น้ำดื่ม (Drinking water) เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต มนุษย์จะดื่มน้ำประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน ดังนั้นน้ำดื่มจะต้องมีความสะอาดและปลอดภัยผ่านกระบวนการผลิตที่ถูกสุขอนามัย น้ำดื่มเป็นน้ำที่ผลิตจากแหล่งน้ำที่มีคุณภาพดีโดยอาจเป็นน้ำบาดาลหรือน้ำประปา และผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพให้ได้มาตรฐาน ในอดีตเราดื่มและใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาทำให้สะอาด ปัจจุบันประชาชนสนใจการดูแลสุขภาพมากขึ้น ทำให้ความนิยมในการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดเพื่อการบริโภคเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการตรวจสอบ การควบคุมคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง การให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนและผู้ประกอบการ รวมถึงการดูแลรักษาระบบการผลิตน้ำอุปโภคบริโภคให้ได้มาตรฐานจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดี

             น้ำดื่ม (Drinking water) เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต มนุษย์จะดื่มน้ำประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน ดังนั้นน้ำดื่มจะต้องมีความสะอาดและปลอดภัยผ่านกระบวนการผลิตที่ถูกสุขอนามัย น้ำดื่มเป็นน้ำที่ผลิตจากแหล่งน้ำที่มีคุณภาพดีโดยอาจเป็นน้ำบาดาลหรือน้ำประปา และผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพให้ได้มาตรฐาน ในอดีตเราดื่มและใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาทำให้สะอาด ปัจจุบันประชาชนสนใจการดูแลสุขภาพมากขึ้น ทำให้ความนิยมในการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดเพื่อการบริโภคเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการตรวจสอบ การควบคุมคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง การให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนและผู้ประกอบการ รวมถึงการดูแลรักษาระบบการผลิตน้ำอุปโภคบริโภคให้ได้มาตรฐานจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดี

วัตถุดิบ

          2.1 ชนิดวัตถุดิบ

                   - น้ำธรรมชาติ

                   - น้ำประปา

          2.2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบ

                   - น้ำผิวดิน ได้แก่ น้ำแม่น้ำ น้ำบ่อ น้ำสระ น้ำในทะเลสาบ มักมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ มีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อม ทำให้มีผลต่อผลิตภัณฑ์

                   - น้ำใต้ดิน ได้แก่ น้ำบาดาล มีคุณภาพสม่ำเสมอ มีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมได้น้อยมาก

          2.3 การเลือกวัตถุดิบ

                    แหล่งน้ำที่นำมาใช้ในการผลิตน้ำดื่มต้องมีคุณภาพดี ห่างไกลจากแหล่งโสโครก สิ่งปฏิกูล และกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนสิ่งที่เป็นอันตรายลงไปในแหล่งน้ำ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม การเกษตรที่มีการใช้สารเคมี

          2.4 การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ

ชนิดวัตถุดิบ

รายการทดสอบ

มาตรฐานการทดสอบ

เครื่องมือทดสอบ

ห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบ

เบอร์โทร/อีเมลล์ติดต่อ

ได้รับการรับรอง/ ขึ้นทะเบียน

- น้ำธรรมชาติ

 

- น้ำประปา

- สี

Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater, APHA, AWWA,

    WEF, 24th ed., 2023

- เครื่องวัดสี

กลุ่มน้ำอุปโภคและบริโภค กรมวิทยาศาสตร์บริการ

02 2017219

 

ISO/IEC 17025

 

 

- กลิ่น

 

- ความขุ่น

- เครื่องวัดความขุ่น

- ค่าความเป็นกรด-ด่าง

- เครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง (pH meter)

- ปริมาณสารทั้งหมด

- เครื่องชั่ง ตู้อบ

- ความกระด้างทั้งหมด

- บิวเรต

-ธาตุหรือสารประกอบต่างๆ ที่มักพบในน้ำดิบ อย่างน้อยดังต่อไปนี้

 

