ชื่อบทความเกณฑ์มาตรฐานสารชีวพิษและแบคทีเรียในหอยสองฝา พ.ศ. 2561

ชื่อเอกสารราชกิจจานุเบกษา เล่ม 135 ตอนพิเศษ 161 ง (9 ก.ค. 61) หน้า 47 (ท้ายประกาศ 1 หน้า) (เอกสารภาษาไทย ชั้น 5)   Full-Text

ขอบข่ายข้อ 1 ในประกาศนี้ “หอยสองฝา” (Bivalve Mollusc) หมายความว่า สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อยู่ในคลาส เพลิไซโปดา (Class Pelecypoda) ไฟลัมมอลลัสกา (Phylum Mollusca) และมีเปลือกที่เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) แข็งห่อหุ้มตัวที่เรียกว่าฝา มีสองฝายึดติดกันโดยมีบานพับเป็นเอ็น “สารชีวพิษ” (Biotoxin) หมายความว่า สารพิษที่สร้างจากแพลงก์ตอนพืชชนิดที่สร้างสารพิษซึ่งเมื่อถูกกินโดยหอย สารชีวพิษจะสะสมในหอย และเมื่อมนุษย์บริโภคอาจทำให้เกิดอาการเป็นพิษ เช่น ทำให้เกิดอัมพาต และท้องร่วง เป็นต้น “เอสเชอริเชีย โคไล หรือ อีโคไล” (Escherichia coli หรือ E. coli) หมายความว่า แบคทีเรียในกลุ่มโคลิฟอร์ม เป็นตัวบ่งชี้การปนเปื้อนของอุจจาระในแหล่งน้ำธรรมชาติ ข้อ 2 มาตรฐานสารชีวพิษและแบคทีเรียที่สะสมในหอยสองฝาต้องไม่เกินปริมาณที่กำหนด ตามบัญชีรายการมาตรฐานสารชีวพิษและแบคทีเรียในหอยสองฝาแนบท้ายประกาศนี้ กรณีที่สารชีวพิษและแบคทีเรียที่สะสมในหอยสองฝาเกินปริมาณที่กำหนด อธิบดีอาจห้าม ทำการประมงหอยสองฝาในที่จับสัตว์น้ำแห่งนั้น ข้อ 3 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป . . .

หมายเหตุประกาศกรมประมง เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานสารชีวพิษและแบคทีเรียในหอยสองฝา พ.ศ. 2561