โครงสร้างพื้นฐานทางคุณภาพที่เกี่ยวข้องกับน้ำดื่ม
รายละเอียดข้อมูลหน่วยงาน/องค์กรที่มีบทบาทหน้าที่ ภารกิจ/ความเกี่ยวข้อง ตามองค์ประกอบ National Quality Infrastructure (NQI)
1. งานด้านมาตรวิทยา (Metrology)
หน่วยงานดำเนินการ |
ภารกิจ/ความเกี่ยวข้อง |
สถานภาพปัจจุบัน |
สิ่งที่ยังขาด |
เว็บไซต์หรือลิงก์ที่เกี่ยวข้อง |
สถาบันมาตรวิทยา (มว.) |
- จัดหา พัฒนาและเก็บรักษามาตรฐานการวัดแห่งชาติ และวัสดุอ้างอิงที่ยอมรับระดับสากล ให้เพียงพอต่อความต้องการผู้ใช้งานภายในประเทศ - พัฒนามาตรฐานการวัดแห่งชาติให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล - ถ่ายทอดความถูกต้องด้านการวัดเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจด้านมาตรวิทยาแก่สังคมไทย |
- บริการสอบเทียบเครื่องมือและวัสดุอ้างอิง / วัสดุอ้างอิงรับรอง - สามารถทำการสอบกลับได้ระดับปฐมภูมิ ด้านมิติ ด้านมวลและแรง ด้านไฟฟ้า ด้านเสียงและการสั่นสะเทือน ด้านความถี่และเวลา ครอบคลุมด้านมาตรวิทยา |
- งานวิจัยด้านมาตรวิทยาที่มีความสำคัญ ในด้านอุตสาหกรรมน้ำดื่ม - วัสดุอ้างอิง / วัสดุอ้างอิงรับรอง ที่ผลิตใช้ภายในประเทศที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมน้ำดื่มยังมีความหลากหลายไม่เพียงพอ |
|
2. งานด้านการกำหนดมาตรฐาน (Standardization)
หน่วยงานดำเนินการ |
ภารกิจ/ความเกี่ยวข้อง |
สถานภาพปัจจุบัน |
สิ่งที่ยังขาด |
เว็บไซต์หรือลิงก์ที่เกี่ยวข้อง |
สำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) |
- กำหนดมาตรฐานที่ตรงความต้องการและสอดคล้องกับแนวทางสากล - กำกับดูแลผลิตภัณฑ์ และการตรวจสอบและรับรองด้านการมาตรฐานให้ได้รับการยอมรับ - ดำเนินการกิจกรรมมาตรฐานระหว่างประเทศและภูมิภาค - ส่งเสริมและพัฒนาด้านการมาตรฐานของประเทศ |
- กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำบริโภค 1 ฉบับ และยังกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำแร่ธรรมชาติ 1 ฉบับ มาตรฐานผลิตภัณฑ์ครื่อง กรองน้ำ 4 ฉบับ |
- มาตรฐานผลิตภัณฑ์น้ำบริโภค (มอก.257) ที่ประกาศใช้ปี 2549-ปัจจุบัน จึงควรปรับปรุงให้สอดคล้องกับสภาวะแวดล้อมในปัจจุบัน |
|
3. การรับรองระบบงาน (accreditation)
หน่วยงานดำเนินการ |
ภารกิจ/ความเกี่ยวข้อง |
สถานภาพปัจจุบัน |
สิ่งที่ยังขาด |
เว็บไซต์หรือลิงก์ที่เกี่ยวข้อง |
- สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
|
-การรับรองความสามารถห้องปฏิบัติการ ดำเนินการรับรองขีดความสามารถทางวิชาการ และระบบคุณภาพ การทดสอบของห้องปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบตามมาตรฐานข้อกำหนดทั่วไปว่าด้วยความสามารถของห้องปฏิบัติการสอบเทียบและห้องปฏิบัติการทดสอบ (มอก.17025-2543) -การจดทะเบียนบุคลากร ผู้ทรงคุณวุฒิ หลักสูตรและองค์กรฝึกอบรมด้านการมาตรฐาน |
- สมอ. ให้การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบตาม ISO/IEC 17025 หน่วยตรวจกระบวนการผลิตตาม ISO/IEC 17020 และหน่วยตรวจรับรองผลิตภัณฑ์ตาม ISO/IEC 17065
|
- |
|
- กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)
|
- ดำเนินการเกี่ยวกับการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการทดสอบ และสอบเทียบทั้งในและต่างประเทศ รวมทั้งดำเนินการประสานงานกับหน่วยงานต่างประเทศและองค์การระหว่างประเทศ -จัดทำทะเบียนและดัชนีความสามารถห้องปฏิบัติการ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาห้องปฏิบัติการของประเทศ -ติดตามและประเมินผลความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบ |
วศ. ให้การรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบตาม ISO/IEC 17025 ของตัวอย่างน้ำ |
-การส่งเสริมห้องปฏิบัติการทดสอบน้ำดื่มให้มีความพร้อมในการขอการรับรองมาตรฐานมากยิ่งขึ้น - ขยายจำนวนห้องทดสอบน้ำสู่ภูมิภาคมากยิ่งขึ้น |
|
4. การตรวจสอบและรับรอง (conformity assessment)
หน่วยงานดำเนินการ |
ภารกิจ/ความเกี่ยวข้อง |
สถานภาพปัจจุบัน |
สิ่งที่ยังขาด |
เว็บไซต์หรือลิงก์ที่เกี่ยวข้อง |
- กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.)
|
-ทดสอบน้ำอุปโภคและบริโภคทางกายภาพ เคมี สารพิษ และจุลชีววิทยา -พัฒนาและศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการทดสอบน้ำ |
-ให้บริการทดสอบน้ำทุกรายการ ตามมาตรฐาน มอก.257 และประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 61 (พ.ศ. 2524 และได้แก้ไขเพิ่มเติมโดย ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2534) -ให้บริการการทดสอบน้ำครอบคลุมมาตรฐานระดับสากล |
- ขยายขอบข่ายการรับรอง ISO/IEC 17025 ให้คลอบคลุมทุกรายการ
|
|
- ห้องปฏิบัติการทดสอบภาคเอกชน |
ทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ของภายในบริษัท/โรงงานและให้บริการทดสอบแก่หน่วยงานภายนอก |
ให้บริการทดสอบคุณภาพน้ำดื่ม |
|
|