คำตอบ

จากการวิจัยของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธิดารัตน์ เอกสิทธิกุล และ ดร.สัญญา กุดั่น ได้ทำ
การวิจัยเรื่อง การเพิ่มผลผลิตคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการของเห็ดนางรมที่ได้จากการใช้สารชีวภาพไคโตซานร่วมในการเพาะเห็ด ผลจากการวิจัย สามารถพัฒนาวิธีการและความเข้มข้นของสารชีวภาพไคโตซานที่เหมาะสมในวัสดุเพาะเห็ด ขี้เลื่อยไม้ยางพาราและฟางข้าวเพื่อเพิ่มผลผลิตคุณภาพของเห็ดนางรม โดยพบว่าสารชีวภาพไคโตซานสามารถช่วยให้เห็ดนางรมมีการเจริญของเส้นใยเร็วขึ้น เวลาการออกดอกลดลง ช่วยเพิ่มผลผลิตของเห็ดนางรม และให้ปริมาณสารอาหาร เช่น คาร์โบไฮเดรต ใยอาหาร โปรตีน และค่าการให้พลังงานเพิ่มขึ้น ตลอดจนสามารถช่วยยืดอายุของเห็ดนางรมในการเก็บรักษาให้ยาวนานขึ้น เกษตรกรสามารถนำไปใช้ได้จริง ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคและเป็นการนำสารที่มีอยู่ในธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ธิดารัตน์ เอกสิทธิกุล และ สัญญา กุดั่น.  “การใช้สารชีวภาพไคโตซานในการเพิ่มผลผลิตคุณภาพและคุณค่าทางโภชนาการของเห็ดนางรม”.จดหมายข่าว วช. ปีที่ 8, ฉบับที่ 46, (เมษายน-พฤษภาคม) 2556, หน้า 10