1. คลอไรท์

2. ไนเตรท

3. ฟลูออไรด์

- เครื่อง Ion Chromatograph

4. เหล็ก

- เครื่อง FAAS

5. ตะกั่ว

- เครื่อง ICP-MS

- จุลินทรีย์ เช่น โคลิฟอร์ม อี.โคไล

 

กลุ่มคุณภาพทางจุลชีววิทยาในอาหาร

02 2017197

ISO/IEC 17025

           2.5 การเตรียมวัตถุดิบก่อนเข้ากระบวนการผลิต

น้ำธรรมชาติที่มาจากแหล่งน้ำต่างๆ เช่น  น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำแม่น้ำ จะต้องตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมที่อาจมากับน้ำโดยวัตถุเหล่านั้นอาจจะเป็นใบไม้แห้ง เศษดินและหิน หลังจากนั้นนำน้ำมาพักไว้ในอ่างเก็บน้ำชั่วคราว  สำหรับแหล่งน้ำที่มีคุณภาพต่ำจะมีการเติมคลอรีนลงไปก่อนเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียทำให้น้ำมีคุณภาพดี หากน้ำดิบมีความขุ่นมากจะส่งผลให้การเติมคลอรีนไม่มีประสิทธิภาพ  การปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

          2.5.1 การสร้างตะกอน (coagulation)
          หลังจากที่มีการพักน้ำไว้ก่อนการผลิต  น้ำดิบยังคงมีอนุภาคขนาดเล็กปะปนอยู่ เช่น แบคทีเรีย  ไวรัส  สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ด้วย อนุภาคเหล่านี้จะถูกทำลายเสถียรภาพโดยสารที่ทำให้เกิดการจับกันเป็นก้อน (coagulant) ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ เป็น trivalent cations  ไม่เป็นสารพิษและไม่ละลายใน pH ที่เป็นธรรมชาติ  โดยทั่วไป coagulant  ที่ใช้เป็นเกลือของเหล็กหรืออะลูมิเนียมที่ใช้กันมากได้แก่  อะลูมิเนียมซัลเฟต  โซเดียมอะลูมิเนต เฟอรัสซัลเฟต  เฟอร์ริคคลอไรด์  และเฟอร์ริคซัลเฟต  เติมสารนี้ลงไปในน้ำระหว่างกระบวนการกวนเร็ว (rapid mixing) 

         2.5.2 การรวมตะกอน (flocculation) 
         หลังจากมีการเติม coagulant ลงไปอนุภาคคอลลอยด์ที่ไม่เสถียรจะรวมตัวกันโดยอนุภาคที่มีขนาดเล็กจะเคลื่อนที่เข้าหากันและจับกันเป็นก้อนกลายเป็นอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรียกว่า flocs 

         2.5.3 การตกตะกอน (sedimentation)
         ขั้นตอนนี้เป็นการแยกอนุภาคคอลลอยด์ออกจากน้ำภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้สารแขวนลอยที่เป็นตะกอนหนักลดลง

         2.5.4 การกรอง (filtration) 
         กระบวนการกรอง หมายถึง การกำจัด หรือช่วยลดสิ่งแปลกปลอม เชื้อจุลินทรีย์  สารเคมีที่ปนมากับน้ำ โดยการส่งผ่านน้ำไปยังวัตถุที่มีรูพรุนปานกลาง  ได้แก่  ทราย  แอนทราไซต์  หรือ ถ่านดูดซับสารพิษ (activated charcoal)  สำหรับวัสดุที่นิยมนำมาใช้มากที่สุดคือ  ทราย  ในระบบกรองเร่ง  (rapid sand filter) โดยทั่วไปจะประกอบด้วยทรายหยาบอยู่เหนือก้อนกรวด  แอนทราไซต์   หรือแร่แคลไซต์ (calcite)  เป็นฐานโดยมีความหนาประมาณ 50-80 เซนติเมตร  ขั้นตอนการกรองในระบบกรองเร่งนี้สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้ 1-50%  ต่อด้วยการใช้สารเรซิ่น กรองเอาความกระด้าง หินปูน แคลเซียม และแมกนีเซียมออก ต่อด้วยการกรองหยาบเพื่อกรองเศษตะกอนที่มีขนาด 10 ไมครอนขึ้นไป

