3.1.1 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตเยื่อกระดาษ
ชื่อสารเคมี |
สูตรเคมี |
ประเภทของสาร |
ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ |
ข้อมูล SDS (link) |
หมายเหตุ |
Sodium hydroxide | NaOH |
ของเหลวไม่มีสี ไม่มีกลิ่น |
ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา | ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบคราฟท์, ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบโซดา, สารฟอกเยื่อ | |
Sodium sulfide | Na2S |
ของแข็งสีขาวเหลือง |
ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา | ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบคราฟท์ | |
Sulfurous acid | H2SO3 | ของเหลวไม่มีสี กลิ่นฉุน |
ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา | Link | ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบซัลไฟต์ |
Magnesium Bisulfite | Mg(HSO3)2 | เป็นของเหลว | เป็นพิษหากสูดดมหรือการกลืนกินและกัดกร่อน | Link | ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบซัลไฟต์ |
Sodium bisulfite | NaHSO3 |
ของแข็งสีขาว |
ระคายเคืองต่อดวงตาอย่างรุนแรง | Link | ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบซัลไฟต์ |
Sodium sulfite | Na2SO3 | ของแข็งสีค่อนข้างขาว ไม่มีกลิ่น |
ทำให้เกิดการแพ้ที่ผิวหนัง | Link 1 Link 2 | ใช้ในกระบวนการผลิตเยื่อกึ่งเคมี |
Sodium carbonate | Na2CO3 | ของแข็งสีขาว ไม่มีกลิ่น |
ระคายเคืองต่อดวงตาอย่างรุนแรง | Link | ใช้ในกระบวนการผลิตเยื่อกึ่งเคมี |
Sodium dithionite | NaOCl |
ของแข็งสีขาว |
ระคายเคืองต่อดวงตาอย่างรุนแรง | Link | สารฟอกเยื่อ |
Sodium peroxide | Na2O2 |
ของแข็งสีเหลืองอ่อน ไม่มีกลิ่น |
ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา | Link | สารฟอกเยื่อ |
Sodium Thiosulfate | Na2S2O3 | ของเหลวไม่มีสี ไม่มีกลิ่น |
ระคายเคือง แสบร้อนที่ผิวหนัง | Link | สารฟอกเยื่อ |
Calcium hypochlorite | Ca(ClO)2 | ของแข็งสีขาวเทา กลิ่นคล้ายคลอรีน |
ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา | Link | สารฟอกเยื่อ |
Chlorine dioxide | ClO2 |
แก๊สไม่มีสี |
- ระคายเคือง แสบร้อนที่ผิวหนัง |
Link | สารฟอกเยื่อ |
Hydrogen peroxide | H2O2 |
ของเหลวไม่มีสี ไม่มีกลิ่น |
ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา | Link | สารฟอกเยื่อ |
Oxygen | O2 |
แก๊สไม่มีสี ไม่มีกลิ่น |
- | Link | สารฟอกเยื่อ |
Ozone | O3 |
แก๊สมีกลิ่นฉุน มีสีฟ้าอ่อน |
