รายชื่อบทความแฟ้มข้อมูลเฉพาะเรื่อง (Information File - IF) ประจำเดือน ธันวาคม 2566

IF 17 (107)

Validation of the AnticFastVR Beta-Lactams Rapid Test Kit for detection of Beta-Lactams (Penicillins and Cephalosporins) in raw cow’s milk: AOAC performance tested methodSM 032303

IF 35 (336)

Biohybrid adsorbent for the preconcentration of lead and its determination in fruit juices by electrothermal atomic absorption spectrometry

IF 51 (306)

A three-dimensional tire ring on elastic foundation model in rolling contact with application to intelligent tires

IF 51 (307)

Sulfur vulcanization of low- versus high-unsaturated rubbers (IIR and EPDM versus NR and BR): part ii—network structure and tensile properties

IF 90 (124)

Soft sensor based on Raman spectroscopy for the in-line monitoring of metabolites and polymer quality in the biomanufacturing of polyhydroxyalkanoates

IF 107 (147)

Rice straw-based sustainable food packaging material with improved strength and barrier properties: development and characterization

IF 108 (126)

A review on microstructures and mechanical properties of protective nano-multilayered films or coatings

IF 112 (63)

Kraft pulp viscosity as a predictor of paper strength: its uses and abuses

IF 137 (111)

Effects of different binder types and concentrations on physical and quality properties in marigold (Tagetes erecta L.) seed pelleting

IF 137 (112)

Thin layer drying kinetics and mathematical modeling of moisture diffusivity in Cocoa Pod Husk (CPH)

***หากต้องการเอกสารฉบับเต็ม โปรดติดต่อเจ้าหน้าทางอีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.**

ชื่อสารเคมี

สูตรเคมี

ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

เกณฑ์กำหนดมาตรฐานภายในประเทศ

เกณฑ์กำหนดมาตรฐานต่างประเทศ

ห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบ

เบอร์โทร/อีเมลล์ติดต่อ

ได้รับการรับรอง/ ขึ้นทะเบียน

AOX

-

เป็นพิษต่อร่างกาย เป็นสารก่อมะเร็ง

ไม่สลายตัวทางชีวภาพ เป็นพิษสะสมในแหล่งน้ำ

ไม่มากกว่า 0.12 kg/ADT paper

0.12 kg/ADT paper

1. ห้องปฏิบัติการกลุ่มเส้นใยธรรมชาติ
กองวัสดุวิศวกรรม
กรมวิทยาศาสตร์บริการ

02-201-7121

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

มาตรา 5/ฉลากเขียว

 

 

2. ห้องปฏิบัติการทดสอบ บริษัท ทียูวี ไรน์แลนด์ (ประเทศไทย) จำกัด

02-326-2417

Rangrong.Tassanapayak

@tuv.com

ฉลากเขียว

 

pH

 

H+, OH

มีฤทธิ์กัดกร่อน ระบบสมดุลในร่างกายเปลี่ยนแปลง

ทำให้สมดุลน้ำเสีย ทำลายพื้นผิวที่เป็นหินอ่อนและหินปูน

5 6 pH

6.5 – 8.5 (WHO)

1. ห้องปฏิบัติการกลุ่มเส้นใยธรรมชาติ กองวัสดุวิศวกรรมกรมวิทยาศาสตร์บริการ

02-201-7121

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

ISO17025/

มาตรา 5/

ฉลากเขียว

 

2. สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ สาขาที่ 00002

02-7135492 ต่อ 547

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

ฉลากเขียว

 

3. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

02-441-5000

 

BOD

 

-

 

หากมีค่าสูง หมายถึงมีสารอินทรีย์มาก คุณภาพน้ำไม่ดี สัตว์น้ำได้รับออกซิเจนน้อยลง ระบบนิเวศอาจได้รับความเสียหาย

20 mg/L

 

5 mg/L (WHO สำหรับน้ำดื่ม)

10 mg/L (สหรัฐอเมริกา)

20 mg/L (สหราชอาณาจักร)

1. กลุ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อม กองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค กรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

02-201-7148

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

 

 

 

ISO17025

 

 

 

 

 

 

2. บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด

062-337-0067

sscoillab@thailand

wastemanagement.com

 

3. กองห้องปฏิบัติการ

สาธารณสุช กรมอนามัย

02-968-7603

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

4. บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (ยูเออี)

02-763-2898-99

uae@uae

consultant.com

 

ISO17025

 

5. บริษัท ไทยปาร์กเกอร์ไรซิ่ง จำกัด

02-324-6600

02-709-4900

 

ISO17025

6. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

02-441-5000

 

COD

-

ร่างกายอาจได้รับสารพิษหรือสารเคมีที่เจือปนอยู่ในน้ำ

หากมีค่าสูง หมายถึงคุณภาพน้ำไม่ดี หรือน้ำมีความสกปรกมาก เกิดมลพิษทางน้ำ

120 mg/L

 

120 mg/L (สำหรับน้ำดื่ม)

 

1. กลุ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อม กองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค กรมวิทยาศาสตร์บริการ

02-201-7148

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

 

ISO17025

 

2. บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด

 

062-337-0067

sscoillab@thailand

wastemanagement.com

 

 

3. กองห้องปฏิบัติการ

สาธารณสุช กรมอนามัย

 

02-968-7603

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

 

4. บริษัท ยูไนเต็ด แอนนาลิสต์ แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด (ยูเออี)

02-763 2898- 99

uae@uae

consultant.com

 

ISO17025

5. บริษัท ไทยปาร์กเกอร์ไรซิ่ง จำกัด

02-324-6600

02-709-4900

ISO17025

6. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

02-441-5000

 

SS

 

-

ส่งผลต่อระบบทางเดินอาหาร (ท้องเสีย อาเจียน)

ทำลายเหงือกปลา ส่งผลกระทบต่อระบบแลกเปลี่ยนแก๊สของสัตว์น้ำ ทำให้แสงแดดส่องลงมาในน้ำลดลง อุณหภูมิของน้ำลดลง