          2.5.5 การฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) 
          สารฆ่าเชื้อโรคที่นิยมใช้กันมากที่สุดก็ยังคงเป็นคลอรีนเพราะคลอรีนมีสมบัติเป็นสารออกซิไดซ์และฆ่าเชื้อโรคได้ดีในช่วง pH 6.5-8  เมื่อเติมคลอรีนลงไปในน้ำจะเกิดปฏิกิริยาโดยการผลิตกรด hypochlorous และ hypochlorite  ซึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์โดยการแยกการซึมผ่านของเซลล์และทำลายกรดนิวคลีอิกและเซลลูล่าเอนไซม์  และยังมีปริมาณคงเหลืออยู่ในระดับที่ฆ่าเชื้อในระบบการแจกจ่ายน้ำและยังช่วยป้องกันการเจริญอีกครั้งของแบคทีเรียและการปนเปื้อนอื่นๆ หลังการปรับปรุงคุณภาพน้ำ  แต่ปัญหาหลักของการใช้คลอรีนในการปรับปรุงคุณภาพคือ สามารถสร้างสารพิษที่ชื่อว่าไตรฮาโลมีเทน (trihalomethane)  และผลพลอยได้อื่นๆจากสารฆ่าเชื้อโรคโดยที่ trihalomethane  เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ใหญ่  ด้วยเหตุนี้จึงมีการใช้วิธีอื่นในการฆ่าเชื้อด้วยมากขึ้น เช่น โอโซน (ozone)  อัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) 

กระบวนการผลิต

3.1 สารเคมีที่ใช้ในการผลิต

ชื่อสารเคมี

สูตรเคมี

ประเภทของสาร

ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

ข้อมูล SDS (link)

คลอรีนก๊าซ

(Chlorine)

Cl2

เป็นก๊าซสีเหลืองเขียว มีกลิ่นเฉพาะตัว

คลอรีนมีฤทธิ์กัดกร่อน

ต่อเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยเฉพาะเยื่อบุตาและเยื่อบุช่องปอด

http://www.chemtrack.org/chem-detail.asp?ID=00511&CAS=&Name= 

 

โซเดียมไฮโปคลอไรท์

(Sodium hypochlorite)

NaOCl

ของเหลวใส สีเหลืองอมเขียว

ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา

http://www.chemtrack.org/chem-detail.asp?ID=01864&CAS=&Name=

 

แคลเซียมไฮโปคลอไรท์

(Calcium Hypochlorite)

Ca(OCl)2

ของแข็งสีขาว หรือสีขาวนวล

ทำให้ผิวหนังไหม้อย่างรุนแรงและทำลายดวงตา

http://www.chemtrack.org/Chem-Detail.asp?ID=00432 

 

 

          3.2 เครื่องมือ/เครื่องจักร/วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในกระบวนการผลิต

          3.3 ขั้นตอนการผลิต

          กระบวนการผลิตน้ำดื่มโดยทั่วไปจะมีหลักการที่คล้ายกันคือการปรับปรุงคุณภาพน้ำทางฟิสิกส์ เคมี และจุลินทรีย์ โดยมีขั้นตอนดังรูปที่ 1

รูปที่ 1 ขั้นตอนการผลิตน้ำดื่ม

          การปรับคุณภาพน้ำเพื่อการบริโภคนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายวิธี เช่น การต้ม การตกตะกอน และการกรอง ซึ่งการกรองเป็นกระบวนการปรับคุณภาพน้ำที่ใช้กันมากที่สุดกระบวนการกรอง (Filtration) หมายถึง การกำจัด หรือช่วยลดสิ่งแปลกปลอม เชื้อจุลินทรีย์ หรือ สารเคมีที่ปนมากับน้ำ วิธีที่สะดวก รวดเร็วประหยัดเวลา คือการกรองโดยใช้วัสดุกรอง (Filter Media) เป็นตัวสกัดกั้นเพื่อแยกเอาสิ่งที่ไม่ต้องการ หรือสิ่งสกปรกที่ติดมากับน้ำออกไป ปัจจุบันมีการใช้วัสดุกรองหลากหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีประสิทธิภาพแตกต่างกัน

