คำตอบ
แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพของห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ประกอบด้วย
1. การออกแบบห้องปฏิบัติการ ห้องปฏิบัติการต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ รวมทั้งแหล่งพลังงานไฟฟ้า แสงสว่าง ภาวะแวดล้อมต้องเอื้ออำนวยให้เกิดการทดสอบและทำงานได้อย่างถูกต้อง รวมทั้งต้องมีการแยกพื้นที่และกิจกรรมที่อาจมีการปนเปื้อนข้ามออกจากกัน
2. แบบแปลนของห้องปฏิบัติการ ต้องออกแบบให้มีความสะดวกในการปฏิบัติงาน มีระยะของทางเดินในการปฏิบัติงานที่เหมาะสมกับกิจกรรมของงาน การออกแบบที่ตั้งของเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้งานที่จำเป็นสำหรับห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยาต้องเหมาะสม เช่น หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ เตาอบ ตู้บ่ม เครื่องชั่ง อ่างล้างมือ เป็นต้น นอกจากนี้ควรกำหนดพื้นที่ส่วนต่าง ๆ ในห้องปฏิบัติการให้เป็นสัดส่วน เช่น ที่เก็บสารเคมีอาหารเลี้ยงเชื้อ ที่เก็บเครื่องแก้ว ห้องเครื่องชั่งน้ำหนัก ห้องเย็น ตู้เย็นสำหรับเก็บตัวอย่าง ห้องล้างอุปกรณ์ ห้องฆ่าเชื้อ ห้องเตรียมสารเคมีและอาหารเลี้ยงเชื้อ ห้องเตรียมตัวอย่าง ห้องสำหรับตู้ดูดควัน ตู้ปลอดเชื้อ ห้องวิเคราะห์ตัวอย่าง ห้องวางอุปกรณ์ที่มีความร้อน ห้องเครื่องมือ ห้องทำงานสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ห้องเก็บเอกสาร ห้องคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
3. สถานที่ ภาวะแวดล้อม อุปกรณ์และเครื่องมือห้องทำงานควรแยกจากห้องปฏิบัติการทดสอบ ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เครื่องกรองอากาศ ไม่ควรใช้พัดลมในการลดอุณหภูมิห้อง ควรควบคุมอุณหภูมิของห้องประมาณ 25C ความชื้นสัมพัทธ์ 45-70%RH พร้อมทั้งตรวจสอบปริมาณจุลินทรีย์ในสิ่งแวดล้อมของห้องปฏิบัติการ โดยเฉพาะบนพื้นผิวสัมผัสและในอากาศ และทำความสะอาดพื้น โต๊ะ และอุปกรณ์ห้องปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ อาจมีการติดตั้งหลอดอัลตราไวโอเลต (UV) เพื่อลดเชื้อจุลินทรีย์บนพื้นผิวสำหรับปฏิบัติงาน
รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง
ศันสนีย์ ชีระพันธ์. ความปลอดภัยทางชีวภาพในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา. วารสารกรมวิทยาศาสตร์บริการ.ปีที่ 60, ฉบับที่ 190 (กันยายน), 2555 หน้า 16-17