ระคายเคืองต่อดวงตาและทางเดินหายใจ | Link | สารฟอกเยื่อ |
3.1.2 เครื่องมือ/เครื่องจักร/วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษ
3.1.2.1 การผลิตเยื่อเชิงกลจากไม้
- เครื่องผลิตด้วยหินบด (Stone ground wood, SGW) หรือเครื่องผลิตเยื่อด้วยจานบด (Refiner mechanical pulp, RMP)
3.1.2.2 การผลิตเยื่อเชิงเคมีจากไม้
- หม้อต้มเยื่อชนิดเดี่ยว (Batch digester) หรือหม้อต้มเยื่อแบบต่อเนื่อง (Continuous digester)
3.1.2.3 การฟอกเยื่อกระดาษ
- หอฟอกเยื่อกระดาษ (Bleaching tower)
3.1.2.4 การผลิตกระดาษด้วยเยื่อเวียนทำใหม่ หรือเยื่อกระดาษ
1. เครื่องตีเยื่อกระดาษให้แตกออกเป็นเส้นใย (Hydra pulper)
2. เครื่องคัดแยกเส้นใยจากน้ำเยื่อที่มีสิ่งสกปรกสูง (Contaminex)
3. ขั้นตอนการทำความสะอาดเยื่อแบบหยาบ (Coarse screen) ประกอบด้วย เครื่องคัดแยกเส้นใยแบบเขย่า (Vibration Screen) และเครื่องกำจัดสิ่งแปลกปลอมความหนาแน่นสูงด้วยแรงเวี่ยงหนีศูนย์กลาง (High-consistency centrifugal separators หรือ HD cleaner)
4. ขั้นตอนการทำความสะอาดเยื่อแบบละเอียด (Fine screen) ประกอบด้วย เครื่องคัดแยกเส้นใยด้วยแรงดัน (Pressure Screen) และเครื่องกำจัดสิ่งแปลกปลอมความหนาแน่นต่ำด้วยแรงเวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Low-consistency centrifugal separators หรือ LC cleaner)
5. เครื่องเพิ่มความเข้มข้นของน้ำเยื่อ (Thickener)
6. เครื่องกำจัดหมึกพิมพ์และจุดสกปรก (Deinking หรือ Dispersing)
3.1.3 ขั้นตอนการผลิตเยื่อ
วัตถุประสงค์หลักของการผลิตเยื่อก็เพื่อต้องการแยกเส้นใยออกมาจากองค์ประกอบอื่นของไม้การผลิตเยื่อสามารถทำได้หลายวิธีทั้งโดยวิธีเคมีและเชิงกล เยื่อที่ได้จะนำไปผ่านการฟอกให้ขาว ถ้าเป็นเยื่อที่ใช้สำหรับทำกระดาษที่ใช้เพื่อการสื่อสารต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นว่าในขั้นตอนนี้จะต้องประกอบด้วยกรรมวิธีการผลิตเยื่อและการฟอกเยื่อ
3.1.3.1 กระบวนการผลิตเยื่อ (Pulping process) เยื่อมีหลายชนิดการเรียกชื่อขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการผลิต ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบต่าง ๆ ของพลังงานที่ใช้ ได้แก่ พลังงานความร้อน พลังงานเคมี และพลังงานกล แบ่งออกได้ดังนี้