3.3.1 การปรับคุณภาพน้ำทางฟิสิกส์และเคมี โดยใช้เยื่อกรอง หรือ เมมเบรน

          เยื่อกรอง หรือเมมเบรน มีลักษณะเป็นเยื่อบาง ๆ มีรูพรุน เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.0001 ถึง 0.1 ไมครอน จึงเป็นอุปกรณ์ที่มีความบอบบาง จำเป็นต้องระมัดระวังมิให้เกิดการอุดตันหรือฉีกขาด ปัญหาดังกล่าวสามารถป้องกันได้หากผู้ประกอบการเข้าใจสมบัติของเยื่อกรองและน้ำที่จะผ่านเยื่อกรอง เยื่อกรองผลิตจากวัสดุหลายประเภทที่มีสมบัติแตกต่างกัน เช่น เยื่อกรองที่ทำจากเซลลูโลส (Cellulose) เยื่อกรองอโรมาติกพอลิเอไมด์ (Aromatic polyamide) และฟิล์มคอมโพสิท (Film Composite) ทั้งนี้เยื่อกรองต่างชนิดกันต้องการดูแลรักษา รวมถึงรองรับสภาพน้ำที่จะเข้ามาผ่านเยื่อกรองแตกต่างกัน 

          การผลิตน้ำดื่มด้วยระบบอาร์โอ (Reverse Osmosis ; RO)

          ระบบการผลิตน้ำอาร์โอ (Reverse Osmosis ; RO) อาศัยหลักการที่ให้น้ำดิบซึมผ่านเยื่อกรองที่มีขนาดรูเล็กมาก ที่ยอมให้เฉพาะโมเลกุลน้ำผ่านเข้าออกได้เท่านั้น หากนำเอาเยื่อกรองนี้ไปกั้นระหว่างน้ำสะอาดกับน้ำที่มีสิ่งปนเปื้อน น้ำสะอาดจะซึมผ่านไปยังด้านของน้ำที่มีสิ่งปนเปื้อน และจะซึมผ่านเร็วขึ้นถ้าน้ำอีกด้านหนึ่งมีความเข้มข้นของสิ่งปนเปื้อนเข้มข้นมากขึ้น ความดันที่ทำให้เกิดการซึมผ่าน เรียกว่า ความดันออสโมติก (Osmotic pressure) ปรากฎการณ์ธรรมชาตินี้ เรียกว่า ออสโมซิส (Osmosis) ซึ่งจะทำให้สูญเสียน้ำสะอาดไปกับน้ำที่มีสิ่งปนเปื้อน ในการผลิตน้ำดื่มโดยใช้ระบบอาร์โอ ต้องมีการแยกน้ำสะอาดออกจากน้ำที่มีสิ่งปนเปื้อนให้ได้มากที่สุดจึงต้องใช้หลักการเอาชนะธรรมชาติด้วยความดันออสโมติก ซึ่งต้องเพิ่มความดันเข้าในด้านน้ำที่มีสิ่งปนเปื้อนจนมีค่าสูงกว่าความดันออสโมติกที่เกิดตามธรรมชาติ จึงจะมีผลให้น้ำสะอาดที่อยู่ในน้ำที่มีสิ่งปนเปื้อนซึมผ่านแยกออกมาได้ กระบวนการที่ใช้นี้ตรงข้ามกับปรากฏการณ์ออสโมชิสตามธรรมชาติ จึงเรียก รีเวิร์สออสโมซิส (Reverse Osmosis) หรือเรียกย่อว่า อาร์โอ (RO) อุปกรณ์ที่เป็นหัวใจสำคัญของการผลิตน้ำดื่มในระบบอาร์โอ ได้แก่ เยื่อกรอง หรือเมมเบรน (Membrane) และ ปั้มน้ำ แสดงดังรูปที่ 2

 

รูปที่ 2 หลักการทำงานของระบบผลิตน้ำ RO

           

