น้ำดื่ม (Drinking water) เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต มนุษย์จะดื่มน้ำประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน ดังนั้นน้ำดื่มจะต้องมีความสะอาดและปลอดภัยผ่านกระบวนการผลิตที่ถูกสุขอนามัย น้ำดื่มเป็นน้ำที่ผลิตจากแหล่งน้ำที่มีคุณภาพดีโดยอาจเป็นน้ำบาดาลหรือน้ำประปา และผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพให้ได้มาตรฐาน ในอดีตเราดื่มและใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาทำให้สะอาด ปัจจุบันประชาชนสนใจการดูแลสุขภาพมากขึ้น ทำให้ความนิยมในการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดเพื่อการบริโภคเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการตรวจสอบ การควบคุมคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง การให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนและผู้ประกอบการ รวมถึงการดูแลรักษาระบบการผลิตน้ำอุปโภคบริโภคให้ได้มาตรฐานจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดี

             น้ำดื่ม (Drinking water) เป็นสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต มนุษย์จะดื่มน้ำประมาณ 2-3 ลิตรต่อวัน ดังนั้นน้ำดื่มจะต้องมีความสะอาดและปลอดภัยผ่านกระบวนการผลิตที่ถูกสุขอนามัย น้ำดื่มเป็นน้ำที่ผลิตจากแหล่งน้ำที่มีคุณภาพดีโดยอาจเป็นน้ำบาดาลหรือน้ำประปา และผ่านกระบวนการปรับปรุงคุณภาพให้ได้มาตรฐาน ในอดีตเราดื่มและใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ หรือนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาทำให้สะอาด ปัจจุบันประชาชนสนใจการดูแลสุขภาพมากขึ้น ทำให้ความนิยมในการบริโภคน้ำดื่มบรรจุขวดเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้มีการผลิตน้ำดื่มบรรจุขวดเพื่อการบริโภคเป็นจำนวนมาก ดังนั้นการตรวจสอบ การควบคุมคุณภาพน้ำอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง การให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชนและผู้ประกอบการ รวมถึงการดูแลรักษาระบบการผลิตน้ำอุปโภคบริโภคให้ได้มาตรฐานจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดี

วัตถุดิบ

กระบวนการผลิต

ผลิตภัณฑ์

คำแนะนำในการเลือกซื้อ/วิธีใช้/วิธีกำจัด

แนวโน้มของผลิตภัณฑ์ในอนาคต

          2.1 ชนิดวัตถุดิบ

                   - น้ำธรรมชาติ

                   - น้ำประปา

          2.2 แหล่งที่มาของวัตถุดิบ

                   - น้ำผิวดิน ได้แก่ น้ำแม่น้ำ น้ำบ่อ น้ำสระ น้ำในทะเลสาบ มักมีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ มีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพแวดล้อม ทำให้มีผลต่อผลิตภัณฑ์

                   - น้ำใต้ดิน ได้แก่ น้ำบาดาล มีคุณภาพสม่ำเสมอ มีการเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมได้น้อยมาก

          2.3 การเลือกวัตถุดิบ

                    แหล่งน้ำที่นำมาใช้ในการผลิตน้ำดื่มต้องมีคุณภาพดี ห่างไกลจากแหล่งโสโครก สิ่งปฏิกูล และกิจกรรมที่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนสิ่งที่เป็นอันตรายลงไปในแหล่งน้ำ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม การเกษตรที่มีการใช้สารเคมี

          2.4 การตรวจสอบคุณภาพวัตถุดิบ

ชนิดวัตถุดิบ

รายการทดสอบ

มาตรฐานการทดสอบ

เครื่องมือทดสอบ

ห้องปฏิบัติการที่ให้บริการทดสอบ

เบอร์โทร/อีเมลล์ติดต่อ

ได้รับการรับรอง/ ขึ้นทะเบียน

- น้ำธรรมชาติ

 

- น้ำประปา

- สี

Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater, APHA, AWWA,

    WEF, 24th ed., 2023

- เครื่องวัดสี

กลุ่มน้ำอุปโภคและบริโภค กรมวิทยาศาสตร์บริการ

02 2017219

 

ISO/IEC 17025

 

 

- กลิ่น

 

- ความขุ่น

- เครื่องวัดความขุ่น

- ค่าความเป็นกรด-ด่าง

- เครื่องวัดความเป็นกรด-ด่าง (pH meter)

- ปริมาณสารทั้งหมด

- เครื่องชั่ง ตู้อบ

- ความกระด้างทั้งหมด

- บิวเรต

-ธาตุหรือสารประกอบต่างๆ ที่มักพบในน้ำดิบ อย่างน้อยดังต่อไปนี้

 

1. คลอไรท์

2. ไนเตรท

3. ฟลูออไรด์

- เครื่อง Ion Chromatograph

4. เหล็ก

- เครื่อง FAAS

5. ตะกั่ว

- เครื่อง ICP-MS

- จุลินทรีย์ เช่น โคลิฟอร์ม อี.โคไล

 

