การเลี้ยงผึ้งโพรงที่ให้น้ำผึ้งที่มีคุณภาพดีและไม่ดีปะปนกันอยู่มากในท้องตลาด แต่ในผึ้งพันธุ์นั้นมีจุดด้อยตรงที่มีความอ่อนแอต่อโรคและแมลงศัตรูผึ้ง จึงทำให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงผึ้งพันธุ์และต้องใช้สารเคมีควบคุมศัตรูผึ้งในการเลี้ยง ส่วนการเลี้ยงผึ้งโพรงนั้นประเทศจีนเป็นผู้นำในการเลี้ยงผึ้งโพรงในทวีปเอเชีย ผึ้งโพรงนี้จะวางไข่ดก มีอายุการวางไข่ได้นาน ไม่ทิ้งรังและไม่หนีง่ายเหมือนผึ้งโพรงไทย สามารถให้ผลผลิตน้ำผึ้งได้สูงถึง 30-50 กิโลกรัม/รัง/ปี ในประเทศจีน แต่ผึ้งโพรงจีนนั้นมีความต้านทานต่อโรคและศัตรูของผึ้งได้ไม่ดีเท่ากับผึ้งโพรงไทย

       สวก.จึงสนับสนุนทุนวิจัยแก่คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยแม่โจ้  เพื่อพัฒนาสายพันธุ์ผึ้งโพรงโดยการผลิตลูกผสมผึ้งโพรงจีน-ไทย (Apis cerana cerana ×Apis cerana indica) และคัดเลือกลูกผสมให้มีความแม่นยำและลงลึกถึงระดับดีเอ็นเอ โดยศึกษาจากพฤติกรรมการวางไข่ สัญฐานวิทยา และการตรวจสอบดีเอ็นเอในระดับโมเลกุลโดยใช้วิธี microsatellite DNA เพื่อให้ได้สายพันธุ์ผึ้งโพรงลูกผสมที่มีความเหมาะสม ได้พันธุ์ผึ้งโพรงลูกผสมจีน-ไทย ที่ให้ผลผลิตน้ำผึ้งอินทรีย์สูง ขยายพันธุ์ได้ง่าย ไม่หนีรังและมีลักษณะความต้านทานต่อโรคและศัตรูของผึ้งดี คุ้มค่าในการลงทุนสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงผึ้งในระบบเกษตรอินทรีย์ เพื่อให้ได้น้ำผึ้งอินทรีย์ (Organic honey)  ซึ่งเป็นสินค้าใหม่ที่แตกต่างไปจากน้ำผึ้งทั่วไปที่มีการจำหน่ายในแหล่งต่างๆ ของประเทศ ที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรอีกทางหนึ่ง  อ่านเพิ่มเติม 

ที่มาของข้อมูล : สำนักงานพัฒนาการวิจัยเกษตร (สวก.)

ที่มาของรูปภาพ : freepik.com