คำตอบ

สารช่วยการแปรรูปในอุตสาหกรรมยาง คือ สารเคมีที่เติมลงไปในยางเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นไปได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันมีการผลิตสารช่วยการแปรรูปหลายชนิดออกสู่ท้องตลาดซึ่งสารช่วยการแปรรูปแต่ละชนิดจะทำหน้าที่แตกต่างกันไป ซึ่งการใช้สารช่วยการแปรรูปในอุตสาหกรรมยางมีข้อควรระวัง เช่น 
1. ปัญหาการบลูม  (bloom) ของสารเคมี หากเติมสารเคมีลงไปในยางในปริมาณที่มากเกินกว่าความสามารถในการละลายของสารเคมีนั้น (เกิดการอิ่มตัวของยาง) เมื่อเวลาผ่านไปสารเคมีส่วนเกินก็จะแพร่ออกมาที่ผิวของยางและเกิดการตกผลึกบนพื้นผิวยางเห็นเป็นรอยสีขาวหรือเหลือง เรียกว่า เกิดการบลูม
2. การเหนียวติดบนหน้ายาง (surface tack) สารช่วยการแปรรูปบางชนิด เช่น เรซินในกลุ่มฟีนอลิกช่วยเพิ่มสมบัติความเหนียวติดของคอมพาวด์ยางให้สูงขึ้น แต่สารในกลุ่มเอมีนปฐมภูมิ (primary amine) กลับช่วยลดสมบัติการเหนียวติดของยางคอมพาวด์ลง
3. วิธีการผสมสารช่วยการแปรรูป โดยทั่วไปแล้วการผสมด้วยเครื่องผสมระบบปิด (Internal mixer) ยางและสารเคมีรวมทั้งสารการแปรรูปจะผสมกันในขั้นตอนแรกของการผสมเพื่อให้การผสมเป็นไปได้ง่ายและลดการเกาะติดผิวของเครื่องผสม ถ้าสารช่วยการแปรรูปมีจุดอ่อนตัว (softening point) ไม่เกิน 100 C และอยู่ในรูปผงจะสามารถเติมสารช่วยการแปรรูปในช่วงท้ายของการผสมได้ ซึ่งการเติมสารช่วยการแปรรูปในขั้นตอนสุดท้ายนั้น สามารถช่วยเพิ่มอัตราการเอกซ์ทรูดและช่วยอัตราการไหลได้ดีขึ้น ส่วนกรณีการผสมสารช่วยการแปรรูปกับสารตัวเดิม ถ้าสารช่วยการแปรรูปกับสารตัวเติมเข้ากันได้ยาก และสารช่วยการแปรรูปมีจุดอ่อนตัว 105 C ควรเติมสารช่วยการแปรรูปในช่วงต้นหรือเติมพร้อมกับสารตัวเติม

รายชื่อเอกสารที่เกี่ยวข้อง

ดารณี เจริญสุข.  สารช่วยการแปรรูป (Processing Aids) สำหรับยางเกรดพิเศษ. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียาง. ปีที่ 5, ฉบับที่ 4, (ตุลาคม-ธันวาคม) 2554, หน้า 10-11.