300 – 500 mg/L

100 mg/L

1. กลุ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อม กองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค กรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

02-201-7148

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

ISO17025

 

 

2. บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด

062-337-0067

sscoillab@thailand

wastemanagement.com

 

3. กองห้องปฏิบัติการ

สาธารณสุช กรมอนามัย

02-968-7603

02-324-6600

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

4. บริษัท ไทยปาร์กเกอร์ไรซิ่ง จำกัด

02-709-4900

 

ISO17025

 

5. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

02-441-5000

 

TDS

 

 

 

 

 

-

 

 

 

 

ทำให้เกิดนิ่วในไต

 

 

 

 

ทำให้น้ำขุ่น กระบวนสังเคราะห์ด้วยแสงของพืชน้ำลดลง ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ

 

 

 

 

2,400 – 2,800 mg/L

 

 

 

 

1,000 ppm

 

 

 

 

1. กลุ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อม กองเคมีภัณฑ์และผลิตภัณฑ์อุปโภค กรมวิทยาศาสตร์บริการ

02-201-7148

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

ISO17025

 

2. บริษัท เอส เอส ซี ออยล์ จำกัด

062-337-0067

sscoillab@thailand

wastemanagement.com

ISO17025

 

3. กองห้องปฏิบัติการสาธารณสุช กรมอนามัย

02-968-7603

02-324-6600

This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

 

4. บริษัท ไทยปาร์กเกอร์ไรซิ่ง จำกัด

02-709-4900

 

 

5. คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

02-441-5000

 

3.1.1  สารเคมีที่ใช้ในการผลิตเยื่อกระดาษ

  

ชื่อสารเคมี

สูตรเคมี

ประเภทของสาร

ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ข้อมูล SDS (link)

หมายเหตุ

Sodium hydroxide NaOH 

ของเหลวไม่มีสี

ไม่มีกลิ่น 
 ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา

Link 1 Link 2 

ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบคราฟท์, ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบโซดา, สารฟอกเยื่อ 
Sodium sulfide Na2

ของแข็งสีขาวเหลือง
ไม่มีกลิ่น

ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา

Link 1 Link 2 

 ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบคราฟท์
Sulfurous acid H2SO3   ของเหลวไม่มีสี
กลิ่นฉุน
 ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา  Link ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบซัลไฟต์
Magnesium Bisulfite  Mg(HSO3)2  เป็นของเหลว เป็นพิษหากสูดดมหรือการกลืนกินและกัดกร่อน  Link ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบซัลไฟต์ 
Sodium bisulfite   NaHSO3

ของแข็งสีขาว
มีกลิ่นเล็กน้อย

 ระคายเคืองต่อดวงตาอย่างรุนแรง Link ใช้ในกระบวนการต้มเยื่อแบบซัลไฟต์ 
Sodium sulfite   Na2SO3  ของแข็งสีค่อนข้างขาว
ไม่มีกลิ่น
ทำให้เกิดการแพ้ที่ผิวหนัง  Link 1 Link 2 ใช้ในกระบวนการผลิตเยื่อกึ่งเคมี 
Sodium carbonate   Na2CO3  ของแข็งสีขาว
ไม่มีกลิ่น
ระคายเคืองต่อดวงตาอย่างรุนแรง   Link ใช้ในกระบวนการผลิตเยื่อกึ่งเคมี 
Sodium dithionite   NaOCl

ของแข็งสีขาว
มีซัลเฟอร์เล็กน้อย

 ระคายเคืองต่อดวงตาอย่างรุนแรง  Link สารฟอกเยื่อ
 Sodium peroxide  Na2O2

ของแข็งสีเหลืองอ่อน

ไม่มีกลิ่น 
ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา   Link สารฟอกเยื่อ
 Sodium Thiosulfate Na2S2O3   ของเหลวไม่มีสี
ไม่มีกลิ่น
ระคายเคือง แสบร้อนที่ผิวหนัง   Link  สารฟอกเยื่อ
 Calcium hypochlorite  Ca(ClO)2  ของแข็งสีขาวเทา
กลิ่นคล้ายคลอรีน
ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา  Link  สารฟอกเยื่อ
Chlorine dioxide ClO2

แก๊สไม่มีสี
กลิ่นเฉพาะตัวอ่อนๆ

- ระคายเคือง แสบร้อนที่ผิวหนัง
- สูดดม ทำให้เกิดแสบจมูกและลำคอ
- กลืน ทำให้เกิดการคลื่น ไส้ อาเจียน ปวดท้อง แต่มักไม่รุนแรง

Link สารฟอกเยื่อ
Hydrogen peroxide H2O2

ของเหลวไม่มีสี

ไม่มีกลิ่น
ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา  Link สารฟอกเยื่อ
Oxygen O2

แก๊สไม่มีสี

ไม่มีกลิ่น
-  Link สารฟอกเยื่อ
Ozone O3

แก๊สมีกลิ่นฉุน

มีสีฟ้าอ่อน
ระคายเคืองต่อดวงตาและทางเดินหายใจ Link  สารฟอกเยื่อ

3.1.2  เครื่องมือ/เครื่องจักร/วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตเยื่อกระดาษ

                   3.1.2.1 การผลิตเยื่อเชิงกลจากไม้

                               - เครื่องผลิตด้วยหินบด (Stone ground wood, SGW) หรือเครื่องผลิตเยื่อด้วยจานบด (Refiner mechanical pulp, RMP)

                   3.1.2.2 การผลิตเยื่อเชิงเคมีจากไม้

                              - หม้อต้มเยื่อชนิดเดี่ยว (Batch digester) หรือหม้อต้มเยื่อแบบต่อเนื่อง (Continuous digester)

                   3.1.2.3 การฟอกเยื่อกระดาษ

                              - หอฟอกเยื่อกระดาษ (Bleaching tower)