(1) กระบวนการผลิตเยื่อเชิงกล (Mechanical pulping process) ดังแสดงดังภาพที่ 3 จะใช้พลังงานกลควบคู่ไปกับพลังงานความร้อนในการแยกเส้นใยออกมา โดยชิ้นไม้จะถูกส่งเข้าเครื่องบด ซึ่งจะทำหน้าที่บดและตัดจนชิ้นไม้แหลกละเอียดเป็นเยื่อไม้ เยื่อที่ได้เรียกเยื่อไม้บดหรือเยื่อเชิงกลให้ผลผลิตเยื่อในช่วงมากกว่าร้อยละ 85 เยื่อไม้บดจะมีเนื้อค่อนข้างหยาบกระด้าง เส้นใยที่ได้จากเยื่อไม้บดนี้ส่วนใหญ่ไม่สมบูรณ์จะมีการขาดและตัดเป็นท่อน ๆ นอกจากนี้ยังมีมัดของเส้นใย (Bundle of fiber) ปนอยู่ด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าในเยื่อไม้บดจะประกอบด้วย 1) Fines ซึ่งเกิดจากการฉีกขาดของเส้นใย 2) เส้นใย (Individual fiber) เส้นใยเดี่ยวไม่ค่อยสมบูรณ์ 3) มัดของเส้นใย ซึ่งประกอบด้วยเส้นใยหลายๆเส้นเกาะติดกันเป็นมัด ดังภาพที่ 4 และ 5
ภาพที่ 3 การผลิตเยื่อเชิงกล
ภาพที่ 4 แสดงส่วนละเอียด fine ของเยื่อไม้บด ภาพที่ 5 แสดงเส้นใยของเยื่อไม้บด
เยื่อชนิดนี้เมื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการทำกระดาษจะให้สมบัติตามส่วนประกอบทั้ง 3 คือ เส้นใยฝอยจะเพิ่มสมบัติด้านทึบแสง เส้นใยไม่ค่อยสมบูรณ์ และยังคงมีลิกนินตกค้างอยู่มากทำให้พันธะระหว่างเส้นใยต่ำเยื่อชนิดนี้จึงไม่เหมาะที่จะนำไปทำกระดาษที่ต้องรับแรงสูง เยื่อชนิดนี้มีราคาถูก เหมาะสำหรับทำสิ่งพิมพ์ ราคาถูก เช่น หนังสือพิมพ์ หรือใช้เป็นเยื่อชั้นในกระดาษแข็ง
(2) กระบวนการผลิตเยื่อกึ่งเคมี (Semi-chemical pulping process) เป็นกระบวนการผลิตเยื่อที่ต้องอาศัยทั้งพลังงานกลเช่นเดียวกับการผลิตเยื่อเชิงกล และมีการใช้พลังงานเคมีเข้ามาช่วยให้เส้นใยแยกตัวเป็นอิสระง่ายขึ้น สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ โซเดียมซัลไฟต์ชนิดที่เป็นกลาง (Neutral sodium sulfite) โซเดียมคาร์บอเนต (Sodium carbonate) เยื่อที่ผลิตได้ ได้แก่ NSSC (Neutral sulfite semichemical) ซึ่งยังคงมีปริมาณลิกนินอยู่บ้างแต่น้อยกว่าปริมาณลิกนินในเยื่อเชิงกล เยื่อชนิดนี้นำไปผลิตกระดาษพิมพ์ดีดหรือกระดาษสมุดนักเรียน
(3) กระบวนการผลิตเยื่อเคมี (Chemical pulping process) การผลิตเยื่อตามกรรมวิธีนี้จะใช้ พลังงานเคมีและพลังงานความร้อนในการทำให้เส้นใยแยกจากกัน โดยชิ้นไม้จะถูกส่งเข้าหม้อต้มเยื่อ (Digester) ลิกนินออกไปเหลือส่วนที่ไม่ละลาย คือ เยื่อ เยื่อเคมีมีหลายชนิดเรียกชื่อตามสารเคมีที่ใช้ในการผลิต เช่น เยื่อซัลเฟต เยื่อซัลไฟท์และเยื่อโซดา เยื่อเคมีให้ผลผลิตเยื่อประมาณร้อยละ 40 เยื่อเคมีที่ได้จะมีลักษณะนุ่มมีสีค่อนข้างคล้ำ และเส้นใยที่ได้จะสมบูรณ์ ดังภาพที่ 8
เยื่อชนิดนี้มีปริมาณการใช้สูงมากเพราะสามารถพัฒนาศักยภาพของเส้นใยให้สามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวางเหมาะทั้งใช้ในงานรับแรงและเพื่อการสื่อสาร ถ้าใช้ในงานรับแรง เช่นนำไปทำกระดาษบรรจุภัณฑ์ไม่จำเป็นต้องฟอก แต่ถ้าใช้เพื่อการสื่อสารจะต้องนำไปฟอกให้ขาวก่อน
ภาพที่ 6 หม้อต้มเยื่อแบบเดี่ยว ภาพที่ 7 หม้อต้มเยื่อแบบต่อเนื่อง
