตีนนี้มีต่ำมากอย่างยิ่งในทีเซลล์
การศึกษาสอบสวนว่าการติดเชื้อของไวรัสโคโรนาในทีเซลล์นั้นจะช่วยให้เกิดความคิดใหม่เกี่ยวกับกลไกการก่อโรคและการแทรกแซงแนวทางการรักษา
 แพทย์ที่ทำงานรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ประจำโรงพยาบาลรัฐที่กรุงปักกิ่ง กล่าวว่า การค้นพบนี้นับว่าเพิ่มหลักฐานที่วิตกกังวลกันในวงการแพทย์ว่า ไวรัสโคโรนาอาจมีฤทธิ์เดชจู่โจมระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของมนุษย์
"มีคนมากขึ้นๆ ที่เปรียบเทียบกับเอชไอวี" หมอที่ปักกิ่งให้ความเห็น
 นอกจากนี้ ยังมีนักวิจัยที่สถาบันภูมิคุ้มกันร่างกายของกองทัพปลดปล่อยประชาชนของจีนและคณะ เผยแพร่รายงานเตือนว่า ระหว่างการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 พบว่าจำนวนทีเซลล์ลดต่ำลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะผู้สูอายุ และผู้ที่รักษาอยู่ในห้องไอซียู  ยิ่งทีเซลล์มีน้อยลงเท่าใด ความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตก็มีมากขึ้น
ข้อสังเกตนี้ยังยืนยันได้จากการชันสูตรพลิกศพคนไข้มากกว่า 20 ราย พบว่าระบบภูมิคุ้มกันถูกทำลายอย่างสิ้นเชิง ความเสียหายของอวัยวะภายในคล้ายกับการผสมผสานโรคซาร์สและโรคเอดส์
ยีนที่มาจากการหลอมรวมใน Sars-CoV-2 ยังไม่พบในไวรัสโคโรนาชนิดอื่นๆ เลย ทั้งในมนุษย์และในสัตว์
หากมองไวรัสที่ทำให้เป็นโรคเอดส์และอีโบลาแล้ว จะพบสถานการณ์ที่คล้ายกันว่า ไวรัสโคโรนาอาจแพร่อยู่อย่างเงียบๆ ในสังคมมนุษย์มานานแล้ว ก่อนเกิดการระบาดใหญ่
แต่สิ่งที่แตกต่างชัดเจนระหว่าง Sars-CoV-2 กับ HIV จากการศึกษาของลู่และเจียง คือ เชื้อเอชไอวี ทำสำเนาในทีเซลล์ได้ แล้วใช้สำเนานั้นเป็นโรงงานผลิตสำเนาที่จะให้เชื้อลามไปยังเซลล์อื่นๆ ส่วนไวรัสโคโรนาเมื่อเข้าไปยังทีเซลล์แล้ว มันและทีเซลล์ต่างลงเอยตายไปด้วยกัน
นี่ทำให้เกิดคำถามว่า เมื่อไวรัสโคโรนาเข้าไปอยู่ในร่างกายแล้วหลายสัปดาห์ แต่คนไข้ไม่แสดงอาการป่วยใดๆ เชื้อนี้มีปฏิกิริยาอย่างไรกับทีเซลล์ของคนไข้ ซึ่งเป็นเรื่องที่ยังไม่ชัดเจน ส่วนคนไข้ที่อาการหนักอาจเผชิญกับภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านเกินจนทำลายเซลล์ดีในร่างกาย
แต่ไวรัสโคโรนาที่ก่อโควิด-19 จู่โจมเข้าไปได้อย่างไรนั้นเป็นเรื่องที่ยังไม่เข้าใจเลย

ที่มา : Khaosod online  12 เมษายน 2563  [https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_3934827]

     การตรวจเชื้อเพื่อยืนยันผู้เข้าข่าย และยืนยันผู้ป่วย Covid-19 เป็นงานที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีและความเชี่ยวชาญสูง โดยปัจจุบันทำได้โดยบุคลากรทางการแพทย์เท่านั้น ซึ่งการรายงานผลที่ผิดพลาดอาจทำให้ผู้เข้ารับการตรวจเกิดความเข้าใจผิด คิดว่าตัวเองไม่ติดเชื้อ จนอาจละเลยการดูแลป้องกันตนเอง ทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อต่อไปได้
     

คำตอบ :

ในทางการแพทย์ มีอาการสำคัญบางอย่างที่อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณอาจเป็นโรคไต เช่น
-ปัสสาวะขัดหรือลำบาก
- ปัสสาวะกลางคืนหรือบ่อยกว่าปกติ
-ปัสสาวะเป็นเลือด ขุ่น มีฟองหรือมีสีน้ำล้างเนื้อ
- อาการบวมที่รอบตาบวมหรือหลังเท้า
-ปวดเอว
-ความดันเลือดสูง

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง : 
ปิยวรรณ กิตติสกุลนาม. คัดกรอง ป้องกัน รู้ทัน โรคไต. หมอชาวบ้าน. ปีที่ 41, ฉบับที่491 (มีนาคม) 2563, หน้า 65.