          3.3.2 การปรับคุณภาพน้ำทางจุลินทรีย์ หรือกระบวนการฆ่าเชื้อโรค

          การฆ่าเชื้อโรคในขั้นตอนนี้นับเป็นการฆ่าเชื้อโรคครั้งที่ 2 ในกระบวนการผลิต หลังจากที่มีการเติมคลอรีนในการปรับสภาพน้ำดิบเบื้องต้น และนับเป็นขั้นตอนสุดท้ายในกระบวนการผลิต วิธีการที่นิยมใช้ ได้แก่

                    3.3.2.1 การใช้รังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet radiation ; UV)

                    รังสีอัลตร้าไวโอเลต (ยูวี) เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่สั้นที่มองไม่เห็นระดับความเข้มของรังสียูวีที่นำมาประยุกต์ใช้ฆ่าเชื้อโรค คือ ยูวีชี (UV-C ซึ่งมีระดับความเข้มข้นสูงสุด มีความยาวคลื่น 253.7 นาโนเมตร หรือ 2537 อังสตรอม ในธรรมชาติจะไม่พบรังสียูวีชีเนื่องจากรังสีชนิดนี้ไม่สามารถผ่านชั้นโอโซนมายังผิวโลกได้ การใช้รังสีชนิดนี้เพื่อทำลายเชื้อจึงต้องใช้แหล่งกำเนิดรังสี ได้แก่ UVC-LEDs หลอดปรอท เป็นต้น รังสียูวีซีเป็นรังสีที่เป็นอันตรายเพราะมีความสามารถในการเผาไหม้สูง มีผลต่อร่างกายได้อย่างรุนแรง เช่น ผิวแดงไหม้เกรียม (erythema) หรือ เยื่อบุตาอักเสบ (conjunctivitis) แต่ไม่มีผลทำให้คุณภาพทางประสาทสัมผัสของน้ำเปลี่ยนแปลง นักวิทยาศาสตร์จึงนำมาประยุกต่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคที่เป็นอันตรายในน้ำ ใช้หลอดกำเนิดรังสียูวีซี หรือเรียกสั้น 1 ว่าหลอดยูวี แสงยูวีฆ่าเชื้อโรคโดยจะทะลุเข้าไปใน DNA ของเชื้อโรค ทำให้ DNA เพี้ยนไปจากปกติ เชื้อโรคไม่สามารถสืบพันธุ์ต่อได้ ก็จะตายในที่สุด

                    3.3.2.2 การใช้ก๊าซโอโซน (O3)

                    โอโซนเป็นก๊าซซึ่งประกอบด้วยธาตุออกซิเจนจำนวน 3 โมเลกุล เป็นตัวออกชิไดซ์ที่มีความแรงมาก มีประสิทธิภาพสูงในการทำลายสี กลิ่น รส ที่เกิดจากสารอินทรีย์ในน้ำ และจุลินทรีย์ที่อยู่ในน้ำ ทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงไม่สามารถซ่อมแซมได้ มีคุณสมบัติในการฆ่าเชื้อโรคได้ดีกว่าคลอรีนมาก โอโซนสามารถแตกตัวเป็นออกชิเจนอย่างง่าย สลายตัวได้เอง และไม่มีสารพิษตกค้าง มีครึ่งชีวิตในน้ำที่อุณหภูมิห้อง 20 นาที สามารถละลายในน้ำได้ดีกว่าแก๊ส โดยการละลายจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิลดลง ก๊าซโอโซนมีกลิ่นคล้ายกลิ่นฝนตกใหม่ ๆ และถ้ามีความเข้มข้นสูงจะมีกลิ่นฉุน มีผลต่อ คุณภาพทางประสาทสัมผัสของผลิตภัณฑ์น้ำบริโภค ซึ่งจะเป็นที่ยอมรับหรือไม่ แล้วแต่ความชอบของผู้บริโภค

ผลิตภัณฑ์

4.1 การตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ (รายการทดสอบที่จำเป็น/มาตรฐานการทดสอบ/เครื่องมือทดสอบ/ชื่อห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบ)