                   3.1.2.4 การผลิตกระดาษด้วยเยื่อเวียนทำใหม่ หรือเยื่อกระดาษ

                                      1. เครื่องตีเยื่อกระดาษให้แตกออกเป็นเส้นใย (Hydra pulper)

                                      2. เครื่องคัดแยกเส้นใยจากน้ำเยื่อที่มีสิ่งสกปรกสูง (Contaminex)

                                      3. ขั้นตอนการทำความสะอาดเยื่อแบบหยาบ (Coarse screen) ประกอบด้วย เครื่องคัดแยกเส้นใยแบบเขย่า (Vibration Screen) และเครื่องกำจัดสิ่งแปลกปลอมความหนาแน่นสูงด้วยแรงเวี่ยงหนีศูนย์กลาง (High-consistency centrifugal separators หรือ HD cleaner)

                                      4. ขั้นตอนการทำความสะอาดเยื่อแบบละเอียด (Fine screen) ประกอบด้วย เครื่องคัดแยกเส้นใยด้วยแรงดัน (Pressure Screen) และเครื่องกำจัดสิ่งแปลกปลอมความหนาแน่นต่ำด้วยแรงเวี่ยงหนีศูนย์กลาง (Low-consistency centrifugal separators หรือ LC cleaner)

                                      5. เครื่องเพิ่มความเข้มข้นของน้ำเยื่อ (Thickener)

                                      6. เครื่องกำจัดหมึกพิมพ์และจุดสกปรก (Deinking หรือ Dispersing)

3.1.3 ขั้นตอนการผลิตเยื่อ

                   วัตถุประสงค์หลักของการผลิตเยื่อก็เพื่อต้องการแยกเส้นใยออกมาจากองค์ประกอบอื่นของไม้การผลิตเยื่อสามารถทำได้หลายวิธีทั้งโดยวิธีเคมีและเชิงกล เยื่อที่ได้จะนำไปผ่านการฟอกให้ขาว  ถ้าเป็นเยื่อที่ใช้สำหรับทำกระดาษที่ใช้เพื่อการสื่อสารต่าง ๆ ซึ่งจะเห็นว่าในขั้นตอนนี้จะต้องประกอบด้วยกรรมวิธีการผลิตเยื่อและการฟอกเยื่อ

                   3.1.3.1 กระบวนการผลิตเยื่อ (Pulping process) เยื่อมีหลายชนิดการเรียกชื่อขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการผลิต ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบต่าง ๆ ของพลังงานที่ใช้ ได้แก่ พลังงานความร้อน พลังงานเคมี และพลังงานกล แบ่งออกได้ดังนี้    

                   (1) กระบวนการผลิตเยื่อเชิงกล (Mechanical pulping process) ดังแสดงดังภาพที่ 3 จะใช้พลังงานกลควบคู่ไปกับพลังงานความร้อนในการแยกเส้นใยออกมา โดยชิ้นไม้จะถูกส่งเข้าเครื่องบด ซึ่งจะทำหน้าที่บดและตัดจนชิ้นไม้แหลกละเอียดเป็นเยื่อไม้ เยื่อที่ได้เรียกเยื่อไม้บดหรือเยื่อเชิงกลให้ผลผลิตเยื่อในช่วงมากกว่าร้อยละ 85 เยื่อไม้บดจะมีเนื้อค่อนข้างหยาบกระด้าง เส้นใยที่ได้จากเยื่อไม้บดนี้ส่วนใหญ่ไม่สมบูรณ์จะมีการขาดและตัดเป็นท่อน ๆ นอกจากนี้ยังมีมัดของเส้นใย (Bundle of fiber) ปนอยู่ด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าในเยื่อไม้บดจะประกอบด้วย 1) Fines ซึ่งเกิดจากการฉีกขาดของเส้นใย 2) เส้นใย (Individual fiber) เส้นใยเดี่ยวไม่ค่อยสมบูรณ์ 3) มัดของเส้นใย ซึ่งประกอบด้วยเส้นใยหลายๆเส้นเกาะติดกันเป็นมัด ดังภาพที่ 4 และ 5

ภาพที่ 3 การผลิตเยื่อเชิงกล 

    

 ภาพที่ 4 แสดงส่วนละเอียด fine ของเยื่อไม้บด               ภาพที่ 5 แสดงเส้นใยของเยื่อไม้บด

         

                   เยื่อชนิดนี้เมื่อนำมาเป็นวัตถุดิบในการทำกระดาษจะให้สมบัติตามส่วนประกอบทั้ง 3 คือ เส้นใยฝอยจะเพิ่มสมบัติด้านทึบแสง เส้นใยไม่ค่อยสมบูรณ์ และยังคงมีลิกนินตกค้างอยู่มากทำให้พันธะระหว่างเส้นใยต่ำเยื่อชนิดนี้จึงไม่เหมาะที่จะนำไปทำกระดาษที่ต้องรับแรงสูง เยื่อชนิดนี้มีราคาถูก เหมาะสำหรับทำสิ่งพิมพ์ ราคาถูก เช่น หนังสือพิมพ์ หรือใช้เป็นเยื่อชั้นในกระดาษแข็ง

                   (2) กระบวนการผลิตเยื่อกึ่งเคมี (Semi-chemical pulping process) เป็นกระบวนการผลิตเยื่อที่ต้องอาศัยทั้งพลังงานกลเช่นเดียวกับการผลิตเยื่อเชิงกล และมีการใช้พลังงานเคมีเข้ามาช่วยให้เส้นใยแยกตัวเป็นอิสระง่ายขึ้น สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ โซเดียมซัลไฟต์ชนิดที่เป็นกลาง (Neutral sodium sulfite) โซเดียมคาร์บอเนต (Sodium carbonate) เยื่อที่ผลิตได้ ได้แก่ NSSC (Neutral sulfite semichemical) ซึ่งยังคงมีปริมาณลิกนินอยู่บ้างแต่น้อยกว่าปริมาณลิกนินในเยื่อเชิงกล เยื่อชนิดนี้นำไปผลิตกระดาษพิมพ์ดีดหรือกระดาษสมุดนักเรียน

