👀 หลายๆคนคงทราบกันดีว่าตั้งแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2565 เป็นต้นมา ได้มีการ “ปลดล็อกกัญชา” ออกจากบัญชียาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 พ.ศ. 2565 ซึ่งประกาศดังกล่าวทำให้เข้าใจไปในทิศทางเดียวกันว่าสามารถใช้กัญชาได้อย่าง “เสรี” แล้วในประเทศไทย ทุกคนคิดว่าเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องหรือไม่ วันนี้พวกเรา หอสมุดวิทยาศาสตร์ ดร.ตั้วฯ กรมวิทยาศาสตร์บริการ จะพาทุกคนมาไขข้อข้องใจนี้กันค่ะ👇🏻

🌱เมื่อพิจารณาสาระสำคัญของประกาศฉบับดังกล่าวแล้วพบว่า ได้กำหนดให้ทุกส่วนของกัญชาและสารสกัดจากกัญชาที่มีปริมาณสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (Tetrahydrocannabinol) หรือ THC ไม่เกินร้อยละ 0.2 โดยน้ำหนัก เฉพาะที่ได้รับอนุญาตให้สกัดจากพืชกัญชาที่ปลูกภายในประเทศเท่านั้น ที่ไม่จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ดังนั้น หากเป็นสารสกัดจากกัญชาที่มีสาร THC เกินปริมาณที่กำหนดหรือไม่ได้สกัดจากกัญชาที่ปลูกภายในประเทศก็ยังคงจัดเป็นสารเสพติดอยู่

🌱ส่งผลให้การใช้ประโยชน์จากกัญชาและกัญชง ยังมีข้อจำกัดบางประการ สิ่งที่ยังถือเป็นยาเสพติดให้โทษประเภท 5 มีเพียงช่อดอกของกัญชาและกัญชง รวมไปถึงเมล็ดของกัญชาเท่านั้น ส่วนเมล็ดกัญชง ใบ กิ่ง ก้าน ราก เปลือก ลำต้น และเส้นใย ไม่ถือเป็นยาเสพติด และเงื่อนไขที่สำคัญคือกัญชาและกัญชงที่จะไม่ถือว่าส่วนต่าง ๆ เป็นยาเสพติดนั้น จะต้องได้รับอนุญาตให้มีการปลูกได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย จึงจะสามารถนำไปทำผลิตภัณฑ์หรือยาจากกัญชาและกัญชงได้

📖 หากผู้ใช้บริการท่านใดสนใจอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถดูข้อมูลได้จากบทความวารสาร  >>> มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการใช้ประโยชน์จากกัญชาและกัญชงอย่างเหมาะสมสำหรับประเทศไทย. วารสารจุลนิติ. 2566. 20(2) เมษายน-มิถุนายน, 1-4. หรือคลิกที่นี่ >>> https://bit.ly/45CxABf

นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการสามารถติดตามสารสนเทศใหม่ ๆที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้จากบัญชีรายชื่อเอกสารใหม่อิเล็กทรอนิกส์ (e-New list) ประจำเดือนสิงหาคม 2566 ได้ที่ https://bit.ly/47FfPmJ หรือขอรับบริการจัดหาเอกสารฉบับเต็ม โดยสอบถามเพิ่มเติมที่ One Stop Service หอสมุดวิทยาศาสตร์ ดร.ตั้ว ลพานุกรม
☎️ Tel. : 0 2201 7250-5
📨 e-mail : This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
🟢 Line : @sltd
🔵 Facebook : ScienceLibraryDSS
🌐 Website : https://siweb.dss.go.th