คำตอบ

การผลิตไคโตซานโดยใช้สารเคมีกรดและด่าง มีขั้นตอนการผลิตดังนี้
1. วัตถุดิบที่ใช้ ได้แก่ เปลือกกุ้ง ซึ่งโดยทั่วไปมักเป็นเปลือกกุ้งกุลาดำ นำกุ้งมาล้างทำความสะอาดแยกส่วนเนื้อและมันกุ้งออกให้หมด ผึ่งให้แห้งหมาด ผู้ผลิตบางรายอาจมีขั้นตอนของการบดลดขนาดเปลือกกุ้ง ก่อนนำมาเตรียมเป็นไคตินและไคโตซาน
2. การแยกโปรตีน (Deproteination) โดยนำเปลือกกุ้งที่ผ่านการทำความสะอาดแล้วมาต้มกับสารละลายด่างโซเดียมไฮดรอกไซด์ (NaOH) หรือโซดาไฟ ความเข้มข้น 3-5% ในอัตราส่วนเปลือกกุ้งต่อสารละลายด่าง 1:4 ต้มที่อุณหภูมิ 80-100 องศาเซลเซียส นาน 1-2 ชม. จากนั้นนำไปล้างด้วยน้ำจนหมดความเป็นด่างก่อนนำไปผ่านขั้นตอนถัดไฟ
4.การแยกธาตุ (Decalcification) โดยต้มในสารละลายกรดเกลือ หรือกรดไฮดรอคลอริก (HCI) เข้มข้น 8-10% อัตราส่วนเปลือกกุ้งต่อสารละลายกรด 1.4 ต้มที่อุณหภูมิ 80-100 องศาเซลเซียส นาน 1-2 ชม. จากนั้นนำไปล้างด้วยน้ำจนหมดความเป็นกรด ผึ่งให้แห้ง ในขั้นตอนนี้จะได้สารไคติน (chitin) มีลักษณะเป็นของแข็งสีขาว
5.การแปรสภาพจากไคตินเป็นไคโตซาน โดยผ่านกระบวนการดึงหมู่อะซิทิล (Deacetylation) ด้วยการต้มไคตินกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น 40-50% ในอัตราส่วนไคตินต่อสารละลายด่าง 1:4 ต้มที่อุณหภูมิ 80-100 องศาเซลเซียส นาน 1-2 ชม. นำไปล้างจนหมดความเป็นด่างและทำให้แห้ง จะได้ไคโตซาน ที่มีลักษณะเป็นเกล็ดสีขาวมีลักษณะใสกว่าไคติต

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

“การผลิตไคโตซาน”.  เกษตรกรรมธรรมชาติ.   ปีที่ 13, ฉบับที่ 7, 253, หน้า 74.