                   (3) กระบวนการผลิตเยื่อเคมี (Chemical pulping process) การผลิตเยื่อตามกรรมวิธีนี้จะใช้ พลังงานเคมีและพลังงานความร้อนในการทำให้เส้นใยแยกจากกัน โดยชิ้นไม้จะถูกส่งเข้าหม้อต้มเยื่อ (Digester) ลิกนินออกไปเหลือส่วนที่ไม่ละลาย คือ เยื่อ เยื่อเคมีมีหลายชนิดเรียกชื่อตามสารเคมีที่ใช้ในการผลิต เช่น เยื่อซัลเฟต เยื่อซัลไฟท์และเยื่อโซดา เยื่อเคมีให้ผลผลิตเยื่อประมาณร้อยละ 40 เยื่อเคมีที่ได้จะมีลักษณะนุ่มมีสีค่อนข้างคล้ำ และเส้นใยที่ได้จะสมบูรณ์ ดังภาพที่ 8

                   เยื่อชนิดนี้มีปริมาณการใช้สูงมากเพราะสามารถพัฒนาศักยภาพของเส้นใยให้สามารถใช้งานได้อย่างกว้างขวางเหมาะทั้งใช้ในงานรับแรงและเพื่อการสื่อสาร ถ้าใช้ในงานรับแรง เช่นนำไปทำกระดาษบรรจุภัณฑ์ไม่จำเป็นต้องฟอก แต่ถ้าใช้เพื่อการสื่อสารจะต้องนำไปฟอกให้ขาวก่อน  

            

ภาพที่ 6 หม้อต้มเยื่อแบบเดี่ยว          ภาพที่ 7 หม้อต้มเยื่อแบบต่อเนื่อง

ภาพที่ 8 แสดงเส้นใยของเยื่อเคมี

                   

                   นอกจากนี้ในการผลิตกระดาษจะมีการนำกระดาษที่ใช้แล้วประเภทกระดาษหนังสือพิมพ์ กล่องกระดาษ หนังสือทั่วไป เป็นต้น นำกลับไปใช้ในการผลิตเยื่อกระดาษใหม่ เยื่อที่ได้เรียกว่าเยื่อเวียนทำใหม่ ในปัจจุบันกระดาษที่ใช้แล้ว (Reclaimed และ Waste paper) นับได้ว่าเป็นแหล่งเส้นใยที่สำคัญแหล่งหนึ่ง ได้มีการนำเศษกระดาษที่ใช้แล้วทั้งภายในและภายนอกประเทศมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษเยื่อที่ได้จากเศษกระดาษที่ใช้แล้ว เส้นใยที่ได้จากเยื่อชนิดนี้เรียกว่า recycled fiber ดังภาพที่ 9

ภาพที่ 9 แสดงส่วนของเส้นใยของเยื่อเศษกระดาษที่ใช้แล้ว

                    เนื่องจากกระดาษที่ผ่านการใช้แล้วมีมากมายหลายประเภท เช่น  ถ้าเป็นกระดาษที่ผ่านการพิมพ์ต่าง ๆ มาแล้ว  ก่อนนำมาทำเป็นเยื่อต้องผ่านขบวนการเอาหมึกออก (Deinking) เสียก่อนแล้วจึงนำไปฟอกให้ขาวเยื่อจากกระดาษหรือเศษกระดาษที่ได้ส่วนมากจะนำไปเป็นวัตถุดิบในการผลิตกระดาษพิมพ์เขียน กระดาษชำระทำเป็นเยื่อชั้นในของกระดาษแข็ง เป็นต้น

 3.1.3.2 การฟอกเยื่อ (Bleaching) การฟอกเยื่อเป็นการทำให้เยื่อมีสีขาวเหมาะกับการใช้ทำกระดาษเพื่อการสื่อสารต่าง ๆ การฟอกเยื่อมี 2 วิธี คือ

                   (1) วิธีฟอกเยื่อเพิ่ื่อขจัดลิกนินออกไป (Removing lignin)

                   เยื่อเคมีจะฟอกโดยใช้วิธีกำจัดลิกนินออกไปโดยใช้สารเคมีทำปฏิกิริยากับลิกนินแล้วกำจัดลิกนินออกไป การฟอกแบบนี้มีหลายขั้นตอนการฟอก โดยทั่วไปจะมีตั้งแต่ 3-5 ขั้นตอน (CEH CEDEP CEOP) เยื่อที่ได้มีความขาวสว่างสูงประมาณร้อยละ 80-95 เมื่อวัดด้วยเครื่องวัดความขาวสว่างของกระดาษ ขั้นตอนในการฟอกจะมีชื่อเรียกตามสารเคมีที่ใช้ฟอก  และขั้นตอนการฟอกจะเรียงลำดับตามอักษรที่ใช้เรียก เช่น การฟอกแบบ CEDED เป็นต้น ดังภาพที่ 10

ภาพที่ 10 ขั้นตอนการฟอกเยื่อ แบบ CEDED

ตารางแสดงสัญญลักษณ์และเรียกชื่อขั้นตอนการฟอก
สารเคมี สัญลักษณ์ เรียกชื่อขั้นตอนการฟอก
chlorine  ขั้นคลอริเนชั่น (Chlorination stage)
sodium hydroxide E ขั้นแอ็กแทร็กชั่น (Extraction stage)
calcium hypochlorite H ขั้นไฮโปคลอไรท์ (Hypochlorite stage)
chlorine dioxide D ขั้นคลอรีนไดออกไซด์ (Chlorine dioxide stage)
hydrogen peroxide P ขั้นเปอร์ออกไซด์ (Peroxide stage)
oxygen O ขั้นออกซิเจน (Oxygen stage)
ozone Z ขั้นโอโซน (Ozone stage)
acid A ขั้นแอสิก (Acid stage)