ภาพที่ 8 แสดงเส้นใยของเยื่อเคมี
นอกจากนี้ในการผลิตกระดาษจะมีการนำกระดาษที่ใช้แล้วประเภทกระดาษหนังสือพิมพ์ กล่องกระดาษ หนังสือทั่วไป เป็นต้น นำกลับไปใช้ในการผลิตเยื่อกระดาษใหม่ เยื่อที่ได้เรียกว่าเยื่อเวียนทำใหม่ ในปัจจุบันกระดาษที่ใช้แล้ว (Reclaimed และ Waste paper) นับได้ว่าเป็นแหล่งเส้นใยที่สำคัญแหล่งหนึ่ง ได้มีการนำเศษกระดาษที่ใช้แล้วทั้งภายในและภายนอกประเทศมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษเยื่อที่ได้จากเศษกระดาษที่ใช้แล้ว เส้นใยที่ได้จากเยื่อชนิดนี้เรียกว่า recycled fiber ดังภาพที่ 9
ภาพที่ 9 แสดงส่วนของเส้นใยของเยื่อเศษกระดาษที่ใช้แล้ว
เนื่องจากกระดาษที่ผ่านการใช้แล้วมีมากมายหลายประเภท เช่น ถ้าเป็นกระดาษที่ผ่านการพิมพ์ต่าง ๆ มาแล้ว ก่อนนำมาทำเป็นเยื่อต้องผ่านขบวนการเอาหมึกออก (Deinking) เสียก่อนแล้วจึงนำไปฟอกให้ขาวเยื่อจากกระดาษหรือเศษกระดาษที่ได้ส่วนมากจะนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษพิมพ์เขียน กระดาษชำระทำเป็นเยื่อชั้นในของกระดาษแข็ง เป็นต้น
3.1.3.2 การฟอกเยื่อ (Bleaching) การฟอกเยื่อเป็นการทำให้เยื่อมีสีขาวเหมาะกับการใช้ทำกระดาษเพื่อการสื่อสารต่าง ๆ การฟอกเยื่อมี 2 วิธี คือ
(1) วิธีฟอกเยื่อเพิ่ื่อขจัดลิกนินออกไป (Removing lignin)
เยื่อเคมีจะฟอกโดยใช้วิธีกำจัดลิกนินออกไปโดยใช้สารเคมีทำปฏิกิริยากับลิกนินแล้วกำจัดลิกนินออกไป การฟอกแบบนี้มีหลายขั้นตอนการฟอก โดยทั่วไปจะมีตั้งแต่ 3-5 ขั้นตอน (CEH CEDEP CEOP) เยื่อที่ได้มีความขาวสว่างสูงประมาณร้อยละ 80-95 เมื่อวัดด้วยเครื่องวัดความขาวสว่างของกระดาษ ขั้นตอนในการฟอกจะมีชื่อเรียกตามสารเคมีที่ใช้ฟอก และขั้นตอนการฟอกจะเรียงลำดับตามอักษรที่ใช้เรียก เช่น การฟอกแบบ CEDED เป็นต้น ดังภาพที่ 10
ภาพที่ 10 ขั้นตอนการฟอกเยื่อ แบบ CEDED
ตารางแสดงสัญญลักษณ์และเรียกชื่อขั้นตอนการฟอก | ||
สารเคมี | สัญลักษณ์ | เรียกชื่อขั้นตอนการฟอก |
chlorine | C | ขั้นคลอริเนชั่น (Chlorination stage) |
sodium hydroxide | E | ขั้นแอ็กแทร็กชั่น (Extraction stage) |
calcium hypochlorite | H | ขั้นไฮโปคลอไรท์ (Hypochlorite stage) |
chlorine dioxide | D | ขั้นคลอรีนไดออกไซด์ (Chlorine dioxide stage) |
hydrogen peroxide | P | ขั้นเปอร์ออกไซด์ (Peroxide stage) |
oxygen | O | ขั้นออกซิเจน (Oxygen stage) |
ozone | Z | ขั้นโอโซน (Ozone stage) |
acid | A | ขั้นแอสิก (Acid stage) |
(2) วิธีฟอกเพื่อเปลี่ยนสีของลิกนินให้อยู่ในรูปไม่มีสี (Bleaching lignin)