รายการทดสอบ

เกณฑ์กำหนดมาตรฐานภายในประเทศ

มาตรฐานการทดสอบ

เครื่องมือทดสอบ

เกณฑ์กำหนดมาตรฐานต่างประเทศ

ห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบ

เบอร์โทร/อีเมลล์ติดต่อ

ได้รับการรับรอง/ ขึ้นทะเบียน

มอก.257

(เกณฑ์ที่กำหนดสูงสุด)

สธ.61และ135

(ไม่เกิน)

คุณสมบัติทางฟิสิกส์

1. สี

5 หน่วยแพลทินัม-โคบอลต์

20 ฮาเซนยูนิต

- มอก.257

- Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater, APHA, AWWA,

 WEF, 24th ed., 2023,

เครื่องวัดสี

 

กลุ่มงานน้ำอุปโภคและบริโภค กรมวิทยาศาสตร์บริการ

 

02 2017219

 

2. กลิ่น

ปราศจากสิ่งแปลกปลอมและกลิ่นและรสที่ไม่พึงประสงค์

ต้องไม่มีกลิ่น แต่ไม่รวมถึงกลิ่นคลอรีน

ตรวจพินิจ

 

3. ความขุ่น

5 หน่วยเอ็นทียู

5.0 ซิลิกาสเกล

-เครื่องวัดความขุ่น

 

4. ค่าความเป็นกรด-ด่าง

อยู่ระหว่าง 6.5 ถึง 8.5

อยู่ระหว่าง 6.5 ถึง 8.5

- เครื่องวัด pH

 

 

 

ISO/IEC17025

คุณลักษณะทางเคมี

1 ปริมาณสารที่ละลายทั้งหมด

500 mg/L

-

- มอก.257

- Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater, APHA, AWWA,

 WEF, 24th ed., 2023,

- เครื่องชั่ง

- ตู้อบ

 

 

 

- เครื่อง AAS

- เครื่อง ICP-MS

 

 

-บิวเรต

 

 

 

 

- เครื่อง IC

 

 

 

 

- เครื่อง Flow Injection Analysis

 

 

 

 

1. ปริมาณสารทั้งหมด

-

500 mg/L

 

2 เหล็ก

0.3 mg/L

0.3 mg/L

 

3 แมงกานีส

0.05 mg/L

0.05 mg/L

 

4 ทองแดง

1.0 mg/L

1.0 mg/L

 

5 สังกะสี

3.0 mg/L

5.0 mg/L

 

6 ความกระด้างทั้งหมด (คำนวณเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต

100 mg/L

100 mg/L

 

7 ซัลเฟต

200 mg/L

250 mg/L

 

8 คลอไรด์

250 mg/L

250 mg/L

 

9 ฟลูออไรด์

0.7 mg/L

1.5 mg/L

 

10 ไนเทรต (คำนวณเป็นไนโตรเจน)

4.0 mg/L

4.0 mg/L

 

11 ลิเนียร์อัลคิลเบนซีนซัลโฟเนต

0.2 mg/L

0.2 mg/L

 

 

 

12 ฟินอลิกซับสแตนซ์

0.001 mg/L

0.001 mg/L

 

 

 

สารเป็นพิษ

1 ปรอท

0.001mg/L

0.002mg/L

- มอก.257

- Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater, APHA, AWWA,

 WEF, 24th ed., 2023,

- เครื่อง FIMS

- เครื่อง ICP-MS

 

 

 

- เครื่อง Flow Injection Analysis

- เครื่อง ICP-MS

 

 

 

 

 

2 ตะกั่ว

0.01 mg/L

0.05 mg/L

 

 

 

3 สารหนู

0.01 mg/L

0.05 mg/L

 

 

 

4 ซีลีเนียม

0.01 mg/L

0.01 mg/L

 

 

 

5 โครเมียม

0.05 mg/L

0.05 mg/L

 

 

 

6 ไชยาไนด์

 

 

0.07 mg/L

0.1 mg/L

 

 

 

7 แคดเมียม

0.003 mg/L

0.005 mg/L

 

 

 

8 แบเรียม

0.7 mg/L

1.0  mg/L

 

 

 

9 อะลูมิเนียม

-

0.2 mg/L

 

 

 