                   (2) วิธีฟอกเพื่อเปลี่ยนสีของลิกนินให้อยู่ในรูปไม่มีสี (Bleaching lignin)

                   การฟอกเยื่อแบบนี้สารเคมีที่ใช้ฟอกเยื่อจะทำปฏิกิริยากับลิกนินและเปลี่ยนสีลิกนินให้อยู่ในรูปของสารที่ปราศจากสี การฟอกแบบนี้ไม่ทำให้ผลผลิตเยื่อลดลงและเป็นการฟอกแบบขั้นตอนดียว  เยื่อฟอกมีความขาวสว่างปานกลาง และไม่คงทน  เมื่อเวลาผ่านไปจะเกิดการการกลับสี  โดยความขาวสว่างจะลดลงและกระดาษมีสีเหลือง สารเคมีที่ใช้ ได้แก่ โซเดียมเปอร์ออกไซด์ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

 3.1.3.3. การเตรียมน้ำเยื่อ (Stock preparation) 

                  ในขั้นการเตรียมน้ำเยื่อนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการ คือ (1) เพื่อพัฒนาศักยภาพของเส้นใย โดยการนำเยื่อไปบด และ (2) เพื่อปรับปรุงสมบัติกระดาษให้ได้ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานโดยการผสมหรือใส่สารเติมแต่งชนิดต่างๆ ตามอัตราส่วนที่กำหนด ส่วนผสมที่ได้นี้เรียกว่า “น้ำเยื่อ” หรือ “สต๊อค (Stock)” เยื่อที่นำมาทำกระดาษทุกชนิดจะต้องผ่านการบดแต่จะบดมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับคุณภาพของเยื่อ เยื่อบางชนิดไม่จำเป็นต้องบด เช่น เยื่อไม้บดและเยื่อหมุนเวียนทำใหม่

                  ในขั้นตอนการเตรียมน้ำเยื่อประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ในการบดและผสม  โดยมีขั้นตอนการปฏิบัตการเรียงตามลำดับดังภาพที่ 11

ภาพที่ 11 ขั้นตอนการเตรียมน้ำเยื่อ

(1) การกระจายเส้นใย (Defibering)

- กระจายเยื่อเพื่อให้เส้นใยแยกออกจากกันเป็นอิสระในน้ำ โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าไฮดราพัลพ์เพอร์ (Hydra pulper) ดังภาพที่ 12

(2) การบดเยื่อ (Refining)

- บดเยื่อเพื่อให้เส้นใยแตกแขนงเป็นการเพิ่มศักยภาพของพันธะระหว่างเส้นใยให้สูงขึ้นอุปกรณ์ที่ใช้คือ เครื่องบดเยื่อ (Refiner)

(3) การผสมน้ำเยื่อ (Blending)

- เป็นการเติมสารเติมแต่งลงไปผสมกับเยื่อที่ผ่านการบดแล้วโดยผสมในถังใบพัดกวน  เยื่อจะถูกเก็บไว้ในถังที่เรียกว่าแมชชีนเชสท์ (Machine chest)

(4) การแยกสิ่งสกปรกออก (Screening and Cleaning)

- การแยกสิ่งสกปรกออกจากน้ำเยื่อโดยใช้ตะแกรงราบ (Flat screener) ดังภาพที่ 13 เพื่อคัดวัสดุที่มีขนาดใหญ่กว่าเส้นใยออก แล้วผ่านเข้าสู่เครื่องทำความสะอาด ที่เรียกว่า เซนตริคลีนเนอร์ (Centrifugal cleaner) ดังภาพที่ 14 จะคัดแยกวัสดุอื่นออกไป โดยใช้หลักความถ่วงจำเพาะที่ต่างกัน

(5.) การควบคุมความข้นของน้ำเยื่อ 

(Consistency regulator)

- เพื่อควบคุมให้น้ำเยื่อมีความเข้มข้นคงที่

        

ภาพที่ 12 แสดงเครื่องไฮดราพัลพ์เพอร์ (Hydra pulper)                            ภาพที่ 13 แสดงการคัดขนาดโดยตะแกรงราบ                                 ภาพที่ 14 แสดงการใช้ centrifugal cleaner

3.2.1 สารเคมีที่ใช้ในการผลิตกระดาษชำระ

ชื่อสารเคมี

สูตรเคมี

ประเภทของสาร

ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ข้อมูล SDS (link)

หมายเหตุ

Alum

Al2(SO4)3

ของแข็งไม่มีสี มีกลิ่นเฉพาะตัว

ทำลายดวงตาอย่างรุนแรง

Link

สารปรับสภาพ และเป็นสารเชื่อมสารกันซึมประเภท resin

Sodium aluminate

Na2Al2O4

ของแข็งสีขาว ไม่มีกลิ่น

-

  Link 1 Link 2

ใช้คู่กับ Alum ในการปรับสภาพ pH

Cationic starch

2-Hydroxy-3(trimethylammonio)
propyl Ether

เป็นผง ของแข็งสีขาว ไม่มีกลิ่น

- ระคายเคืองเล็กน้อยที่ผิวหนัง

- สูดดมทำให้ระบบทางเดินหายใจบกพร่อง

- กลืน ไม่อันตรายถ้าไม่ได้รับปริมาณมากเกินไป

Link1 Link2 Link3

สารให้ความแข็งแรงในขณะแห้ง และเป็นสารเคลือบกระดาษ

Oxidized starch

C27H46O20

เป็นผง ของแข็งสีขาว ไม่มีกลิ่น

- ระคายเคืองเล็กน้อยที่ผิวหนัง

- หายใจหรือสูดดมทำให้ระบบทางเดินหายใจบกพร่อง

- กลืน ไม่อันตรายถ้าไม่ได้รับปริมาณมากเกินไป

  Link

สารให้ความแข็งแรงในขณะแห้ง

Guar gum

C10H14N5Na2O12P3

เป็นผง สีครีมหรือน้ำตาลอ่อน

ไม่มีกลิ่น

- กัดกร่อน ระคายเคืองทางผิวหนัง

  Link1 Link2 Link3

สารให้ความแข็งแรงในขณะแห้ง

Gum Rosin

C19H29COOH

ของแข็งสีเหลืองเข้ม ไม่มีกลิ่น

- ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตา

  Link

สารกันซึมภายใน

Calcium Carbonate

CaCO3

ของแข็งสีเทาอ่อน ไม่มีกลิ่น

- สร้างแก็สหรือไอที่อันตรายเมื่อสัมผัสกับกรด

 Link

สารเติมแต่ง

Kaolin, Clay

(Al4Si4O10 (OH)8)

