Title : เชื้อก่อโรคในขนมไทย
ขนมไทยเป็นอีกสิ่งที่น่าอวดชาวโลก เพราะมีทั้งความประณีต วิจิตร มีเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจ และขึ้นชื่อเรื่องความละเอียดอ่อนในทุกขั้นตอนการทำ ตั้งแต่การเลือกสรรวัตถุดิบ กระบวนการผลิตและวิธีการทำให้รสชาติคงตัวคงที่สมัยก่อนหรือแม้แต่สมัยนี้ ผู้ที่ทำขนมไทยแบบโบราณขาย ส่วนใหญ่มักใช้มือคนหยิบจับวัตถุดิบ ผสมส่วนผสม นวด ปั้น แกะ และใช้มือห่อขนมด้วยใบตอง หรือบรรจุลงกระทง ถุง กล่องพลาสติก ซึ่งมีสิ่งที่ต้องระวังคือ การปนเปื้อนเชื้อก่อโรค เช่น เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส เชื้อชนิดนี้มักอยู่ตามผิวหนัง ทางเดินหายใจ ลําคอ เส้นผมของคน สถาบันอาหารจึงได้สุ่มตัวอย่างขนมไทยชนิด ที่มีมะพร้าวโรยหน้าจำนวน 5 ตัวอย่าง ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล เพื่อนำมาวิเคราะห์เชื้อสแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ปนเปื้อน ผลปรากฏว่า พบการปนเปื้อน 1 ตัวอย่าง แต่ปริมาณยังไม่เกินมาตรฐานของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่องเกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 3 ที่กำหนดให้พบเชื้อ สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส ในขนมไทยได้ไม่เกิน 100 ซีเอฟยู/กรัม อ่านเพิ่มเติม
Source : สถาบันอาหาร.
แหล่งที่มาของภาพ : freepik.com