กลุ่มคุณภาพทางจุลชีววิทยาในอาหาร

02 2017197

ISO/IEC 17025

           2.5 การเตรียมวัตถุดิบก่อนเข้ากระบวนการผลิต

น้ำธรรมชาติที่มาจากแหล่งน้ำต่างๆ เช่น  น้ำบ่อ น้ำคลอง น้ำแม่น้ำ จะต้องตรวจสอบสิ่งแปลกปลอมที่อาจมากับน้ำโดยวัตถุเหล่านั้นอาจจะเป็นใบไม้แห้ง เศษดินและหิน หลังจากนั้นนำน้ำมาพักไว้ในอ่างเก็บน้ำชั่วคราว  สำหรับแหล่งน้ำที่มีคุณภาพต่ำจะมีการเติมคลอรีนลงไปก่อนเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียทำให้น้ำมีคุณภาพดี หากน้ำดิบมีความขุ่นมากจะส่งผลให้การเติมคลอรีนไม่มีประสิทธิภาพ  การปรับปรุงคุณภาพน้ำดิบแบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

          2.5.1 การสร้างตะกอน (coagulation)
          หลังจากที่มีการพักน้ำไว้ก่อนการผลิต  น้ำดิบยังคงมีอนุภาคขนาดเล็กปะปนอยู่ เช่น แบคทีเรีย  ไวรัส  สารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ด้วย อนุภาคเหล่านี้จะถูกทำลายเสถียรภาพโดยสารที่ทำให้เกิดการจับกันเป็นก้อน (coagulant) ซึ่งสารนี้มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ เป็น trivalent cations  ไม่เป็นสารพิษและไม่ละลายใน pH ที่เป็นธรรมชาติ  โดยทั่วไป coagulant  ที่ใช้เป็นเกลือของเหล็กหรืออะลูมิเนียมที่ใช้กันมากได้แก่  อะลูมิเนียมซัลเฟต  โซเดียมอะลูมิเนต เฟอรัสซัลเฟต  เฟอร์ริคคลอไรด์  และเฟอร์ริคซัลเฟต  เติมสารนี้ลงไปในน้ำระหว่างกระบวนการกวนเร็ว (rapid mixing) 

         2.5.2 การรวมตะกอน (flocculation) 
         หลังจากมีการเติม coagulant ลงไปอนุภาคคอลลอยด์ที่ไม่เสถียรจะรวมตัวกันโดยอนุภาคที่มีขนาดเล็กจะเคลื่อนที่เข้าหากันและจับกันเป็นก้อนกลายเป็นอนุภาคที่มีขนาดใหญ่ขึ้นเรียกว่า flocs 

         2.5.3 การตกตะกอน (sedimentation)
         ขั้นตอนนี้เป็นการแยกอนุภาคคอลลอยด์ออกจากน้ำภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้สารแขวนลอยที่เป็นตะกอนหนักลดลง

         2.5.4 การกรอง (filtration) 
         กระบวนการกรอง หมายถึง การกำจัด หรือช่วยลดสิ่งแปลกปลอม เชื้อจุลินทรีย์  สารเคมีที่ปนมากับน้ำ โดยการส่งผ่านน้ำไปยังวัตถุที่มีรูพรุนปานกลาง  ได้แก่  ทราย  แอนทราไซต์  หรือ ถ่านดูดซับสารพิษ (activated charcoal)  สำหรับวัสดุที่นิยมนำมาใช้มากที่สุดคือ  ทราย  ในระบบกรองเร่ง  (rapid sand filter) โดยทั่วไปจะประกอบด้วยทรายหยาบอยู่เหนือก้อนกรวด  แอนทราไซต์   หรือแร่แคลไซต์ (calcite)  เป็นฐานโดยมีความหนาประมาณ 50-80 เซนติเมตร  ขั้นตอนการกรองในระบบกรองเร่งนี้สามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้ 1-50%  ต่อด้วยการใช้สารเรซิ่น กรองเอาความกระด้าง หินปูน แคลเซียม และแมกนีเซียมออก ต่อด้วยการกรองหยาบเพื่อกรองเศษตะกอนที่มีขนาด 10 ไมครอนขึ้นไป

          2.5.5 การฆ่าเชื้อโรค (Disinfection) 
          สารฆ่าเชื้อโรคที่นิยมใช้กันมากที่สุดก็ยังคงเป็นคลอรีนเพราะคลอรีนมีสมบัติเป็นสารออกซิไดซ์และฆ่าเชื้อโรคได้ดีในช่วง pH 6.5-8  เมื่อเติมคลอรีนลงไปในน้ำจะเกิดปฏิกิริยาโดยการผลิตกรด hypochlorous และ hypochlorite  ซึ่งฆ่าเชื้อจุลินทรีย์โดยการแยกการซึมผ่านของเซลล์และทำลายกรดนิวคลีอิกและเซลลูล่าเอนไซม์  และยังมีปริมาณคงเหลืออยู่ในระดับที่ฆ่าเชื้อในระบบการแจกจ่ายน้ำและยังช่วยป้องกันการเจริญอีกครั้งของแบคทีเรียและการปนเปื้อนอื่นๆ หลังการปรับปรุงคุณภาพน้ำ  แต่ปัญหาหลักของการใช้คลอรีนในการปรับปรุงคุณภาพคือ สามารถสร้างสารพิษที่ชื่อว่าไตรฮาโลมีเทน (trihalomethane)  และผลพลอยได้อื่นๆจากสารฆ่าเชื้อโรคโดยที่ trihalomethane  เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งกระเพาะปัสสาวะและลำไส้ใหญ่  ด้วยเหตุนี้จึงมีการใช้วิธีอื่นในการฆ่าเชื้อด้วยมากขึ้น เช่น โอโซน (ozone)  อัลตราไวโอเลต (Ultraviolet)