ผง ของแข็งสีขาว ไม่มีกลิ่น

-

  Link1 Link2

สารเติมแต่ง

Talcum

3MgO·4SiO2·H2O

 

ผง ของแข็งสีขาว ไม่มีกลิ่น

- ระคายเคืองผิวหนังและดวงตา

- สูดดม เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจส่วนบน

- กลืน เป็นอันตราย สำลัก

  Link1 Link2 Link3

สารเติมแต่ง

Titanium dioxide

TiO2

ของแข็งสีขาว ไม่มีกลิ่น

-

  Link

สารเติมแต่ง

Sodium tripolyphosphate

Na5P3O10

ของแข็งสีขาวทไม่มีกลิ่น

-

  Link

สารช่วยกระจายตัว (Dispersant)

Sodium silicate

Na2SiO3

ของเหลวสีทึบแสง ไม่มีกลิ่น

ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา

  Link

สารในขั้นตอน deinking หรือ dispersion

Poly (propylene glycol) monobutyl ether

CH3(CH2)3[OCH2CH(CH3)]nOH

ของเหลวสีขาวขุ่น

- ระคายเคืองต่อผิวหนัง

  Link

สารลดฟอง

2,2-Dibromo-2-cyanoacetamide

C3H2Br2N2O

ผง สีขาวไม่มีกลิ่น

-

  Link

สารต้านเชื้อจุลินทรีย์

3.2.2 เครื่องมือ/เครื่องจักร/วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิตกระดาษชำระ เครื่องจักรผลิตกระดาษชำระ ประกอบด้วย 7 ส่วน ได้แก่

                    3.2.2.1 หัวปล่อยน้ำเยื่อ (Head box)

                    3.2.2.2 ส่วนขึ้นแผ่นกระดาษ ประกอบด้วย ตะแกรงลวดเดินแผ่น (Wire) สำหรับขึ้นแผ่นกระดาษ และผ้าสักกะหลาด (Felt) สำหรับประกบกระดาษที่ด้านบนตั้งแต่ขั้นตอนการอัดรีดน้ำเยื่อ

                    3.2.2.3 ส่วนรีดน้ำออกจากแผ่นกระดาษ (Press section) ประกอบด้วย ลูกกลิ้งสำหรับรีดน้ำ (Pressure roll) หรือ ลูกกลิ้งที่ออกแบบมาพิเศษเพื่อให้รีดน้ำได้มากขึ้น(Shoe press)

                    3.2.2.4 ส่วนอบกระดาษ (Dryer section) สำหรับการผลิตกระดาษชำระ จะมีลูกอบขนาดใหญ่ (Yankee) อาจอยู่ภายใต้ตู้อบ (Dryer Hood) ระหว่างอบกระดาษอาจมีหัวสเปรย์สำหรับเคลือบผิวกระดาษ (Size presses) สำหรับกระดาษชำระที่ต้องการคุณสมบัติเฉพาะ

                    3.2.2.5 ส่วนทำย่น (Creping section) ลักษณะจะเป็นมีด ไว้สำหรับเซาะดึงกระดาษออกจากผิวลูกอบ ทำให้เกิดรอยย่นบนกระดาษชำระ

                    3.2.2.6 ส่วนเข้าม้วน (Pope reel)

                    3.2.2.7 ส่วนแปรรูปผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย เครื่องกรอแบ่ง (Rewinder)  เครื่องรีดกระดาษ (Calendering)  เครื่องปั๊มทำลายนูน (Embossing) เครื่องพิมพ์สี และเครื่องตัดแบ่งม้วนเล็ก (Log saw)

3.2.3 ขั้นตอนการผลิตกระดาษชำระ ขั้นตอนการผลิตกระดาษชำระแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ดังภาพที่ 15 ดังนี้

ภาพที่ 15 ขั้นตอนการผลิตกระดาษชำระ

3.2.3.1. ส่วนการเตรียมน้ำเยื่อ (Stock preparation)  ดังภาพที่ 14

          เป็นขั้นตอนการทำให้เยื่อกระจายตัวไม่จับตัวเป็นก้อนเพื่อเตรียมขึ้นรูปเป็นแผ่นเยื่อกระดาษ โดยการตีเยื่อในน้ำเยื่อให้กระจายสม่ำเสมอ แล้วนำไปบดให้เส้นใยแตกเป็นขลุยเพื่อเพิ่มสมบัติการยึดเกาะระหว่างกันดีขึ้น หรือสามารถนำสารปรับแต่งชนิดต่างๆ เติมลงน้ำเยื่อเพื่อเพิ่มคุณสมบัติของกระดาษตามต้องการได้ รวมไปถึงมีการปรับความเข้มข้นของน้ำเยื่อก่อนเข้าสู่กระบวนการทำแผ่นได้

          สำหรับวัตถุดิบเยื่อบริสุทธิ์

           เยื่อเส้นใยยาวและเยื่อเส้นใยสั้น ที่ได้จากการต้มเยื่อหรือแผ่นเยื่อแห้งจากถังกระจายเยื่อ (pulper) จะถูกส่งไปที่ถังเก็บเยื่อ (Storage tower) จากนั้นเยื่อจะถูกปั๊มเพื่อไปทำความสะอาด และทำการบด จากนั้นเยื่อจะถูกส่งไปที่ถังพัก (stock chest) หรือถังผสม (Blend chest) ก่อนการนำไปใช้งาน

