การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน ทำให้ห้องสมุดหลายแห่งต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบเดิมที่เป็นอยู่ เพื่อให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล และสามารถตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัยได้ มิเช่นนั้นแล้วห้องสมุดจะกลายเป็นสถานที่ที่ไม่มีผู้ใช้บริการอีกต่อไป ดังนั้นห้องสมุดดิจิทัลอาจต้องเพิ่มปัจจัย และความต้องการต่างๆ ให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัลที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น อาทิ

1. การปรับสภาพแวดล้อมให้กลายเป็นพื้นที่การเรียนรู้ (Makerspace)
2. เพิ่มความหลากหลายของประเภททรัพยากร อาทิ บอร์ดเกมการศึกษา การ์ดเกม เทคโนโลยีเสมือนจริง หนังและเพลง
3. การให้บริการหนังสือออนไลน์ (E-book) การจัดส่งหนังสือทางไกล (Delivery)
4. การให้บริการสืบค้นสารสนเทศอย่างเป็นระบบ
5. มีสิ่งอำนวยความสะดวก และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ให้บริการ อาทิ Laptop,Tablat,AR/VR

จากที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้คน ห้องสมุดในฐานะผู้ให้บริการและเป็นแหล่งการเรียนรู้จึงต้องปรับเปลี่ยนตัวเองไปสู่การเป็นองค์กรดิจิทัล เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีปัจจัยในการปรับเปลี่ยนสู่องค์กรดิจิทัล อย่าง วิสัยทัศน์ที่ชัดเจน วัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลง บุคลากรผู้ให้บริการที่มีความรู้และทักษะด้านดิจิทัล หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสม และการเปลี่ยนผ่านสู่องค์กรดิจิทัลส่วนสำคัญอีกอย่างนั่นก็คือ การจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอเพื่อให้สามารถดำเนินการปรับเปลี่ยนได้อย่างราบรื่นและประสบความสำเร็จ การเปลี่ยนแปลงของห้องสมุดหรือพื้นที่การเรียนรู้ต่างๆ ล้วนแล้วแต่ต้องใช้ปัจจัย และงบประมาณเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพราะการเรียนรู้จึงไม่มีขีดจำกัด ดังนั้นในการนำเรื่องอุปกรณ์เครื่องมือหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในห้องสมุดเพื่อให้ตอบโจทย์กับผู้ใช้บริการในยุคดิจิทัลนั้น ต้องใช้เวลาและวางแผนควบคุมงบประมาณเป็นอย่างดี เพื่อให้ห้องสมุดกับมามีชีวิตและให้บริการ ตอบโจทย์สำหรับยุคดิจิทัลในปัจจุบัน

เอกสารอ้างอิง 

1. https://www.thekommon.co/library-adaptation/

2. https://www.gotoknow.org/posts/224418