คำตอบ

1. การย่อยสลายได้โดยแสง (Photo degradation) การย่อยสลายโดยแสง มักเกิดจากการเติมสารแต่งที่มีความไวต่อแสงลงในพลาสติกหรือสังเคราะห์ copolymer  ให้มีพันธะเคมีที่ไม่แข็งแรงหรือแตกหักง่ายภายในรังสี UV
2. การย่อยสลายทางกล (Machanical degradation)การย่อยสลายจะเกิดขึ้นโดยการให้แรงกระทำต่อชิ้นส่วนพลาสติกให้แตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ
3. การย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาออกซิเดชั่น (Oxidative degradation) เป็นปฏิกิริยาการเติมออกซิเจนในโมเลกุลของ polymer ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้เองในธรรมชาติอย่างช้า ๆ เกิดเป็นสารประกอบ hydrogenperoxide และเปลี่ยนเป็นอนุมูลอิสระทำให้สาร polymer แตกหักและเสียคุณสมบัติเชิงกล
4. การย่อยสลายผ่านปฏิกิริยาไฮโดรไลซิส (Hydrolytic degradation) เป็นการย่อยสลายของ polymer ที่มีหมู่ ester หรือ amide เช่น polycarbonate โดยปฏิกิริยา hydrolysis ทำให้เกิดการแตกหักของสาร polymer
5. การย่อยสลายทางชีวภาพ (Biodegradation) เป็นการย่อยสลาย polymer โดยจุลินทรีย์ ซึ่งการย่อยสลายจะเกิดขึ้นภายนอกเซลล์ โดยการปล่อย enzyme ของจุลินทรีย์เมื่อ polymer  แตกตัวจนมีขนาดเล็กก็จะแพร่เข้าไปในเซลล์และเกิดการย่อยสลายต่อไป ได้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน น้ำ และมวลชีวภาพ (Biomass)

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

เยาวพา สุวัตถิ.พลาสติกชีวภาพ.  R&D NEWSLETTER.  ปีที่ 18, ฉบับที่ 4, (ตุลาคม-ธันวาคม), 2554, หน้า 3.