คำตอบ

1.เลือกที่มีวันผลิตใกล้เคียงกับวันที่ซื้อ เพื่อให้ได้โยเกิร์ตที่สดใหม่ ซึ่งจะยังมีเชื้อจุลินทรีย์ LAB ที่มีชีวิตจำนวนมาก (เชื้อจุลินทรีย์จะลดจำนวนลงเรื่อยๆ เมื่อผ่านไปหลายวัน)

2.ตู้แช่บริเวณชั้นวางผลิตภัณฑ์ควรมีอุณหภูมิในการเก็บรักษาระหว่าง 2-5 องศาเซลเซียส คือ ต้องเย็นพอๆกับตู้เย็นบ้านหรือเย็นกว่า เนื่องจากจุลินทรีย์ LAB ชอบอากาศเย็น และคงสภาพมีจำนวนเชื้อที่มีชีวิตมากกว่าในที่อากาศร้อน

3.พลิกดูฉลากอ่านชื่อเชื้อจิลินทรีย์ที่มีอยู่ในถ้วยถ้าเป็น สเตร็ปโตค็อคคัส เทอร์โมฟิลัสและแลคโตแบซิลลัส บัลการิคัส เพียงสองชนิดจัดว่าเป็นโยเกิร์ตธรรมดา แต่หากต้องการโยเกิร์ตที่เป็นโพรไบโอติก ต้องเลือกที่มีเชื้ออื่นที่ข้างถ้วย โดยโพรไบโอติกที่มีอยู่ในโยเกิร์ตในท้องตลาดบ้านเราคือ ไบฟิโดแบคทีเรียม ไบฟิดุม ไบฟิโดแบคทีเรียม แอนิมาลิส แลคโตแบซิลลัส แอซิโดฟิลลัส เป็นต้น

4.โยเกิร์ตแบบโพรไบโอติก จะมีคุณสมบัติในเรื่องของการช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น ถ้าคุณเป็นคนท้องผูกควรลองรับประทานโยเกิร์ตประเภทนี้ แต่ถ้ามีระบบขับถ่ายไว ควรเลือกรับประเทานโยเกิร์ตธรรมดา

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

เชื้อจุลินทรีย์ในโยเกิร์ต. ฉลาดซื้อ.ปีที่ 22, ฉบับที่ 182 (เมษายน) 2559, หน้า 25.