10. เงิน

-

0.05 mg/L

 

 

 

 

 

จุลินทรีย์

บักเตรีชนิดโคลิฟอร์ม

น้อยว่า 1.1 ในตัวอย่าง 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร

น้อยกว่า 2.2 ต่อน้ำ 100 มิลลิลิตร

- มอก.257

- Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater, APHA, AWWA,

 WEF, 24th ed., 2023

- ISO 19250:2010

- The Microbiology of Drinking Water (2021) – Part 6

 

 

 

 

 

บักเตรีชนิดอี.โคไล

-

ไม่พบ

 

 

 

 

 

จุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค

-

ไม่มี

 

 

 

 

 

เอสเชอริเชีย โคไล

(Escherichia coli)

ต้องไม่พบในตัวอย่าง 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร

-

 

 

 

 

 

สตาฟิโลค็อกคัส ออเรียส

(Staphylococcus aureus)

ต้องไม่พบในตัวอย่าง 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร

-

 

 

 

 

 

ซาลโมเนลลา

(Salmonella)

ต้องไม่พบในตัวอย่าง 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร

-

 

 

 

 

 

คลอสตริเดียม เพอร์ฟริงเจนส์

(Clostridium perfringens)

ต้องไม่พบในตัวอย่าง 100 ลูกบาศก์เซนติเมตร

-

 

 

 

 

 

4.2 มาตรฐานและหน่วยงานที่ให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์ (เช่น มอก. ฉลากเขียว อย. วศ.)

หน่วยงานที่ให้การรับรอง

ภารกิจ/ความเกี่ยวข้อง

หมายเลขมาตรฐาน

ชื่อมาตรฐาน

สำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)

กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และให้การรับรองผลิตภัณฑ์

มอก.257-2549

น้ำบริโภค

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)

กำหนดคุณภาพและให้การรับรองน้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท ให้มีคุณภาพเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขกำหนด

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2524) และได้แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2534)

น้ำบริโภคในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท

 

4.3. สารเคมีอันตราย/สารพิษที่อาจตกค้างในผลิตภัณฑ์ที่อาจมีผลกระทบต่อสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อม

ชื่อสารเคมี

สูตรเคมี

ความเป็นอันตรายต่อสุขภาพ

เกณฑ์กำหนดมาตรฐานภายในประเทศ

เกณฑ์กำหนดมาตรฐานต่างประเทศ

โบรเมต

Bromate

BrO3

อาจก่อให้เกิดมะเร็ง

-

10 µg/L

ไตรคลอโรมีเทน Trichloromethane: TCM

CHCl3

อาจก่อให้เกิดมะเร็ง

-

200 µg/L

 

4.4 สารสนเทศที่เกี่ยวข้อง (เช่น หนังสือ วารสาร บทความ ฐานข้อมูล หรือเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง)

ชื่อหนังสือ / บทความ / ฐานข้อมูล

ประเภท

เว็บไซต์หรือลิงก์ที่เกี่ยวข้อง

Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater, APHA, AWWA,

 WEF, 24th ed., 2023,

หนังสือ

-

คู่มือวิเคราะห์น้ำ

หนังสือ

ศุนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (2546)

ระเบียบปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม เรื่องการจัดการน้ำเสีย กรมควบคุมมลพิษ

เว็บไซต์

https://www.pcd.go.th/wp-content/uploads/2021/08/pcdnew-2021-08-26_08-39-35_454639.pdf

กระบวนการผลิตน้ำาประปาและควบคุมคุณภาพน้ำ การประปาส่วนภูมิภาค

เว็บไซต์

https://reg4.pwa.co.th/km/sites/default/files/km/upload/news1-281062.pdf

คู่มือปฏิบัตงานการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ กลุ่มงานวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ สำนักวิจัยและพัฒนา

หนังสือ

กลุ่มงานเคมี สำนักวิจัยและพัฒนา กรมชลประทาน (2550)

วิธีการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ

เว็บไซต์

https://www.mwa.co.th/services/water-quality-analysis/

ความหมายของพารามิเตอร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ ห้องปฏิบัติการเคมีและสิ่งแวดล้อม