          สำหรับเยื่อเวียนทำใหม่

          กระดาษรีไซเคิลจะถูกกระจายในถังกระจายเยื่อ (pulper) จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการทำความสะอาดเยื่อเวียนทำใหม่ การแยกสิ่งสกปรกโดยใช้ความแตกต่างของขนาดอนุภาค จะเรียกว่า screening ถ้าคัดแยกโดยใช้ความต่างของน้ำหนักอนุภาค จะเรียกว่า cleaner ซึ่งอาจมีการใช้ทั้งสองแบบ จากนั้นจะเข้าสู่การกำจัดหมึก (deinking unit) อาจใช้ความร้อนละลายหมึก หรือใช้การแยกหมึก เยื่อที่ผ่านการทำความสะอาดและกำจัดหมึกจะมีสีคล้ำ อาจจะถูกนำไปฟอกสีหรือเติมสารเรืองแสง (OBA) เพื่อให้สีเยื่อดูขาวสว่าง จากนั้นเยื่อจะถูกนำไปบดเพื่อปรับปรุงคุณภาพ และเข้าสู่ถังพักหรือถังผสม ก่อนการนำไปใช้งาน

ภาพที่ 15 แสดงส่วนการเตรียมเยื่อน้ำ

3.2.3.2 การทำแผ่นกระดาษชำระ (Tissue papermaking)

          หลังการผสมน้ำเยื่อเรียบร้อยแล้ว น้ำเยื่อจะถูกส่งเข้าสู่เครื่องจักรผลิตกระดาษเพื่อทำเป็นแผ่นกระดาษที่ยาวต่อเนื่องกัน ซึ่งเรียกว่า เว็ปเปเปอร์ (web paper) เครื่องจักรที่ใช้ผลิตกระดาษมี 2 แบบ คือ แบบโฟร์ดิเนียร์ (Fourdrinier) ดังภาพที่ 16 และแบบไซลินเดอร์ (Cylinder) เครื่องจักรผลิตกระดาษทุกแบบจะมีส่วนประกอบต่าง ๆ  เพื่อทำหน้าที่หลัก 3 ประการ คือ

          (1) การแยกน้ำออก (Draining) ทำหน้าที่เป็นตะแกรงรองรับน้ำเยื่อน้ำจะลอดผ่านตะแกรงทำให้เยื่อก่อตัวเป็นแผ่นเปียก (Wet sheet forming)

          (2) การกดน้ำออก (Pressing) ทำหน้าที่กดหรือบีบน้ำออกจากแผ่นเปียก ทำให้เกิดการยึดติดกันแน่นระหว่างเส้นใยภายในแผ่นกระดาษ (consolidation of wet)

          (3) การอบกระดาษ (Drying) แผ่นกระดาษจะถูกอบให้แห้งเพื่อไล่น้ำออกจนกระดาษแห้ง เหลือความชื้นประมาณร้อยละ 4-6 จะเห็นได้ว่าหน้าที่หลักทั้ง 3 ประการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเอาน้ำออกจากกระดาษ

เครื่องจักรผลิตกระดาษทุกแบบจะออกแบบเพื่อรองรับหน้าที่หลักทั้ง 3 ประการ ซึ่งส่วนประกอบ ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรง ได้แก่ ส่วนตะแกรงลวดเดินแผ่น ส่วนกดกระดาษและส่วนอบกระดาษ ดังรายละเอียดตามส่วนประกอบเครื่องจักรผลิตกระดาษ ดังนี้                            

          (1) ถังจ่ายเยื่อ (Head box) ทำหน้าที่จ่ายน้ำเยื่อเข้าสู่ตะแกรงลวดเดินแผ่น

          (2) ส่วนตะแกรงลวดเดินแผ่น (Wire section หรือ Forming section) ทำหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ การก่อตัวเป็นแผ่นกระดาษด้วยกระบวนการกรองและการแยกน้ำออก (dewatering) แผ่นเปียกที่ออกจากส่วนนี้จะมีน้ำอยู่ถึงร้อยละ 80

          (3) ส่วนกดกระดาษ (Press section) ทำหน้ากดหรือบีบน้ำออกจากแผ่นเปียกทำให้เกิดการยึดติดกันแน่นภายในเนื้อกระดาษ กระดาษที่ออกจากส่วนนี้จะมีน้ำอยู่ประมาณร้อยละ 55-60 การเอาน้ำออกให้ได้มากกว่านี้ด้วยแรงกดไม่สามารถทำได้เพราะจะทำให้กระดาษขาด

          (4) ส่วนอบกระดาษ (Drying section) ในส่วนนี้จะมีลูกอบให้ความร้อนกับกระดาษ ทำให้กระดาษแห้งโดยกระดาษที่ออกจากส่วนนี้จะมีความชื้นประมาณร้อยละ 4-6 การผลิตกระดาษจะใช้ลูกอบเป็นชุดหลาย ๆ ลูก เพื่อเพิ่มความเร็วที่ใช้ในการผลิต โดยส่วนมากจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน (Section) โดยมีส่วนเคลือบผิวหรือฉาบผิว (Size press) ขั้นกลาง ในส่วนของกระดาษชำระ จะนิยมใช้ลูกอบขนาดใหญ่ที่เรียกว่า Yankee ในการอบแห้งกระดาษชำระ และที่ปลายจะติดตั้งส่วนทำให้เกิดรอยย่น หรือลายนูน เพื่อให้กระดาษดูมีลักษณะที่นุ่มมือมากขึ้น ดังภาพที่ 17 และ 18

