คำตอบ
1.การเจือจางน้ำยาง เป็นการทำให้ขี้โล้ (sludge) ตกตะกอนหายไประหว่างที่น้ำยางจับตัว ทำให้ยางแผ่นใสแวว มีราคาขึ้น
2.การเจือจางน้ำยางทำให้สามารถใส่ฟองอากาศในน้ำยางออกได้ง่ายขึ้น ทำให้ยางแผ่นไม่มีฟองอากาศ ช่วยทำให้ยางแผ่นไม่ตกชั้นไปอยู่ชั้น 4 ชั้น 5
3.การเจือจางน้ำยางทำให้กรดกระจายตัวแทรกอยู่ในน้ำยางได้ง่ายขึ้น น้ำยางจับตัวพร้อมกันตลอดทั้งแผ่น ทำให้ได้ยางแผ่นที่มีผิวเรียบ สม่ำเสมอ ไม่เป็นหลุมเป็นบ่อ สม่ำเสมอตลอดทั้งแผ่น ไม่ดำ ๆ ด่าง ๆ นี่คือลักษณะของยางแผ่นรมควันชั้น 1 หรือชั้น 2 เป็นส่วนใหญ่
4.การเจือจางน้ำยางเป็นการปรับระยะเวลาการจับตัวของน้ำยาง (Maturation Time) ให้เหมาะแก่การปฏิบัติงาน ช่วยให้การทำแผ่นสะดวกยิ่งขึ้น น้ำยางที่ข้นกว่าจะจับตัวได้เร็วกว่าน้ำยางที่เจือจางกว่า เพราะฉะนั้นจึงสามารถปรับระยะเวลาการนวด หรือการรีดได้สะดวก
5.การเจือจาง เป็นการกำหนดความหนาและขนาดของยางแผ่น น้ำยางที่ข้นกว่าเมื่อรีดออกมาแล้ว จะได้แผ่นหนาแต่มีขนาดเล็ด ส่วนน้ำยางที่เจือจางเมื่อรีดแล้วจะได้แผ่นบางกว่า แต่มีขนาดใหญ่ขึ้น ความหนามีผลต่อปริมาณความชื้นในแผ่น และระยะเวลาการรมให้แห้งด้วย
แต่ก็ไม่ควรเจือจางน้ำยางจนมากไป เพราะน้ำยางจะจับตัวช้าลง ในทางตรงกันข้ามหากจะให้เวลาจับตัวเท่าเดิมก็จะต้องเพิ่มกรดให้มากขึ้น ทำให้สิ้นเปลืองมากขึ้น
รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง
กองบรรณาธิการ. “การเจือจางน้ำยางมีผลต่อคุณภาพยางแผ่น”. นิตยสารยางไทย. ปีที่ 2, ฉบับที่ 12, (ธันวาคม), 2554, หน้า 14.