เว็บไซต์

https://www3.rdi.ku.ac.th/cl/knowledge/water_testing.pdf

การติดตามตรวจสอบคุณภาพ และเก็บตัวอย่างน้ำผิวดิน

บทความ

สํานักงานสิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษที่ 5 กรมควบคุมมลพิษ

การประเมินผลคุณภาพน้ำ

เว็บไซต์

https://rwater.mnre.go.th/front/main/WaterQuality/indicator

Methods Approved to Analyze Drinking Water Samples to Ensure Compliance with Regulations

เว็บไซต์

https://www.epa.gov/dwanalyticalmethods

Water Testing Standards

เว็บไซต์

https://www.astm.org/products-services/standards-and-publications/standards/water-testing-standards.html

Guidelines for Drinking-water Quality

เว็บไซต์

https://iris.who.int/bitstream/handle/10665/44584/9789241548151_eng.pdf

Drinking Water Analysis SUMMARY 2021

เว็บไซต์

https://www.toronto.ca/wp-content/uploads/2022/04/90c2-DrinkingWaterAnalysis2021-AODA-FINAL.pdf

 

คำแนะนำในการเลือกซื้อ/วิธีใช้/วิธีกำจัด

             5.1 คำแนะนำในการเลือกซื้อ

            น้ำดื่มบรรจุขวดปิดสนิท หมายถึงน้ำดื่มบรรจุภาชนะ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก และถังแกลลอนทุกปริมาณที่ได้รับอนุญาตตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุข กําหนดให้เป็นอาหารควบคุมเฉพาะที่จะต้องมีการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน และต้องขออนุญาตการผลิตจากสํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือสํานักงานสาธารณสุขจังหวัด การเลือกซื้อนํ้าดื่มบรรจุขวดควรพิจารณา ดังนี้

          5.1.1 ลักษณะของนํ้าดื่มต้องใสสะอาด ไม่มีตะกอน ไม่มีสิ่งเจือปน ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น และรสที่ผิดปกติ

          5.1.2 ลักษณะภาชนะบรรจุนํ้าดื่มต้องสะอาด ไม่รั่วซึมหรือมีคราบสกปรกและฝาปิดต้องปิดผนึก เรียบร้อยไม่มีร่องรอยการฉีกขาด

          5.1.3 มีเครื่องหมายรับรองจาก อย. และมีเลขสารบบในกรอบเครื่องหมายนั้น กํากับไว้อย่างชัดเจน

          5.1.4 ฉลากจะต้องมีภาษาไทยระบุชื่อนํ้าดื่ม หรือนํ้าบริโภค ชื่อ และที่ตั้งของผู้ผลิตที่ชัดเจน

          5.1.5 ไม่ซื้อน้ำที่วางไว้ใก้ลกับสารเคมีหรือวัตถุอัตรายหรือผงซักฟอก เนื่องจากขวดพลาสติกจะดูดกลิ่น สารเคมีเขาไปได้ทําให้มีกลิ่นไม่ชวนดื่มและมีโอกาสที่สารนั้น อาจปนเปื้อนสู่นํ้าบริโภค เราก็จะได้รับสารเคมี ไปด้วยและไม่ซื้อนํ้าที่ถูกแสงแดด หรือความร้อนเป็นเวลานานจะทําให้สารเคมีในขวดพลาสติกสลายตัว และละลายปนในนํ้าดื่ม

          5.1.6 ไม่ควรซื้อตามคำโฆษณา หรือคำกล่าวอ้าง เช่น มีแร่ธาตุครบตามที่ร่างกายต้องการ เป็นต้น

          5.2 คำแนะนำวิธีใช้

          ไม่วางหรือเก็บน้ำดื่มบรรจุขวดพลาสติกตากแดด หรือเก็บไว้ที่อุณหภูมิสูงเกินไป

          5.3 คำแนะนำในการทิ้งผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน

          คัดแยกขวดพลาสติกออกจากขยะอื่นๆ เพื่อนำไปรีไซเคิล

แนวโน้มของผลิตภัณฑ์ในอนาคต