          (5) ส่วนรีดกระดาษ (Calender) ทำหน้าที่ปรับแผ่นกระดาษให้เรียบและมีเนื้อแน่นขึ้น

          (6) ส่วนเข้าม้วนกระดาษ (Winder) ทำหน้าที่นำกระดาษเข้าม้วน (Reel)

ภาพที่ 16 แสดงเครื่องจักรผลิตกระดาษแบบโฟร์ดิเนียร์

ภาพที่ 17 แสดงเครื่องจักรผลิตกระดาษชำระ
(ที่มา : http://gaspaperdryer.org/learn-about-paper-drying/paper-manufacturing-overview/)

 

ภาพที่ 18 แสดงเครื่องจักรผลิตกระดาษชำระ

3.2.3.3 การปรับปรุงคุณภาพกระดาษชำระ (Web modification) การปรับปรุงสมบัติผิวกระดาษในขณะเดินแผ่น

                    กระดาษเมื่อผ่านลูกอบแห้งแล้วจะวิ่งเข้าสู่ส่วนรีดกระดาษ เพื่อปรับปรุงผิวกระดาษให้เรียบขึ้น ลดรอยยับ และเพิ่มความหนาแน่นของเนื้อกระดาษส่งผลให้กระดาษบางลงนอกจากปรับปรุงผิวกระดาษที่ส่วนนี้แล้วยังสามารถทำการปรับปรุงผิวกระดาษ ในขณะเดินแผ่นได้ด้วยวิธีการที่เรียกว่า การฉาบผิว (Surface sizing) การฉาบผิวกระดาษจะทำที่ส่วนก่อนเข้าลูกอบกระดาษ โดยใช้น้ำแป้ง เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกระดาษ ทำให้ผิวกระดาษแข็งแรงสามารถต้านทานการ ขูดลบหรือการถูกดึงถอนผิวกระดาษได้ดี นอกจากนี้กระดาษชำระจะมีการทำรอยย่น (Creping) หรือพิมพ์ลายนูน (Embossing) บนผิวกระดาษเพื่อให้กระดาษนุ่มมือขึ้น เพิ่มการดูดซับ และความสวยงาม

3.2.3.4 การแปรรูปกระดาษ (Converting) ดังภาพที่ 19 - 21

                    การแปรรูปกระดาษชำระแบบม้วน จะเริ่มจากการนำม้วนกระดาษ (Jumbo reel) และเข้าม้วนใหม่เป็นม้วนเล็ก (log) และตัดแบ่งม้วนให้มีขนาดตามต้องการ (log saw) จากนั้นนำไปบรรจุห่อ 

                    การแปรรูปกระดาษชำระแบบแผ่น จะเริ่มต้นด้วยการนำม้วนกระดาษ Jumbo reel มาคลายม้วน (Rewinding) และประกบกันตามจำนวนชั้น (Ply) และจำนวนแผ่นที่ต้องการ ส่งต่อเข้าสู่ชุดมีดตัดที่เรียกว่า โรตารี่ไฟลไนฟ์ (Rotary fly knife) ตัดแบ่งเป็นแผ่นตามขนาดที่ต้องการ และบรรจุกล่องหรือห่อ

 

ภาพที่ 19 แสดงส่วนการคลายม้วน

ภาพที่ 20 แสดงส่วนการแปรรูปกระดาษ

ภาพที่ 21 แสดงการประกบกันตามจำนวนชั้น (Ply) และจำนวนแผ่น

สืบค้นฐานข้อมูลกรมวิทยาศาสตร์บริการที่ไหนก็ได้

My Library on Finger Tips.

ล็อคอินครั้งเดียวผ่าน MyLOFT!!

เพียงทําตามขั้นตอนดังนี้:

การสร้างบัญชีผู้ใช้งาน

กรณีมีบัญชีอยู่แล้ว

  1. ตรวจสอบกล่องอีเมลของท่านก่อนการสร้างบัญชี
  2. ค้นหาอีเมลจาก MyLOFT เพื่อตั้งรหัสผ่านจากอีเมลฉบับดังกล่าว
  3. ผู้ใช้งานสามารถเข้าสู่ระบบด้วยบัญชีและรหัสผ่านที่ตั้งค่า

*หากไม่ได้รับอีเมลดังกล่าว กรุณา login เข้าแอป MyLoft ด้วยอีเมลของท่าน และคลิก Forgot password เพื่อตั้งรหัสผ่านใหม่ และตรวจสอบอีเมลอีกครั้ง หากท่านยังคงไม่ได้รับอีเมลโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ห้องสมุด โทร 02-201-7250

กรณีสร้างบัญชีด้วยตนเอง

  1. เปิดแอปพลิเคชัน MyLOFT
  2. เลือก Department of Science Service (DSS)
  3. คลิก Sign up และกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน
  4. จากนั้นติดต่อเจ้าหน้าที่ห้องสมุด โทร 02-201-7250

การดาวน์โหลดและติดตั้ง

หากใช้งานผ่านมือถือหรือ Tablet :

  1. ติดตั้งแอป MyLOFT 

     

  2. เลือกหน่วยงาน (Department of Science Service (DSS)) และลงชื่อเข้าใช้งาน

หากใช้งานผ่านคอมพิวเตอร์:

  1. เข้าสู่ myloft.xyz ด้วย Chrome browser
  2. เลือก Launch Web App
  3. เลือกหน่วยงานและลงชื่อเข้าใช้งาน
  4. ระบบจะแจ้งเตือนว่าคุณยังไม่ได้ติดตั้งแอปฯ ให้คลิก Add Extension
  5. เลือก "เพิ่มใน Chrome”
  6. คลิก Add extension บน pop-up

** ลงชื่อเข้าใช้งานแอปพลิเคชั่น ตามภาพประกอบด้านล่าง

  1. เปิดแอป MyLOFT บน PC หรือ mobile
  2. เลือกหน่วยงาน คลิก Continue
  3. ลงชื่อเข้าใช้งานด้วยอีเมลและรหัสผ่านที่ลงทะเบียน
  4. คลิก sign in