การฟอกเยื่อแบบนี้สารเคมีที่ใช้ฟอกเยื่อจะทำปฏิกิริยากับลิกนินและเปลี่ยนสีลิกนินให้อยู่ในรูปของสารที่ปราศจากสี การฟอกแบบนี้ไม่ทำให้ผลผลิตเยื่อลดลงและเป็นการฟอกแบบขั้นตอนดียว เยื่อฟอกมีความขาวสว่างปานกลาง และไม่คงทน เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดการการกลับสี โดยความขาวสว่างจะลดลงและกระดาษมีสีเหลือง สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ โซเดียมเปอร์ออกไซด์ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์
3.1.3.3. การเตรียมน้ำเยื่อ (Stock preparation)
ในขั้นการเตรียมน้ำเยื่อนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ (1) เพื่อพัฒนาศักยภาพของเส้นใย โดยการนำเยื่อไปบด และ (2) เพื่อปรับปรุงสมบัติกระดาษให้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานโดยการผสมหรือใส่สารเติมแต่งชนิดต่างๆ ตามอัตราส่วนที่กำหนด ส่วนผสมที่ได้นี้เรียกว่า “น้ำเยื่อ” หรือ “สต๊อค (Stock)” เยื่อที่นำมาทำกระดาษทุกชนิดจะต้องผ่านการบดแต่จะบดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับคุณภาพของเยื่อ เยื่อบางชนิดไม่จำเป็นต้องบด เช่น เยื่อไม้บดและเยื่อหมุนเวียนทำใหม่
ในขั้นตอนการเตรียมน้ำเยื่อประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการบดและผสม โดยมีขั้นตอนการปฏิบัตการเรียงตามลำดับดังภาพที่ 11
ภาพที่ 11 ขั้นตอนการเตรียมน้ำเยื่อ
(1) การกระจายเส้นใย (Defibering) |
- กระจายเยื่อเพื่อให้เส้นใยแยกออกจากกันเป็นอิสระในน้ำ โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าไฮดราพัลพ์เพอร์ (Hydra pulper) ดังภาพที่ 12 |
(2) การบดเยื่อ (Refining) |
- บดเยื่อเพื่อให้เส้นใยแตกแขนงเป็นการเพิ่มศักยภาพของพันธะระหว่างเส้นใยให้สูงขึ้นอุปกรณ์ที่ใช้คือ เครื่องบดเยื่อ (Refiner) |
(3) การผสมน้ำเยื่อ (Blending) |
- เป็นการเติมสารเติมแต่งลงไปผสมกับเยื่อที่ผ่านการบดแล้วโดยผสมในถังใบพัดกวน เยื่อจะถูกเก็บไว้ในถังที่เรียกว่าแมชชีนเชสท์ (Machine chest) |
(4) การแยกสิ่งสกปรกออก (Screening and Cleaning) |
- การแยกสิ่งสกปรกออกจากน้ำเยื่อโดยใช้ตะแกรงราบ (Flat screener) ดังภาพที่ 13 เพื่อคัดวัสดุที่มีขนาดใหญ่กว่าเส้นใยออก แล้วผ่านเข้าสู่เครื่องทำความสะอาด ที่เรียกว่า เซนตริคลีนเนอร์ (Centrifugal cleaner) ดังภาพที่ 14 จะคัดแยกวัสดุอื่นออกไป โดยใช้หลักความถ่วงจำเพาะที่ต่างกัน |
(5.) การควบคุมความข้นของน้ำเยื่อ (Consistency regulator) |
- เพื่อควบคุมให้น้ำเยื่อมีความเข้มข้นคงที่ |
ภาพที่ 12 แสดงเครื่องไฮดราพัลพ์เพอร์ (Hydra pulper) ภาพที่ 13 แสดงการคัดขนาดโดยตะแกรงราบ ภาพที่ 14 แสดงการใช้ centrifugal cleaner